บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บาเซ็นจิ

สุนัขพันธุ์ BASENJI ได้สมญานามว่า "สุนัขที่ไม่เคยเห่า" เป็นสุนัขเก่าแก่พันธุ์หนึ่ง มีต้นกำเนิดแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แต่เมื่ออาณาจักรอียิปต์ล่มสลายสุนัขพันธุ์นี้ก็พลอยลดจำนวนลงไปด้วย สุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็กดูขายาว มีขนาดใกล้เคียงกับ FOX TERRIER วิ่งเร็วชอบจับหนู รูปร่างค่อนข้างคล้ายกวางตัวเล็กๆ


มาตราฐานสายพันธุ์ 
อุปนิสัย : ฉลาด ปราดเปรียว ไม่ชอบเห่า เป็นเพื่อนที่ดีของคน
ส่วนหัว : ส่วนหัวแบนเป็นรูปคล้ายลิ่ม หัวกะโหลกบริเวณหูจะใหญ่แล้วเรียวลงจรดตา หน้าผากตึงไม่มีรอยย่น
หู : เล็ก ตั้งตรง ใบหูมีขนนุ่ม โคนหูอยู่ในระดับสูง
ตา : สีเข้มเป็นรูปวงรี
ปาก : ค่อนข้างโค้งมน โคนปากใหญ่ แล้วเรียวลงสู่ปลายจมูก
จมูก : สีดำสนิท
ฟัน : ขบแบบกรรไกร
ลำตัว : สั้น เส้นหลังตรงแข็งแรง ขนานกับพื้น ความสูงของลำตัวและความยาวของลำตัว มีขนาดใกล้เคียงกัน
คอ : ค่อนข้างยาว
อก : ลึก มีความกว้างปานกลาง ซี่โครงกางพอเหมาะ อกลึกจรดข้อศอก
ขาหน้า : ตรงแข็งแรง กระดูกข้อเท้าหน้ามีความยาวพอเหมาะ มองจากด้านหน้าเท้าทั้งสองตั้งตรงขนานกัน นิ้วเท้าเล็กชิดกัน
ลำตัวส่วนท้าย ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
ขาหลัง : มองจากด้านหลัง ขาหลังทั้งสองข้างตั้งตรงขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ
หาง : ตั้งม้วนเล็กน้อย จะม้วนด้านซ้ายหรือขวาก็ได้
ขน-สี : ขนนุ่มสั้นมันวาว ขนมีหลายสี เช่น น้ำตาล หรือน้ำตาลแดง หรือดำ อาจจะมีสีขาวที่อก, เท้า, ปลายหางหรือบริเวณลำคอก็ได้
ขนาด : มีขนาดค่อนข้างเล็ก
น้ำหนัก : เพศเมียประมาณ 22 ปอนด์ เพศผู้ประมาณ 24 ปอนด์
ส่วนสูง : เพศเมียสูงประมาณ 16 นิ้ว เพศผู้สูงประมาณ 17 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : หัวกลมเป็นรูปโดม, ตากลม, โคนหูอยู่ในระดับต่ำ, ฟันขบผิดปกติ, อกกว้างเกินไป, กระดูกใหญ่เกินไป, ขนสีครีมหรือสีจางมาก 

ปักกิ่ง

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุนัขส่วนมากเมื่อเขียนถึงพันธุ์ปักกิ่งก็จะเริ่มต้นว่า พันธุ์ปักกิ่งเกิดขึ้นมานานแล้วเป็นเวลาหนึ่งหรือสองพันปีขึ้นไป สุนัขสายพันธุ์ปักกิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นจะคล้ายคลึงกับสุนัขขนาดเล็กของจีนยุตโบราณ

ย้อนเวลากลับไป มีหลักฐานว่าคนจีนเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กมาตั้งแต่ 1500 ปีก่อนแล้ว ในปี ค.ศ. 565 พระเจ้าจักรพรรดิประเทศจีนทรงพระราชทานนามสุนัขของพระองค์ว่า "ชิ ซู" หรือ "เสือแดง" เป็นสุนัขเปอร์เซียน เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงม้า "เสือแดง" จะขึ้นไปนั่งบนตะกร้าที่ผูกไว้ด้านหน้าอานม้า ในปี ค.ศ. 620 มีบันทึกว่าสุนัขตัวผู้ตัวเมียคู่หนึ่ง สูงประมาณ 6 นิ้ว ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายจักรพรรดิเกาสู บันทึกอ้างว่าสุนัขคู่นี้มีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถนำทางม้าในเวลากลางคืน

หลักฐานทำนองนี้สืบเนื่องกันมากจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อราชวงศ์ของกุบไลข่านถูกพิชิตลง บันทึกหลักฐานต่างๆ ก็หมดสิ้นลงไปด้วย เป็นเวลาสืบเนื่อง 33 ปี เรารู้แต่ว่าคนจีนหันมานิยมเลี้ยงแมวแทนสุนัข โดยเฉพาะในสังคมชั้นสูง ธรรมเนียมการเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กของจีนมาพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง 1850 ในช่วงเวลานั้นมีสุนัขอยู่หลายพันธุ์ในนครปักกิ่ง พวกขันที 4000 คน ยังมีหน้าที่เฉพาะในการผลิตเพาะสุนัขแบบที่เราเรียกว่า "พันธุ์ปักกิ่ง" ด้วย พระนางซูสีไทเฮาทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงกิจกรรมนี้ พระนางยังทรงกระตุ้นให้สร้างรูปแบบพันธุ์คล้ายกับ "สุนัขสิงห์โต" แบบเก่า กิจกรรมข้อหนึ่งก็คือจัดร่างกฎเกณฑ์แบบเฉพาะของสุนัข ข้อความที่นำมาเสนอแบบย่อๆ มีดังนี้ "จงให้มันสวมคลุมขนแห่งความสง่ารอบๆ คอ ขาคู่หน้าของมันจะต้องโค้ง เพื่อไม่ให้มันเดินออกไปไกลๆ หรือเดินออกนอกเขตพระราชฐาน จงสอนมันให้ละเว้นการเตร็ดเตร่ไปมา ให้มันมีขนเหมือนสิงห์โต เหมาะที่จะอุ้มไว้ในชายแขนเสื้อคลุม …" กฤษฎีกานี้ยังกำหนดต่อไปถึงอาหารของสุนัข เช่น "หูฉลาม" "ตับนก" และ "ส่วนอกนกกระทา" เราอาจจะไม่ถือเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังนัก อย่างไรก็ตามหลักฐานนี้ทำให้เรารู้ว่ามีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเกิดขึ้นมาแล้วและมักจะพบสุนัขพันธุ์นี้ในพระราชวังเท่านั้น ในสมัยก่อนผู้ใดขโมยสุนัขนี้จะได้รับโทษถึงประหารชีวิต พระราชวังแห่งปักกิ่งถูกชาวต่างชาติบุกเข้ายึดครองเมื่อปี ค.ศ. 1860 ก่อนการสูญเสียมีคำสั่งจากพระราชวงศ์ว่าให้สุนัขตายไปเสียดีกว่าจะให้ตกอยู่ในมือของคนต่างชาติ เจ้าฟ้าหญิงพระองค์หนึ่งไม่ยอมเสด็จหนี ทั้งไม่ยอมให้ทหารดรากูนเข้าจับกุมด้วย ทรงปลงพระชนม์ชีพของพระองค์เอง แต่ไม่ได้ทำลายสุนัขที่เลี้ยงไว้ สุนัขปักกิ่งสี่ตัวถูกทหารยึดได้ ตัวหนึ่งถูกส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระราชินีวิคตอเรีย อีก 3 ตัวที่เหลือยุคแห่งริชมอนด์เลี้ยงดูไว้ ต่อมาก็มีผู้นำตัวอื่นๆ เข้าสู่อังกฤษอีก ตัวหนึ่งได้นำถวายควีนวิคตอเรีย ส่วนอีก 3 ตัวมอบให้ LORD HAY และได้แพร่พันธุ์กระจายไปทั่วไปโลก ซึ่งก็หมายถึงการเลี้ยงดูเพาะสร้างสายพันธุ์ที่ตามมา
เรื่องราวเหล่านี้อ่านแล้วเหมือนนิยาย แต่ก็เป็นเรื่องจริง เรื่องคล้ายนิยายและความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ซึ่งเป็นของสูงนี้ ทำให้พันธุ์ปักกิ่งได้รับความนิยมอย่างใหญ่หลวงตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น LION DOG SUN DOG หรือ STEEVE DOG ปักกิ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กที่น่าสนใจที่สุดและมีบุคลิกลักษณะที่ผิดธรรมดาที่สุด มันมีลักษณะผสมกันประหลาดๆ ของความขบขันและความทรนง เป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ด้วยทั้งยังมีความหัวแข็งดื้อรั้นอย่างน่าทึ่ง บางครั้งก็ไม่ยอมรับคำสั่งโดยเด็ดขาด พวกมันชอบเก้าอี้นวมบุแพรไหม แต่ถ้ามีอารมณ์สนุกแล้วก็อกไปวิ่งไล่จับกระต่ายเลย ลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ทำให้สุนัขพันธุ์นี้พุ่งขึ้นไปสู่ระดับสุดยอด พันธุ์ปักกิ่งไม่เคยหลุดออกจากยี่สิบอันดับแรกสุนัขยอดนิยมของอังกฤษ (Top Twenty) และยังคงติดอันดับสูงมาจนทุกวันนี้ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้นทั้งๆ ที่พันธุ์ปักกิ่งเพิ่งเข้าไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ก็เป็นสุนัขระดับยอดนิยมแล้ว

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ แข็งแรง กว้างและแบน ในช่วงระหว่างหูทั้งสองข้างจะต้องไม่มีโค้งนูนเป็นโดม มีระยะระหว่างตาทั้งสองข้างกว้า
จมูก : จมูกสีดำ กว้าง สั้นและแบน
ตา : ตาโต สีเข้ม กลมนูนเด่นประกาย
สต๊อป : หรือรอยต่อระหว่างสันจมูกกับหน้าผากจะต้องลึกมาก
หู : มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ไม่อยู่สูงเกินไป ยาวพอสมควร ปลายหูอยู่ระดับต่ำกว่าช่วงปากเล็กน้อย ห้อยตกลงแนบแก้ม ปกคลุมด้วยขนที่ยาวมาก
ช่วงปาก : สั้นมาก กว้าง มีรอยย่น ไม่ยื่นแหลม แข็งแรง ขากรรไกรล่างกว้าง ฟันไม่ยื่นให้เห็นนอกริมฝีปาก
รูปร่างของลำตัว : ลำตัวช่วงหน้าใหญ่หนักแข็งแรง หน้าอกกว้าง ซี่โครงโค้งกว้างค่อยๆ เรียวลงทางด้านหลัง รูปร่างเหมือนสิงโต หลังเรียบขนานกับพื้น ลำตัวสั้นยกเว้นตัวเมียที่อาจยาวกว่าตัวผู้ได้เล็กน้อย
ขา : ขาสั้น ขาหน้ามีกระดูกช่วงบนโค้ง ไหล่แข็งแรง ขาหลังมีกระดูกที่เล็กบางกว่าเล็กน้อย แต่แข็งแรงและได้สัดส่วน
เท้า : เท้าแบน ปลายเท้าเฉียงออก ไม่มีลักษณะกลม จะต้องยืนได้มั่นคงบนเท้าไม่ใช่ยืนบนข้อเท้า
ลักษณะท่าทาง : ไม่กลัวใคร เป็นอิสระ แข็งแรง ลักษณะการเดินจะมีการโยกตัวซ้ายขวาอย่างนุ่มนวล(ROLL)
ขน : ขนยาว มีขนชั้นในที่หนาแน่น ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง เรียบไม่หยิกเป็นคลื่น ค่อนข้างหยาบแต่นุ่ม ขนบริเวณสะโพก ขา หางและหูจะต้องยาวและฟูมาก
ขนแผงคอ : ยาวและฟูมาก กว้างเกินหัวไหล่ ปกคลุมตลอดรอบลำคอ
สี : มีได้ทุกสีคือ แดง ฟอน (สีโทนน้ำตาล) ดำ ดำกับแทน (BLACK AND TAN) เซเบิล (ขนสีดำที่ปกคลุมสีของลำตัวที่อ่อนกว่า) บรินเดิ้ล (ขนสีเข้มและสีอ่อนขึ้นแซมกันทั่วตัว) ขาวและขน 2 สี (PATICOLOR) คือ จะต้องมีสี 2 สีที่แยกจากกันอย่างชัดเจนกระจายอยู่ทั่วตัว ไม่มีสีใดสีหนึ่ง เป็นบริเวณกว้างอยู่สีเดียว จะต้องมีสีขาวปรากฎบริเวณหลัง สำหรับสุนัขที่มีสีเดียว แต่มีเท้ากับหน้าอกยาว ไม่นับเป็นประเภทขนสองสี
หาง : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง วางพาดไปบนหลัง ปลายหางตกลงด้านใดด้านหนึ่ง มีขนยาวตรงแน่นและฟูมาก
ขนาด : เนื่องจากปักกิ่งเป็นสุนัขตุ๊กตา (TOY) จึงนิยมให้มีขนาดเล็ก โดยจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง น้ำหนักจะต้องไม่เกิน 14 ปอนด์
การแสดงออก : จะต้องแสดงออกถึงต้นกำเนิดเดิมในประเทศจีน คือ มีความกล้าหาญ เป็นตัวของตัวเอง เหมือนสิงโตที่มีขนาดเล็ก มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่กลัวใคร พร้อมที่จะต่อสู้ป้องกันตัวแต่ไม่ดุร้าย ไม่ควรมีลักษณะอ่อนหวานหรือบอบบาง
ข้อบกพร่อง : ที่จะถูกหักคะแนน ในการประกวด ลิ้นยื่นให้เห็นนอกปาก ตาเจ็บอักเสบ ขากรรไกรบนยื่นกว่าขากรรไกรล่าง (OVERSHOT) และปากเบี้ยว (WRY MOUTH)
ที่จะถูกตัดสิทธ ิ์ในการประกวด จมูกสีชมพูหรือสีน้ำตาล (DUDLEY NOSE) น้ำหนักเกินกว่า 14 ปอนด์ 

บลูเทอร์เรีย

เป็นนักสู้ที่อ่อนหวานโดยธรรมชาติ เป็นนักสู้ที่ใจถึง เป็นสุนัขอารักขาที่กระฉับกระเฉง รักครอบครัวและอาณาเขตของเขาโดยสัญชาติญาณ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามอพาร์ทเม้นท์ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดจะนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้เพื่อช่วยอารักขา เนื่องจากเป็นสุนัขอารักขาที่ดี แล้วยังเป็นสุนัขที่ประหยัดอีกด้วย บางครั้งอาจจะดื้อรั้นไปบ้าง แต่ก็เป็นสุนัขที่เข้ากับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เขาอยู่ในโอวาทควรมีการฝึกปรือตั้งแต่วันแรกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจะเลี้ยงเขารวมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น โดยธรรมชาติแล้วจะก้าวร้าวกับสุนัขที่ทำตัวเป็นเจ้าถิ่น


บูลเทอร์เรียเป็นสุนัขที่มีลําตัวและโครงสร้างที่แข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีส่วนสัดที่รับกันอย่างพอดี มีลักษณะปราดเปรียว คล่องแคล่วว่องไว จิตใจเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น มีไหวพริบและความฉลาดเป็นเลิศ ทั้งตัวเต็มไปด้วยความรู้สึกอย่างแรงกล้า แต่อีกส่วนก็มีจิตใจที่อ่อนหวาน อ่อนโยน ไม่ดื้อดึงกับระเบียบวินัย

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ศีรษะ : ต้องยาวมีความแข็งแรง ใบหน้าเต็มมองดูคล้ายไข่ ระยะจากปลายจมูกไปยังลูกตาเห็นได้ชัดเจนกว่า ระยะจากตาไปยังส่วนบนของกะโหลก กรามบนควรจะลึกและมองเห็นขอบเขตได้ชัดเจน
หู : ควรจะเล็ก บางและมีตำแหน่งใกล้กัน ตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา
ตา : จมลึกอย่างพอเหมาะ สีเข้ม เป็นประกาย ตาเป็นรูปสามเหลี่ยม ข้อด้อยของสุนัขพันธุ์นี้คือมีตาสีฟ้า
จมูก : ควรเป็นสีดำ โค้งลงไปสู่ปลาย
คอ : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ยาวและเป็นสันโค้ง ผิวเรียบไม่หย่อนยาน
อก : มองจากด้านหน้าอกต้องกว้าง มองจากด้านข้างอกลึก บริเวณอกใกล้พื้นกว่าบริเวณท้อง
ลำตัว : หลังต้องสั้นและแข็งแรง หัวไหล่ต้องกว้างและเรียบ มีความลาดเอียงไปด้านหลังอย่างเด่นชัด
ขา : มีกระดูดใหญ่ ไม่มีจุดที่น่าเกลียด เหยียดตรงได้รูป ข้อศอกทั้งสองข้างกางออก ข้อเท้าสั้นและตั้งตรง
เท้า : กลมและกระชับ มีขอบเขตชัดเจนเหมือนเท้าแมว
หาง : สั้น ห้อยต่ำ เรียว บริเวณโคนหางต้องหนาและเรียวแหลมไปยังปลาย
ขน : สั้น เรียบ เมื่อลูบจะสาก ขนเป็นมัน หนังต้องตึง
สี : ปรกติเป็นสีขาว มีสีอื่นบนใบหน้าเป็นที่ยอมรับได้ แต่ถ้ามีสีอื่นบนลำตัวจะกลายเป็นข้อด้อย
การเดิน : มีอิสระในการก้าวย่าง ขาหน้าและขาหลังเคลื่อนไหวขนานกัน ต้องหนักแน่น กระฉับกระเฉง
ข้อด้อย : ใบหน้าที่โค้งโก่งมาก ตาสีฟ้า มีสีขนสีอื่นมากกว่าสีขาว 

บีเกิล

สุนัขสายพันธุ์ บีเกิล (Beagle) เป็นสุนัขที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความเฉลียวฉลาด ซุกซน คล่องแคล่วว่องไว ซึ่งก็เป็นเพราะพวกเค้าสืบสายเลือดมาจากบรรพบุรุษนักล่ากระต่ายฝีมือฉกาจ
ปัจจุบันนี้แม้จะไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยนายพรานเหมือนสมัยก่อน แต่เค้าก็ได้รับการยอมรับในฐานะสุนัขสำหรับเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนที่สุดแสนน่ารัก โกรธใครไม่เป็น เหมาะสำหรับสร้างความสุขให้แก่สมาชิกทุกเพศทุกวัยในครอบครัว (แหม...ช่างมีคุณสมบัติรอบตัวซะจริงๆ) จนหากให้จัดอันดับสายพันธุ์สุนัขซึ่งเลี้ยงเป็นเพื่อนได้ดีที่สุด เชื่อแน่ว่าบีเกิลคงถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นแน่...

ว่าแล้วก็อย่ารอช้า...เราไปทำความรู้จักกับน้องหมาน่ารักน่าหยิกสายพันธุ์นี้กันเลยดีกว่า...


ความเป็นมาของบีเกิล
ต้นกำเนิดของสุนัขสายพันธุ์บีเกิลนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าสุนัขกลุ่ม Hound สายพันธุ์นี้น่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอังกฤษตั้งแต่ยุคสมัยก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะเข้ายึดครอง บางรายงานกล่าวว่ามีการพบสุนัขสายพันธุ์นี้ในสมัยฝรั่งเศสและกรีกโบราณ และมีหลักฐานที่แน่ชัดชิ้นหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้สุนัขสายพันธุ์นี้สำหรับล่าสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ตัวเล็กๆ อย่างกระต่าย ตั้งแต่ยุคสงครามครูเสด

สุนัขสายพันธุ์บีเกิลสามารถพบเจอได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศอังกฤษเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ซึ่งชาวอังกฤษนิยมเพาะมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งของพวกเค้าคือมีความคล่องแคล่วปราดเปรียวอย่างสูงในการไล่ล่าและแกะรอยกระต่ายป่า ดังนั้นนายพรานชาวอังกฤษจึงมักพาพวกเค้าออกไปเป็นฝูงแต่เช้ามืดเพื่อดมกลิ่นหาเหยื่อ เมื่อพวกเค้าได้กลิ่นเป้าหมายก็จะเห่าบอกเจ้านายและตามตีวงล้อมอย่างไม่ลดละ บีบให้เหยื่อเหลือทางหนีน้อยที่สุด (และหากเจ้ากระต่ายตัดสินใจหนีออกทางที่เหลืออยู่ก็มักต้องพบนายพรานดักรออยู่นั่นเอง) ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมของนายพรานชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก

ในเวลาต่อมา ได้มีผู้นำสุนัขสายพันธุ์บีเกิลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง หากแต่บีเกิลที่เข้ามาในสหรัฐอเมริกาช่วงแรกๆ นั้นก็ยังไม่มีรูปร่างสวยงามตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์เหมือนอย่างบีเกิลของประเทศอังกฤษ กระทั่งถึงปี ค.ศ.1870 จึงมีนักพัฒนาสายพันธุ์สุนัขชาวสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งเริ่มหันมาสนใจพัฒนาสายพันธุ์ของบีเกิลอย่างจริงจัง จนทำให้ได้บีเกิลซึ่งมีลักษณะดี เป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามมาตรฐานในที่สุด ซึ่ง American Kennel Club ก็ได้ทำการจดทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์บีเกิลตัวแรกเมื่อปี ค.ศ.1885 และต่อมาในปี ค.ศ.1888 จึงได้มีการก่อตั้งชมรมผู้เพาะพันธุ์บีเกิลแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์บีเกิลยังคงเป็นสุนัขซึ่งมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความน่ารัก คล่องแคล่ว และเป็นมิตรกับทุกคน อย่างไรก็ตามบีเกิลอาจไม่เหมาะนักสำหรับการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะความที่เค้าต้องการสังคมสูง ชอบเล่นสนุก ชอบผูกมิตรกับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้นหากปล่อยให้เค้าต้องอยู่ตามลำพังเป็นเวลานานจนเกินไปอาจทำให้เค้าเกิดความเครียดและนำไปสู่พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์หลายๆ ประการ 


มาตรฐานสายพันธุ์ 
นิสัย : ใจกล้า จงรักภักดี กระฉับกระเฉง กล้าตัดสินใจ ตื่นตัว ขี้สงสัย สุภาพอ่อนโยน รักความสะอาด เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย ชอบเข้าสังคม บ้านที่มีเด็กก็สามารถเลี้ยงเค้าไว้เป็นเพื่อนเล่นกับเด็กๆ ได้

ขนาด : สูง 33-40 เซนติเมตร น้ำหนัก 8-14 กิโลกรัม

ศีรษะ : กะโหลกค่อนข้างยาว ท้ายทอยเป็นรูปโดม หน้าผากกว้างและเต็ม จมูกยาวปานกลาง ส่วนปลายจมูกเห็นชัดเจน

ฟัน : ฟันแข็งแรง สีขาว สบกันพอดี

ตา : ดวงตากลมใหญ่ สายตานุ่มนวล แต่แววตาแสดงออกถึงความกระตือรือร้น ดวงตามีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง

หู : หูอยู่ต่ำเล็กน้อย ชิดกับหัว ขอบหน้าของใบหูชิดกับแก้ม หูมีความยาวมากถ้าจับกางออก ใบหูบาง ขนาดค่อนข้างกว้างและกลม หูไม่ตั้ง

คอ : ลำคอยาวปานกลาง แข็งแรง ไม่ควรมีรอยย่นของผิวหนัง (อาจมีบ้างเล็กน้อยในตำแหน่งด้านล่างตรงมุมของกราม ซึ่งลักษณะเช่นนี้ยังยอมรับได้)

ลำตัว : ลำตัวสะอาด เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เส้นโค้งของไหล่จะทำให้การเดินและท่าทางของบีเกิลเต็มไปด้วยความแข็งแรง ดูไม่หนาเทอะทะ

ขาหน้า : ขาตรง เต็มไปด้วยกระดูกซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มสุนัขล่าสัตว์ ข้อเท้าสั้นและแข็งแรง

ขาหลัง : เข่าแข็งแรง ลาดลงพอดี ข้อเท้าสมดุลและแบะออกปานกลาง

เท้า : เท้ากลมได้รูป หุบแน่น อุ้งเท้าแข็งและเต็ม

หาง : หางอยู่ตำแหน่งปานกลาง ปลายหางโค้งขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ไปด้านหน้ามากนัก หางมีขนเป็นพวง ลักษณะที่บกพร่องคือขนหางยาวเกินไป หางยาว โค้งไปทางด้านหน้ามาก หรือหางไม่มีขน

ขน : ขนแน่น สั้น และแข็ง

สีขน : มี 3 สีร่วมกันโดยไม่มีสีใดเด่น


การเลี้ยงดูเจ้าบีเกิล

การให้อาหารบีเกิล 
คำกล่าวที่ว่า "กินอะไร ก็ได้อย่างนั้น" สามารถสะท้อนถึงความสำคัญของการกินอาหารอย่างถูกต้องได้เป็นอย่างดี สำหรับสุนัขสายพันธุ์บีเกิลก็เช่นเดียวกัน หากว่าเราต้องการให้เค้ามีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย เราก็ต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินของเค้าให้มาก ซึ่งวิธีการให้อาหารแก่บีเกิลที่ถูกต้องก็มีดังนี้

+ บีเกิลอายุระหว่าง 2-3 เดือน ควรให้อาหารเม็ดวันละ 4 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย (ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง) โดยอาจใช้ถ้วยกาแฟขนาดเล็กตวง ผสมกับอาหารกระป๋อง 1 ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้ทั่ว

+ บีเกิลอายุระหว่าง 3-4 เดือน ควรให้อาหารเม็ดวันละ 3 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย (ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง) ผสมอาหารกระป๋อง 1 ช้อนโต๊ะ

+ บีเกิลอายุระหว่าง 4-12 เดือน
ควรปรับมาให้อาหารเม็ดวันละ 2 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย หรืออาจจะมากน้อยกว่านั้นเล็กน้อย โดยให้สังเกตดูรูปร่าง ถ้าท้องป่องมากเกินไปควรลดจำนวนอาหารแต่ละมื้อลงบ้าง และต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับการออกกำลังกายของเค้าด้วย หากบีเกิลของคุณมีโอกาสออกกำลังกายน้อย ปริมาณอาหารที่ให้ก็ควรปรับลดลง

+ เมื่อบีเกิลอายุครบ 12 เดือนขึ้นไป สามารถลดปริมาณการให้อาหารเหลือวันละ 1 มื้อ มื้อละ 1-1/2 ถ้วย ก็เพียงพอแล้ว

+ นม ไม่จำเป็นต้องให้นมลูกสุนัขอีกหลังจากอายุครบ 2 เดือนขึ้นไป เพราะเมื่ออายุพ้น 2 เดือนแล้วเค้าจะสามารถหาแคลเซียมทดแทนจากการกินอาหารสำเร็จรูปได้

+ อาหารเสริม สำหรับบีเกิลป่วยอาจให้อาหารเสริมบ้าง แต่ไม่มีความจำเป็นต้องให้อาหารเสริมในยามที่เค้ามีสุขภาพปกติ

+ อาหารสด ไม่ควรให้อาหารสด (อาหารคน) กับบีเกิลโดยเด็ดขาด เพราะเค้าอาจติดใจรสชาติ กลิ่นของอาหารคน และไม่อยากกินอาหารเม็ดอีกต่อไป นอกจากนั้นการให้อาหารสดยังอาจทำให้เค้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับมากเกินไปจนทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง โดยเฉพาะเมื่อเค้าอายุมากขึ้น เช่น ปัญหาด้านการเจริญเติบโต ปัญหาสุขภาพขน การให้อาหารสดอาจให้บ้างเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นรางวัลสำหรับการฝึกเท่านั้น (ซึ่งอาจเป็นจำพวกตับ ไส้กรอก แฮม หรือชีส ก็ได้)

+ ห้ามให้สุนัขกิน ช็อกโกแลตและหัวหอม เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้สุนัขเป็นอันตรายถึงตายได้


การดูแลทำความสะอาด
การดูแลทำความสะอาดให้สุนัขขนสั้นอย่างบีเกิลนั้นแสนง่าย แค่อาบน้ำให้เค้าอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ จากนั้นก็เช็ดหรือเป่าตัวของเค้าให้แห้งพร้อมๆ กับแปรงขนไปด้วย หรือถ้าไม่สกปรกมากอาจใช้แค่ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดตัวให้เค้าก็ได้
ส่วนเรื่องการแปรงขนให้บีเกิลสามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากว่าเค้ามีขนสั้นและสีเข้ม ควรแปรงขนให้แก่เค้าทุกๆ 3-4 วัน เพื่อกำจัดเส้นขนที่ตายแล้วออกไปและช่วยเพิ่มความเงางามแข็งแรงแก่เส้นขน


การออกกำลังกาย
แม้ว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็ก แต่ด้วยเหตุที่จุดประสงค์ดั้งเดิมที่เค้าถูกพัฒนาขึ้นมาคือการเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ ทำให้พวกเค้ามีพลังงานในตัวมากและชื่นชอบการออกกำลังกายเป็นอย่างยิ่ง จึงควรพาเค้าไปออกกำลังกายบ้างอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่มีบริเวณกว้างขวางนัก อย่างเช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ คุณก็จะต้องพิจารณาให้ดีว่าคุณพอมีเวลาและมีสวนสาธารณะใกล้เคียงซึ่งคุณสามารถพาเค้าไปเดินเล่นออกกำลังได้หรือไม่


การดูแลทั่วๆ ไป
หู บีเกิลมีใบหูยาวปรกลงมา จึงควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูทั้งภายในและภายนอกรูหูเป็นประจำ
ตา ควรหมั่นตรวจเช็คนัยน์ตาของบีเกิลว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ บ้างหรือไม่ เช่น มีแผลบนกระจกตา มีฝ้าขาว หรือมีขี้ตา เกรอะกรังมากกว่าปกติ หากพบเห็นก็ควรรีบพาเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันที
จมูก จมูกของสุนัขที่มีสุขภาพดีจะเรียบชื้น เป็นมัน หากพบว่าบีเกิลของคุณจมูกแห้งหรือชื้นเกินไป มีน้ำมูกไหล ให้สันนิษฐานว่าเค้าคงไม่สบายเสียแล้ว
ฟัน อาหารที่เหมาะสมสำหรับให้บีเกิลที่สุดควรเป็นอาหารเม็ด เพราะจะช่วยขัดฟันได้และมีสารอาหารครบถ้วน นอกจากนั้นก็ต้องแปรงฟันให้เค้าเป็นประจำ โดยควรฝึกฝนให้เค้าเคยชินกับการแปรงฟันตั้งแต่ยังเล็ก


บีเกิลกับเด็ก
สุนัขสายพันธุ์บีเกิลมีนิสัยขี้เล่น ใจดี ไม่ขี้หงุดหงิด จึงเข้ากันได้อย่างดีกับเด็กๆ แต่ก็ไม่ควรละเลยปล่อยให้เล่นกันตามลำพัง ควรมีผู้ใหญ่เฝ้าดูอยู่ด้วยเสมอ เพราะหากว่าเด็กๆ เล่นกับเค้าแรงเกินไปก็อาจทำให้เค้าบาดเจ็บหรือหงุดหงิดได้


บีเกิลกับผู้สูงอายุ
บีเกิลเป็นเพื่อนที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้สูงอายุซึ่งต้องอยู่บ้านอย่างเหงาๆ หลังเกษียณ เพราะเค้ามีความสุภาพอ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว มีขนาดตัวเล็กพอเหมาะ การให้เค้าคอยเป็นเพื่อนเล่นของผู้สูงอายุจะช่วยให้พวกท่านมีโอกาสออกกำลังกายโดยไม่ต้องออกแรงหักโหมจนเกินไป


5 ข้อดีของบีเกิล
1. มีใบหน้าที่น่ารัก หูตูบ และดวงตากลมโตสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งทำให้คุณหลงรักเค้าได้ง่ายๆ ที่สำคัญคือบีเกิลจะรักเด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์เลี้ยงอื่นๆ และทุกๆ คนในครอบครัว

2. ด้วยจุดประสงค์ดั้งเดิมในการใช้เป็นสุนัขล่าสัตว์ ทำให้บีเกิลถูกพัฒนาให้มีจมูกไว จึงมีทักษะการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายรูปแบบ

3. สุนัขสายพันธุ์บีเกิลมักไม่ค่อยกลัวตัวประหลาด ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าเค้าจะตกใจจนเกินไปเวลาที่คุณถือตุ๊กตาหน้าตาแปลกๆ เข้าบ้าน

4. บีเกิลมีพลังเห่าหอนอันรุนแรงซึ่งอาจทำให้ขโมยแสบแก้วหู และช่วยให้คุณสามารถตื่นขึ้นมาได้ทันการณ์

5. ถึงจะเสียงดีแค่ไหนเค้าก็ไม่ปากเปราะ สุนัขสายพันธุ์บีเกิลจะไม่เห่าพร่ำเพรื่อนอกจากว่ามีคนแปลกหน้าเดินรุกล้ำเข้ามาในบ้าน


เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ Beagle
+ ความสูงมากที่สุดของบีเกิลที่ได้รับการยอมรับในประเทศสหรัฐอเมริกาคือ 15 นิ้ว ขณะที่ในประเทศอังกฤษคือ 16 นิ้ว

+ สุนัขสายพันธุ์บีเกิลจะไม่มีน้ำลายไหลเยิ้ม ไม่ค่อยมีกลิ่นสาบ และผลัดขนน้อยมาก

+ Lyndon B. Johnson ประธานาธิบดีคนที่ 36 แห่งสหรัฐอเมริกา เลี้ยงสุนัขบีเกิลจำนวน 3 ตัว ชื่อว่า Him, Her และ Edgar

+ ตัวการ์ตูนสนูปปี้ (Snoopy) จากการ์ตูนชุด Peanuts ของ Charles M. Schulz ก็มีต้นแบบมาจากสุนัขสายพันธุ์บีเกิล



ขอขอบคุณ : Norbert Beagles Kennel โทร.08-1995-5131 ที่เอื้อเฟื้อสุนัขสำหรับถ่ายภาพประกอบ
Model : MULTI.BIS.INT.TH.GRAND.CH.NORBERT'S FUTURE CLASSIC
ถ่ายภาพโดย คุณรัชต์ ทองเอี่ยม

ดัชชุนด์


สุนัขดัชชุนด์ เป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มฮาวด์มีรูปร่างที่กระทัดรัด ฉลาด ขี้ประจบ ลำตัวยาวดูแปลกตาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม "สุนัขไส้กรอก" ชื่อดัชชุนด์ (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข ) ปรากฎในหนังสือเกี่ยวกับการล่าสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง เป็นสุนัขที่มีความคล้ายคลึงสุนัขฮาวด์ในการแกะรอย และมีรูปร่างและอารมณ์คล้ายสุนัขเทอร์เรียร์ มีความสามารถในการติดตามตัวแบดเจอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใต้ดินและมักจะออกมาหาอาหารตอนกลางคืน จึงมักถูกเรียกว่าสุนัขแบดเจอร์

ด้วยความแข็งแรงและทรหด บวกกับความฉลาดและกล้าหาญ ทั้งบนและใต้พื้นดิน สุนัขดัชชุนด์หลายตัวรวมกันสามารถเข้าต่อกรกับหมีป่าได้อย่างสบาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ในเกมล่าสัตว์แบบอื่นๆ สุนัขดัชชุนด์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 16 - 22 ปอนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับสุนัขจิ้งจอก และในการแกะรอยกวางที่ได้รับบาดเจ็บ สุนัขขนาดนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา สุนัขที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีน้ำหนัก 12 ปอนด์ ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "Stoat" มีขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในยุโรปตอนเหนือ

การนำเข้าสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์มายังประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นมาก่อนการจัดโชว์สุนัขอเมริกาครั้งแรก สุนัขที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้ในการล่าสัตว์น้อยมากเพราะว่าไม่ค่อยมีตัวแบดเจอร์และหมีป่า และไม่มีการล่ากวางด้วยสุนัข รวมทั้งไม่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกด้วยการดมกลิ่น ลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องของสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริม โดยการนำเข้าสายพันธุ์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเยอรมันและเพื่อส่งเสิรมความสามารถในการล่าสัตว์ รวมถึงรูปร่างและอารมณ์ที่ดีเลิศ ความสามารถในภาคสนามตามกฎของ AKC ได้รับการกำหนดขึ้นในปี 1935

ลักษณะพิเศษของสายพันธุ์ มีศีรษะที่ยาว และจมูกที่มีการพัฒนาอย่างดี กระดูกเชิงกรานและกระดูกขาได้มุมอย่างเหมาะสมท่าทางการเดินก่อให้เกิดช่องว่าง ขนาดใหญ่สำหรับปอดและหัวใจ แต่ไม่กว้างจนเกินไป ผิวหนังยืดหยุ่นและอ่อน สำหรับการเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่จำกัดใต้ดิน ขากรรไกรที่ค่อนข้างยาวและมีพละกำลังพร้อมฟันที่แข็งแรง คอยาวและแข็งแรงเสมือนเป็นข้อมือของนักดาบ ขาทรงพลังและเท้าที่แข็งแรงเพื่อการขุดดิน และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดความกล้าหาญอันสูงล้ำ ที่ทำให้ตอบสนองต่อการเข้าโจมตีหรือการป้องกันโดยปราศจากการทะเลาะวิวาท หรือการก้าวร้าวที่ไม่พึงปรารถนา

สุนัขดัชชุนด์ ซึ่งเด่นที่สุดในอเมริกามีขนาดเล็กเพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหรืออพาร์ทเมนต์ แม้กระนั้นก็มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับพาไปเดินตามท้องถนน การที่มีขาสั้น รูปร่างเพรียว ขนสั้นจึงไม่ต้องการการถอนขน การตัดแต่งขน การแปรงขน การหวี การใส่น้ำมัน และไม่ต้องอาบน้ำ เว้นแต่เพื่อชำระล้างความสกปรกที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้นเมื่ออยู่นอกอาคาร ดัชชุนด์มีความทรหดแข็งแรง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่ออยู่ในอาคารเขาจะแสดงความรักความอบอุ่นและตอบสนองต่อความเป็นเพื่อนที่ดี ตื่นตัวในการที่จะบอกให้เราทราบเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาสายพันธุ์มีขน 3 ประเภทให้เลือก มีขนาดมาตรฐานและเล็กจิ๋ว มีสีแดง สีดำ สีแทนและสีอื่นๆ

ลักษณะพิเศษของขนที่แตกต่างกัน 3 ชนิด1. ขนสั้น (หรือขนเรียบ) 2. ขนลวด 3. ขนยาว ซึ่ง ทั้ง 3 ชนิดนี้ควรเป็นไปตามลักษณะมาตรฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว ขนยาวและขนสั้นเป็นชนิดที่มีมานาน เป็นพันธุ์ที่อยู่ตัวดีแล้ว แต่ในชนิดลวด เลือดของพันธุ์อื่น ได้ผสมเข้ามาอย่างมีวัตถุประสงค์ แม้กระนั้นในการผสมพันธุ์สิ่งเน้นที่สำคัญที่สุดต้องอยูที่การให้เป็นไปตามชนิดของดัชชุนด์ทั่วไป ลักษณะดังต่อไปนี้ นำมาใช้แยกชนิดกันตามลำดับ

ประเภทของดัชชุนด์

  1. ดัชชุนด์ขนสั้นและเรียบ ขน สั้น หนา เรียบ และมีประกาย ไม่มีบริเวณที่ขนหลุดล่วงเหลือแต่หนัง ข้อบกพร่องพิเศษ คือขนละเอียด,บาง,หยาบเหลือหนาเกินไปหางค่อยๆ เรียวเล็กลงทีละน้อยไปทางปลายหาง มีขนดีแต่ไม่ถึงกับดกมาก ยาวเรียว ขนหนาหยาบที่ด้านล่างถือว่าเป็นแถบของขนที่กำลังขึ้นงอกงาม มิใช่ข้อบกพร่อง

    สีของขน จมูกและเล็บ ดัชชุนด์สีเดียว กลุ่มนี้รวมถึงสีแดง เหลืองแดง เหลือง และลายเทา อาจจะมีหรือไม่มีขนสีดำกระจายอยู่ สีที่สะอาดเป็นสีที่นิยมมากกว่าสีแดง เป็นที่นิยมมากกว่าสีเหลืองแดงหรือสีเหลือง จุดขาวเล็กเป็นที่ยอมรับได้ แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ จมูกและหางดำ สีน้ำตาลเป็นที่ยอมรับได้แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ ดัชชุนด์ 2 สี จะประกอบด้วยสีดำเข้ม ช็อคโกแลต เทา (น้ำเงิน) และขาว แต่ละแบบจะมีแต้มสีแทนเหนือตาด้านข้างขากรรไกรและใต้ริมฝีปาก ด้านในของหู ด้านหน้าหน้าอก ด้านในและด้านหลังของขาหน้า ที่อุ้งเท้า และรอบก้น และจากตรงนั้นไปถึงประมาณหนึ่งในสาสมถึงหนึ่งในสองของคสามยาวของหางที่อยู่ด้านล่าง ชนิด 2 สีที่แพร่หลายมากที่สุดตามปกติจะเรียกว่าดำและแทน จุดสีขาวขนาดเล็กยอมรับได้ แต่ไม่พึงต้องการ จมูกและเล็บจะมีสีน้ำตาล สำหรับสุนัขสีเทา(น้ำเงิน) หรือขาว สีเทา หรือแม้แต่สีเนื้อ ในกรณีของสุนัขสีขาว จมูกและเล็บสีดำจะเป็นที่นิยมมากกว่า
  2. ดัชชุนด์ขนลวด ลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกับดัชชุนด์ขนสั้นแต่ขาไม่ยาว ยอมให้ลำตัวสูงกว่าพื้น ขนทั้งลำตัวยกเว้นขากรรไกร คิ้ว หู ปกคลุมไปด้วยขนแข็ง หยาบ หนา สั้น เหมือนกันหมดทั้งลำตัว แต่มีขนที่สั้นกว่าและละเอียดกว่ากระจายอยู่ระหว่างขนที่หนา มีเคราอยู่ที่คาง ขนคิ้วเป็นพุ่ม ที่ตรงบริเวณหูขนจะสั้นกว่าที่ลำตัว แต่กรณีใดๆ เป็นไปตามส่วนที่เหลือของขน การจัดเรียงตัวโดยทั่วไปของขน เมื่อจากระยะไกลคงคล้ายขนเรียบ ขนที่มีความนุ่มชนิดใดๆก็ตามเป็นข้อบกพร่อง
  3. ดัชชุนด์ขนยาว ลักษณะที่เด่นชัดที่ทำให้สุนัขชนิดนี้ แตกต่างจากดัชชุนด์ขนสั้นหรือขนเรียบ คือเฉพาะขนแพรไหมที่ค่อนข้างยาว ขนนุ่มเรียบเป็นประกาย ขนที่หยิกเล็กน้อย ควรมีความยาวกว่าที่บริเวณใต้คอ ที่ด้านล่างของลำตัวโดยเฉพาะที่หูและหลังขาเป็นลักษณะขนยาว ขนควรมีความยาวที่ด้านใต้หาง ขนยาวพ้นขอบด้านล่างของหู ขนสั้นที่หูเรียกว่า "หนัง" ไม่เป็นที่นิยม การที่มีขนมากเกินไปทำให้ดัชชุนด์ขนยาวจะดูขนหยาบกระด้างและปิดบังชนิดของพันธุ์

    ดัชชุนด์จิ๋ว ดัชชุนด์ขนาดจิ๋วที่มีการผสมพันธุ์ในขนทั้ง 3 ประเภทภายในขีดจำกัดที่กำหนด มีลักษณะเหมือนดัชชุนด์ทั่วไปแต่ย่อส่วนลง ด้านจิตใจและร่างกายควรเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของดัชชุนด์จิ๋วมิได้มีการแยกออกไปต่างหาก แต่เป็นกลุ่มของสุนัข สำหรับขนาดต่ำกว่า 10 ปอนด์ และ 12 เดือนขึ้นไป


มาตราฐานสายพันธุ์ 
  • ลักษณะทั่วไป : รูปร่างเตี้ย ขาสั้น ตัวยาว แต่มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่แน่นและแข็งแรง ลักษณะการเชิดศีรษะเต็มไปด้วยความกล้าหาญและมั่นใจ สีหน้าแสดงออกซึ่งความฉลาด ทั้งๆ ที่ขาสั้นเมื่อเทียบกับความยาวของลำตัว แต่ดัชชุนด์ไม่เคยแสดงออกถึงลักษณะของความพิการ งุ่มง่ามหรือยืดยาดในการเคลื่อนไหว มีความฉลาด สดใสและกล้าหาญโดยไม่คำนึงถึงอันตราย มุ่งมั่นในการทำงานทั้งบนดินและใต้ดิน ประสาทสัมผัสทั้งหมดพัฒนาอย่างดี มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับเกมการล่าสัตว์ใต้ดิน นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยจิตวิญญาณในการล่าสัตว์ รูปร่างและจมูกที่เหมาะสม ทำให้ได้เปรียบเหนือพันธุ์อื่นทั้งหมดของสุนัขที่ใช้ในกีฬาการสะกดรอย
  • ศีรษะ : เมื่อดูจากด้านบนหรือด้านข้าง ศีรษะจะค่อยๆ เรียวเล็กลงอย่างสม่ำเสมอไปยังปลายของจมูก เห็นเป็นเส้นชัดเจน กะโหลกศีรษะกลมเล็กน้อย และควรลาดเอียงทีละน้อยโดยไม่มีสต๊อป ไปยังแนวสันจมูกกระดูกเหนือตายื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด ปลายจมูกยาวและแคบ ริมฝีปากยึดออกไปคลุมขากรรไกรล่าง แต่ไม่ลึกหรือยื่นออกมา มุมปากไม่มีเครื่องหมายชัดเจน จุดเชื่อมต่อของขากรรไกรบนและล่างอยู่ด้านหลังของตา
  • ฟัน : ฟันเขี้ยวมีพลังมาก ประกบกันได้สนิท และด้านนอกของฟันกัดด้านล่าง ควรสัมผัสกับด้านในของฟันบนอย่างสนิท
  • ตา : ขนาดปานกลาง รูปไข่ ตั้งอยู่ด้านข่าง แสดงออกถึงความฉลาด มีพลัง ร่าเริง ไม่ดุดัน สีน้ำตาลออกแดง จนถึงดำออกน้ำตาล สำหรับขนทุกชนิดและทุกสี ตาซึ่งเป็นสีขาวหรือสีขุ่นในกรณีของสุนัขลายต่าง ไม่เป็นข้อบกพร่องที่รุนแรงมากนัก แต่เป็นลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา
  • หู : ไม่อยู่ใกล้ส่วนบนของศีรษะ ไม่ค่อนไปข้างหน้ามากเกินไป ยาวแต่ไม่ยาวมาก ไม่แคบตั้ง หรือม้วนการเคลื่อนไหวของหูมองดูมีชีวิตชีวา และขอบด้านหน้าแตะกับแก้มพอดี
  • คอ : ค่อนข้างยาว มีมัดกล้ามเนื้อ ไม่มีผิวหนังยาน หย่อนตรงคอหอย ขยายออกอย่างสวยงามไปยังไหล่ แสดงความองอาจแต่ไม่แข็ง
  • หัวไหล่ : ยาว กว้าง ลาดเอียงและตั้งอยู่อย่างมั่นคงบนส่วนอก มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
  • ขาหน้า : ขาหน้าท่อนบน มีความยาวเท่ากับแผ่นไหล่ และทำมุมฉากกัน กระดูกแข็งและเต็มด้วยกล้ามเนื้ออยู่แนบชิดกับซี่โครง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระ ขาหน้าจะสั้นเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ อุ้งเท้าหนา กว้างด้านหน้า และเอียงออกด้านนอกเล็กน้อย อัดแน่นนิ้วเท้างุ้มสวยงาม และอุ้มเท้าควรแนบชิดติดกัน มีเล็บที่แข็งแรงด้านล่างมีอุ้งเล็บที่แข็ง ติ่งเล็บอาจต้องถูกตัดออกไป
  • ลำตัว : โดยทั่วไปต้องยาว และเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานแข็งแรง อยู่ในแนวตรงที่สุดที่เป็นไปได้ ระหว่างจุดสูงสุดของไหล่ หน้าอกเป็นรูปไข่ และยืดขยายไปด้านล่างไปจนถึงจุดกึ่งกลางของขาหน้าโครงสร้างของกระดูกซี่โครง เต็มและเป็นรูปไข่ เมื่อมองจากด้านบนหรือจากด้านข้าง จะเห็นเต็ม เพื่อให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ เป็นตำแหน่งของหัวใจและปอดกระดูกซี่โครงกลมโค้งแล้วค่อยๆ ประสานกลมกลืนเข้ากับเส้นท้อง ถ้าความยาวถูกต้อง ขาหน้าเมื่อมองดูจากด้านข้างควรปิดคลุมจุดที่ต่ำสุดของเส้นอก เส้นท้องสูงขึ้นเล็กน้อย
  • ส่วนท้าย : เมื่อมองดูจากด้านหลัง ควรเท่ากับด้านกว้าง สะโพก ยาว กลม เต็ม กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่อ่อนนิ่มแบบพลาสติก เพียงแต่ค่อยๆ จมหายไปทางหาง กระดูกเชิงกราน ไม่สั้นมาก แข็งแรง กระดูกต้นขา แข็งแรงและมีความยาวพอดี ทำมุมฉากกับกระดูกเชิงกราน ขาหลัง แข็งแรงและมีมัดกล้ามเนื้อ ข้อเข่า กว้างและแข็งแรง กระดูกน่อง เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์อื่น จะมีขนาดสั้น ตั้งฉากกับกระดูกต้นขา และกล้ามเนื้อแข็งแรงอุ้งเท้าหลัง งุ้มอย่างสวยงาม และแนบชิดติดกันทั้ง 4 นิ้ว เท้าทั้งหมดควรวางในลักษณะเท่ากัน
  • หาง : อยู่ในแนวต่อเนื่องกับกระดูกสันหลัง ยืดออกไปโดยไม่มีส่วนโค้งมากนัก และไม่ควรชูหางในลักษณะร่าเริงเกินไป

เซนต์เบอร์นาร์ด

เซนต์เบอร์นาร์ด เป็นสุนัขที่มีขนาดใหญ่ที่สุด น้ำหนักมากที่สุดแต่ใจดีที่สุด ตามสมญานามเรียกขานว่า สุนัขนักบุญ ( SAINT ) มีประวัติความเป็นมาว่า นักบุญเซนต์ เบอร์นาร์ด เดอเมนธอน ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเทือกเขาแอลป์ โดยมีสุนัขคอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ติดอยู่ในหิมะ หรือหลงทางหรือนอนหนาวอยู่ท่ามกลางลานหิมะ

สุนัขพวกนี้จมูกไว ดมรู้ว่ามีคนจมอยู่ใต้หิมะแม้จะลึกหลายๆ ฟุต สุนัขจะออกวิ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 ตัว เป็นการวิ่งลาดตระเวนในระหว่างที่เกิดพายุหิมะถล่ม หรือหลังจากที่เกิดพายุหิมะแล้ว เพื่อค้นหาคนเดินทางที่ประสบอันตรายติดอยู่ในกองหิมะ เมื่อพบกับผู้เคราะห์ร้าย สุนัข 2 ตัวจะนอนลงบนหิมะแนบชิดร่างกายของผู้นั้น เพื่อให้ความอบอุ่น และสุนัขอีกตัวหนึ่งจะเลียตามใบหน้าเพื่อช่วยให้มีสติฟื้นคืนมา

ในขณะเดียวกันสุนัขอีกหนึ่งตัวในกลุ่มจะวิ่งย้อนกลับไปยังสถานที่พัก เพื่อแจ้งเหตุร้ายให้นักบวชทราบ และพามายังสถานที่เกิดเหตุ "ถังไม้เล็กๆ" ที่ผูกติดคอมีไว้เพื่อใส่เหล้าหรือยาไว้ให้ผู้ประสบภัยเปิดกินได้ เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และมีผ้าห่มผูกติดหลังเอาไว้เพื่อให้ผู้ประสบภัยห่มกันหนาว

นอกจากนี้สุนัขเซนต์ฯ ยังได้กลับมาตามคนไปช่วยคนจากหลุมหิมะและพากลับมายังที่พักได้ นอกเหนือจากความสามารถในการค้นหาเส้นทางและประสาทในการดมกลิ่น ซึ่งสามารถทำให้ค้นหาร่างของมนุษย์ซึ่งถูกฝังอยู่ใต้หิมะ สุนัขยังมีชื่อเสียงในการมีสัมผัสที่หกที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งทำให้มันทราบว่าพายุหิมะกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว จะมีการรายงานอย่างทันท่วงที โดยที่สุนัขจะเปลี่ยนจุดยืนอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ภายในเวลาไม่กี่อึดใจที่พายุหิมะจะเกิดและถล่มตรงจุดนั้น ซึ่งจะทำให้ร่างถูกฝังอยู่ใต้หิมะ หรือน้ำแข็งหนักหลายตัน

ในครั้งแรกนักบวชได้เลือกเอาสุนัขจากดินแดนใกล้เคียงไปเลี้ยง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสุนัขพันธุ์โมลอสเชี่ยน ต่อมาก็คือสุนัข "เซนต์เบอร์นาร์ด" นั่นเอง เป็นวีรกรรมที่กล่าวขานกันตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์

ชาวอังกฤษในตอนต้น ค.ศ. 1810 ได้สั่งนำเข้าสุนัขที่ใช้ในสถานที่พักคนเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อเสริมสายเลือดสุนัขพันธุ์มาสตีฟที่มีอยู่ ซึ่งมีการอ้างอิงถึงสายพันธุ์ เป็นเวลาหลายปีที่ถูกเรียกว่า "สุนัขศักดิ์สิทธิ์" ในประเทศเยอรมันนีราวปี ค.ศ. 1828 มีการเสนอให้เรียกชื่อว่า อัล เพนค็อก ในปี ค.ศ. 1833 นักเขียนคนหนึ่งชื่อ ดาร์เนียล วิลสัน ได้พูดถึงสุนัขเป็นครั้งแรกที่เรียกว่า เซนต์ เบอร์นาร์ด แต่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1865 ชื่อเซนต์ เบอร์นาร์ดจึงปรากฏขึ้นอย่างแน่ชัด และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 จึงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ

สุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ดประสบกับปัญหาอันเนื่องมาจากสายพันธุ์เริ่มอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก เพราะกันอยู่แต่สายพันธุ์เดียว ( Inbreeding) ประกอบกับโรคภัยไข้เจ็บ นักบุญจึงต้องการให้มีการผสมข้ามพันธุ์ เพื่อเพิ่มขนาดและพลังความแข็งแกร่งใหม่ให้สุนัข จึงเลือกสุนัขพันธุ์ นิวฟาวด์แลนด์ ซึ่งในขณะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด ผลของการผสมข้ามพันธุ์นี้ ได้ผลเป็นที่พึงปรารถนาในทุกๆ ด้าน และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำลายรูปแบบและลักษณะนิสัยของเซนต์ เบอร์นาร์ดเลย

อย่างไรก็ตาม จากการผสมข้ามพันธุ์ ทำให้ได้สุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ดขนยาวขึ้นมาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้จนถึงปี ค.ศ. 1830 สุนัขเซนต์ เบอร์นาร์ดทั้งหมดมีขนสั้น ปีต่อๆ มาของการผสมพันธุ์ทำให้มีเซนต์ เบอร์นาร์ดเกิดขึ้นอย่างมากมายในหุบเขาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในประเทศเยอรมันนี ประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะทั่วไป : เป็นสุนัขที่มีพละกำลัง รูปร่างสูงได้สัดส่วน แข็งแร่งและมีมัดกล้ามเนื้อในทุกส่วน ศีรษะแข็งแรง เป็นสุนัขที่มีท่าทางฉลาดเฉลียวมากที่สุด สุนัขที่มีหน้ากากสีดำจะทำให้ดูเข้มขึ้นแต่ไม่ทำให้ลักษณะโดยส่วนรวมเสียไปแต่อย่างใด
อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ช่างประจบประแจง สอนง่าย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาช้านานทั่วทุกมุมโลก
ศีรษะ : มีความแข็งแกร่งมาก มีขนาดใหญ่โตและกว้าง กระดูกแก้มอยู่สูง มีสันกระดูกเหนือตาชัดเจนมาก ผิวหนังที่หน้าผากเหนือตาเป็นรอยย่นจนเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นแนวเส้นเข้าไปรวมที่เส้นกลางศรีษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุนัขกำลังตื่นตัว รอยย่นจะเห็นได้ชัดมากขึ้น การที่มีรอยย่นมากจนเห็นชัดเกินไปไม่เป็นที่นิยม ความลาดเอียงของกะโหลกศีรษะ มายังจมูกจะหักมุมค่อนข้างมาก

จมูก : จมูกจะสั้นไม่เรียวเล็กตรงปลาย และความลึกในแนวดิ่งที่ฐานของจมูกต้องมากกว่าความยาวของจมูก สันของจมูกไม่โค้งแต่จะเป็นแนวตรง ในสุนัขบางตัวจะหักเล็กน้อย ร่องกลางศรีษะตื้นเห็นได้ชัดเจนและค่อนข้างกว้าง

ปาก : ริมฝีปากไม่บางจนเกินไป แต่จะโค้งอย่างสวยงามมายังขอบด้านล่างและเหลื่อมริมฝีปากล่างเล็กน้อย ริมฝีปากล่างต้องไม่ห้อยมากไป ฟันควรมีความแข็งแรงและสบกันพอดี ลักษณะขากรรไกรล่างสั้น แม้จะพบในสุนัขตัวที่มีความพร้อมสวยงามก็เป็นลักษณะที่ไม่นิยม ถ้าขากรรไกรบนสั้นถือว่าเป็นข้อบกพร่อง ปากที่เป็นสีดำเป็นลักษณะที่ได้รับความนิยม

หู : มีขนาดปานกลาง ตั้งอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูงที่บริเวณฐาน ห่างจากศีรษะเล็กน้อย แล้วพับงอลงมาด้านข้างแนบอยู่กับศีรษะ ใบหูนิ่มมีลักษณะสามเหลี่ยมปลายมนยาวออกไปเล็กน้อย ทางด้านปลาย ขอบหูด้านหน้าอยู่แนบชิดกับศีรษะ โดยที่ขอบหูด้านหลังอาจอยู่ห่างจากศีรษะเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุนัขอยู่ในท่าเตรียมพร้อม

ตา : ตั้งอยู่ทางด้านหน้ามากกว่าทางด้านข้าง มีขนาดปานกลาง สีน้ำตาลเข้ม มีแววตาฉลาดและเป็นมิตร มีความลึกปานกลาง เปลือกตาด้านล่างปิดไม่สนิท จึงทำให้เกิดรอยย่นที่มุมตาด้านใน หนังตาที่หย่อนมากเกินไป จนทำให้เห็นต่อมน้ำตาอย่างชัดเจน หรือมีสีแดงมาก เปลือกตาหนาและตามีสีจางเกินไปเป็นลักษณะที่ไม่นิยม

ลำคอ : ชูตั้งสูงและในขณะปฏิบัติหน้าที่ลำคอจะตั้งตรง นอกจากนั้นแล้วจะอยู่ในแนวระนาบ การเชื่อมต่อของศีรษะและคอจะเห็นได้ชัด โดยบริเวณต้นคอมีมัดกล้ามเนื้อมากและด้านข้างมีความกลม ซึ่งทำให้มองเห็นว่าลำคอสั้น จะมีส่วนหนังที่ยื่นลงมาบริเวณใต้คอจนเห็นได้ชัด แต่ถ้าชัดมากเกินไปจะไม่เป็นที่นิยม
หัวไหล่ : กว้างและมีความลาดเอียง มีมัดกล้ามเนื้อมากและมีพละกำลัง ส่วนสูงสุดของไหล่จะมองเห็นได้ชัดเจน

หน้าอก : มีความโค้งมาก ลึกพอประมาณ ไม่ยื่นลงไปต่ำกว่าข้อศอก

หลัง : กว้างมากเป็นแนวเส้นตรงจนถึงสะโพก จากตรงนี้จะค่อยๆ ลาดลงไปจนถึงส่วนท้าย และประสานกลมกลืนกัน จนไม่เน้นร่องรอยเข้าไปยังส่วนโคนหาง ส่วนท้ายของตัวพัฒนาขึ้นมาอย่างดี ขามีมัดกล้ามเนื้อมาก

ท้อง : แยกออกจากส่วนเอวที่มีพละกำลังมากจนเห็นได้ชัด ลอยสูงขึ้นเล็กน้อย

หาง : ใหญ่และยาว มีน้ำหนัก ขณะพักจะห้อยลงม้วนงอเล็กน้อย ในช่วงหนึ่งในสามของหางส่วนปลาย ซึ่งไม่ถือว่าเป็นข้อบกพร่องในสุนัขที่มีลักษณะดีหลายตัว หางจะอยู่ในลักษณะปลายงอนเล็กน้อย เพราะฉะนั้นจึงอยู่ในรูปของอักษร " f " ในขณะเคลื่อนไหวหางจะชูขึ้น แต่ไม่ถึงขนาดชูตั้งตรงหรือม้วนหางอยู่เหนือหลัง การที่ปลายหางม้วนลงเล็กน้อยเป็นลักษณะที่ยอมรับได้

ขน : ดก หนาแน่นมาก โดยมีความยาวพอประมาณ ขนหยิกเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับม้วนงอและไม่ยุ่งเป็นกระเซิง ตามปกติที่หลังโดยเฉพาะจากบริเวณส่วนท้ายจนถึงก้นขนจะหยิกมากกว่า เป็นเงื่อนไขที่กำหนดในสุนัขขนสั้น หางจะมีขนเป็นพุ่ม โดยมีขนดกหนาแน่นยาวปานกลาง ขนหางที่หงิกงอไม่เป็นที่นิยม หางที่ขนด้านใดด้านหนึ่งที่เรียกว่า flag tail เป็นข้อบกพร่อง ที่ใบหน้าและหูจะปกคลุมด้วยขนที่สั้นและอ่อนนุ่ม ขนที่ยาวกว่าที่ฐานของหูเป็นที่ยอมรับได้ ขาหน้ามีขนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต้นขาจะมีขนค่อนข้างมาก

สี : ขาวกับแดงหรือแดงกับขาว สีแดงจะมีหลายเฉดสี แถบสีเทากับมีจุดสีขาว สีแดงและสีเหลืองออกน้ำตาลจะมีคุณค่าเท่ากัน รอยแต้ม ( marking ) ที่จำเป็นคือ หน้าอก เท้าและปลายหาง สีแดงขาวและแต้มสีขาว จะเป็นที่นิยมมากถ้ามีสีเดียวหรือไม่มีสีขาวจะไม่นิยม สีอื่นๆ ทั้งหมดถือว่าเป็นข้อบกพร่อง เว้นแต่เฉดสีที่นิยมกันที่มีอยู่ที่ศีรษะและหู ( หน้ากาก )

ขนาด : ตัวผู้สูงอย่างน้อย 27.5 นิ้ว ตัวเมียสูงอย่างน้อย 25.5 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : สิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผิดไปจากมาตรฐาน เช่นหลังคดและหลังยาวไม่ได้สัดส่วน ข้อเท้าขาหลังโค้งงอมากไป ส่วนท้ายของลำตัวเป็นเส้นตรง มีขนขึ้นบริเวณนิ้วเท้า ข้อเท้าแบบวัว และข้อเท้าขาหน้าอ่อนแอ 

ซิลกี้ เทอร์เรีย

ซิลกี้ เทอร์เรีย มีถิ่นกำเนิดที่เมืองซิดนี่ ประเทศออสเตรเลีย แต่ยอร์คเชีย เทอเรีย จะมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงต้นๆ "ซิลกี้ เทอเรีย" จะมีชื่อเรียกว่าซิดนี่ ซิลกี้ เทอร์เรีย เป็นการเรียกตามแหล่งกำเนิดคือเมืองซิดนี่ต่อมาเรียกชื่อย่อเป็นพันธุ์ "ซิลกี้ เทอร์เรีย" สุนัขพันธุ์นี้ลงประกวดครั้งแรกในประเทศออสเตรเลีย


ในราวปี 1907 และมีมาตรฐานพันธุ์ขึ้นในปี 1909 และต่อมาได้มมีการนำสุนัขซิลกี้ เทอร์เรีย เข้าไปพัฒนาสายพันธุ์ในอเมริกา ราวปี 1950 และได้ขึ้นทะเบียนต่อ A.K.C. ในปี ค.ศ.19595

ซิลกี้ เทอเรีย เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่จัดรวมอยู่ในกลุ่ม "ทอย" เช่นเดียวกับ "ยอร์คเชีย เทอ เรีย"เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของสุนัขพันธุ์ออสเตเรียน เทอร์เรียและยอร์คเชีย

มาตราฐานสายพันธุ์ 
โครงสร้าง : เป็นสุนัขที่มีรูปร่างขนาดเล็ก ลำตัวสั้นแต่ยาวกว่าส่วนสูง ขนยาว ว่องไว สามารถวิ่งไล่จับหนูได้อย่างคล่องแคล่ว
ศีรษะ : มีขนาดเล็กลักษณะแข็งแรง หัวเป็นรูปลิ่ม ส่วนหูค่อนข้างยาว หัวกะโหลกแบน
หู : มีขนาดเล็ก (แต่ใหญ่กว่ายอร์คเชีย เทอร์เรียอย่างเห็นได้ชัด) มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนตั้ง ขนที่ใบหูสั้น (ขนที่หูของยอร์คจะยาวกว่ามาก)
ตา : ค่อนข้างเล็กสีเข้ม แววตาเป็นประกาย ส่อแววฉลาดและร่าเริง
จมูก : มีสีดำ ดั้งจมูกมีมุมหักเล็กน้อย
ปาก : สัดส่วนความยาวของปากต่อกะโหลก ประมาณ 2.5 ต่อ 3.5
ฟัน : แข็งแรงขบแบบกรรไกร
ลำตัว : มีความยาวปานกลาง สมส่วน (ลำตัวจะยาวและใหญ่กว่ายอร์คเชีย เทอร์เรีย)
ส่วนอก : กว้างลึก จรดข้อศอก
ขาหน้า : แข็งแรงตั้งตรง เท้าเล็กคล้ายเท้าแมว นิ้วเท้าหนา เล็บสีเข้ม นิ้วติ่งตัดออก เท้าชี้ตรงไปด้านหน้าไม่บิดซ้ายหรือขวา
ขาหลัง : ข้อเท้าหลัง ท่อนบนแข็งแรงซึ่งจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อข้อเท้าหลังทำมุมพอประมาณข้อเท้าหลังสั้น เท้าหลังคล้ายเท้าแมว เล็บสีดำ เท้าชี้ตรงไปด้านหน้า นิ้วติ่งหลังตัดออก
หาง : โคนหางอยู่ในตำแหน่งสูง หางตั้งตรง นิยมตัดหางสั้น บริเวณหางมีขนเล็กน้อย
ขน : ขนมีลักษณะเหยียดตรงเงางามคล้ายแพรวไหม บริเวณหลังขนหูยาวประมาณ 5-6 นิ้ว บริเวณท้องมีขนยาว (ซิลกี้ เทอร์เรีย จะมีขนที่สั้นและบางกว่า ยอร์คเชีย เทอร์เรีย อย่างเห็นได้ชัด)
สี : สีขนสีเทาเงิน-น้ำตาล ขนบริเวณใบหน้าและหูจะสั้น ส่วนท้ายของหัวจรดปลายหางมักจะเป็นสีเทาเงิน บริเวณปากแก้ม หู ข้อเท้าเป็นสีน้ำตาล
ขนาด : เป็นสุนัขขนาดเล็ก (เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะตัวใหญ่กว่า ยอร์คเชียร์
น้ำหนัก : ประมาณ 8-9 ปอนด์
ส่วนสูง : ประมาณ 9-10 นิ้ว
อุปนิสัย : สุภาพ เป็นมิตร ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ รักเด็กไม่ ขลาดกลัว 

เชา เชา

เชา เชาเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น มีประวัติศาสตร์สายพันธุ์มายาวนาน กว่า 2000 ปี สุนัขเชา เชา เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์มาสตีฟแห่งธิเบตและพันธุ์ชามอยจากตอนเหนือของไซบีเรีย แต่มีข้อโต้แย้งว่าเชา เชาอาจเป็นสุนัขพันธุ์แท้ดั้งเดิม เพราะเป็นเพียงสุนัขพันธุ์เดียวในโลกที่มีลิ้นสีดำปนน้ำเงิน

เชา เชาเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษในปี 1880 โดยพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงให้ความสนพระทัย สมาคมสุนัขพันธุ์เชา เชาได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษในปี 1895 สุนัขพันธุ์เชา เชามีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ มีความเฉลียวฉลาดในกลวิธีการล่าสัตว์

ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เชา เชาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในบ้านเราจัดได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ในเกณฑ์สูงและจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ค่อนข้างมีระดับ เหตุเพราะว่าเป็นสุนัขที่มีราคาค่อนข้างสูง จากการที่เชา เชามีขนหนาแน่นปกคลุมอยู่ทั่วตัว ทำให้ร่างกายอุ้มความร้อน ดั้งนั้นเชา เชาจึงชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ในสภาพอากาศที่ร้อนอย่างบ้านเรา มักจะทำให้เหนื่อยง่ายและเฉื่อยชา แต่อย่างไรก็ตามการที่เชา เชามีการขยายพันธุ์ในหลายๆ รุ่น ทำให้สามารถปรับสภาพกับอากาศในเมืองไทยได้พอสมควร

มาตราฐานสายพันธุ์ 

ลักษณะทั่วไป : เชา เชาเป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพละกำลัง ลำตัวสั้นกระทัดรัด มีความแคล่วคล่องว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีโครงสร้างที่สมดุลมาก ลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม ศีรษะกว้างและแบน สันจมูกกว้างและสั้น มีขนขึ้นหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขาใหญ่ตั้งตรงและแข็งแรง ขนมีความมันเป็นประกาย ลักษณะเด่นของเชา เชาคือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับเป็นราชสีห์ หน้าตาดุดันแข็งขัน สงบและว่างท่าอย่างสุขุมเป็นผู้ดี มีความเป็นอิสระและมีการตัดสินใจที่ดี
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดรูปร่าง มีกะโหลกศีรษะแบนกว้าง มีสต๊อปชัดเจน ลักษณะหน้าตาฉายแววของความทรนงองอาจ สันจมูกสั้นและกว้างเมื่อเทียบกับความยาวของกะโหลกจากตาจนถึงปลายจมูก ริมฝีปากเต็มและยื่น
ฟัน : ฟันขาว แข็งแรง สบกันพอดี
จมูก : จมูกใหญ่ กว้างและมีสีดำ ถ้าจมูกมีลายจุดหรือมีสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนนอกจากสีดำถือว่าขาดคุณสมบัติ ยกเว้นเชา เชาที่มีดำ, น้ำเงิน จมูกอาจมีสีน้ำเงินได้ ลิ้นมีสีดำออกน้ำเงิน เนื้อเยื่อในปากออกสีดำ ถ้าลิ้นมีสีชมพูแดงหรือมีจุดสีแดงจนเห็นได้ชัดเจนถือว่าขาดคุณสมบัติ
ตา : มีสีดำขนาดปานกลาง รูปร่างเรียวคล้ายผลอัลมอนด์ ขอบตาสีดำ
หู : ใบหูเล็ก ตรงปลายหูมีความโค้งมนเล็กน้อย หูแข็งตั้งขึ้น เอียงออกด้านข้างและด้านหน้าเล็กน้อย ถ้าหูตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือว่าขาดคุณสมบัติ
ลำตัว : สั้นกระทัดรัด มีซี่โครงผายออก ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น
คอ : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ คอกลม มีความยาวพอเหมาะ แข็งแรง ทำให้ดูสง่างาม
อก : กว้างและลึกเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ลึกจรดข้อศอก ถ้าอกแฟบถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
ขาหน้า : ขาหน้าตั้งตรง กระดูกมีขนาดใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ข้อเท้าขาหน้าตั้งตรงตั้งฉากกับพื้น เท้าชี้ตรงไปข้างหน้าไม่บิดซ้าย - ขวา เท้ามีลักษณะหนากลม เท้าชิด เล็บตัดสั้น
ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่ ขาหลังท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มองจากด้านหลังขาหลังตรง และขนานห่างกันพอเหมาะ ข้อเท้าหลังตรงตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านข้าง สะโพก หัวเข่าและข้อเท้าจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน เท้าหลังมีลักษณะคล้ายเท้าหน้า
เอว : มีขนาดสั้นและลึก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
ขน-สี : มี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว มีขนที่ดกหนา เส้นขนเหยียดตรง ขนชั้นนอกค่อนข้างหยาบ ขนชั้นในนุ่ม มีสีสดใสและเป็นสีเดียวกันตลอด อาจมีเฉดสีแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงแผงคอ ที่หางและที่ก้น เชา เชามีสีดำ, สีเทา, สีแดง, สีครีม ที่สำคัญคือ เชา เชาต้องมีสีเดียวตลอดทั้งตัว
หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางพาดแนบหลัง
ส่วนสูงและน้ำหนัก : สูงประมาณ 17 - 20 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 24 - 27 กิโลกรัม
การเคลื่อนไหว : มีความมั่นคง สง่างาม ขณะวิ่งขาตึง ยกเท้าไม่สูง คอเชิด 

ชเนาเซอร์

มีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมัน สุนัขที่มีหนวดรุงรังแทบจะคลุมหน้าคลุม มิด มองดูราวกับเอาหน้ากากตัวละครมาสวมไว้ โดยไม่มีใครเฉลียวใจว่าใต้หน้ากากที่ว่านี้จะเป็นสุนัขที่ร้ายกาจสักแค่ไหน สุนัขพันธุ์นี้ชอบอยู่กับคน แต่ถ้ากับสุนัขด้วยกันแล้วกลับเมินเอาเลยทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าพันธุ์หมาเมินก็คงไม่ผิด

สุนัขพันธุ์ชเนาเซอร์เป็นสุนัขที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องนำมาคุ้มครองป้องกันภัยหรือครอบครัวที่มีเด็กๆ และต้องการสุนัขที่มีความปราดเปรียวกระฉับกระเฉงมากกว่าสุนัขสวยงาม นอกจากนี้แล้วมันยังเชื่องและเรียนรู้ได้เร็วอีกด้วย
สิ่งที่จำเป็นขึ้นอยู่กับขนาดของสายพันธุ์ พันธุ์เล็กอยู่ในบ้านขนาดปานกลางไม่ต้องใหญ่โตนักก็ได้ ส่วนพันธุ์ใหญ่นั้นควรอยู่ในบ้านที่มีลานวิ่ง สุนัขพันธุ์ชเนาเซอร์ทุกพันธุ์ต้องการการออกกำลังกายอย่างมาก และควรมีอะไรให้ทำตลอกเวลา ขนนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลทำความสะอาด ตกแต่งขนอยู่เป็นประจำและตัดขนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

จุดเด่นของสุนัขพันธุ์ชเนาเซอร์คือ เป็นสุนัขเฝ้าบ้านชั้นเลิศและเป็นผู้พิทักษ์ที่มีความกล้าหาญ มีใจรักคนและบ้านมาก
ในภาษาเยอรมันคำว่า ชเนาซ์ (Schnauze) มีความหมายว่าปาก คำว่าชเนาเซอร์จึงมีความเหมาะสมที่จะเรียกสุนัขที่มีหนวดเคราอย่างสุนัขพันธุ์นี้

สายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในสายชเนาเซอร์ ได้แก่ ชเนาเซอร์ที่มีขนาดกลาง หรือที่เรียกว่า สแตนดาร์ดชเนาเซอร์นั่นเอง หลายศตวรรษมาแล้วที่สุนัขพันธุ์นี้จะวิ่งตามรถม้าซึ่งวิ่งไปตามป่าของประเทศเยอรมันนี โดยวิ่งเหยาะๆ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเคียงข้างกับม้า เป็นสุนัขที่ใช้จับหนูได้เป็นเลิศ

ไจแอนท์ชเนาเซอร์หรือชเนาเซอร์ยักษ์จะแข็งแรงและกำยำกว่าสแตนดาร์ดชเนาเซอร์ เป็นสุนัขอารักขาที่ดี ถูกใช้ให้ต้อนวัวต้อนควายมานานหลายร้อยปี และได้เลิกไปหลังจากรถไฟเข้ามามีบทบาทแทนที่ ปรกติจะเรียบสงบ แต่ต้องฝึกให้อยู่ในกรอบ

มิเนียเจอร์ชเนาเซอร์ หรือชเนาเซอร์ขนาดเล็ก เป็นสุนัขที่ย่อส่วนของสแตนดาร์ดชเนาเซอร์ น่ารัก เชื่อฟัง เป็นสุนัขอารักขาที่ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเพื่อนที่อยู่ในอุดมคติ

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นสุนัขที่กระฉับกระเฉง กำยำ มีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง สัดส่วนของลำตัวเหมือนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

นิสัย : ตื่นเต้นและมีน้ำใจ เต็มที่ที่จะทำให้เจ้านายพอใจ ข้อบกพร่องคือ ขี้อายหรือนิสัยชั่วร้าย

ศีรษะ : แข็งแรง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หน้าผากไม่ควรย่น ส่วนบนของกะโหลกศีรษะค่อนข้างแบนและยาว

ฟัน : สบกันแบบกรรไกร ฟันบนหรือฟันล่างยื่นออกไปข้างหน้าเป็นข้อบกพร่อง

ตา : เล็ก สีน้ำตาลเข้ม ตั้งอยู่ลึก ข้อบกพร่องคือ มีสีอ่อนหรือมีขนาดใหญ่และโปนออกมา

หู : ปลายแหลม สมมาตรกับหัว ไม่ยาวจนเกินไป ตั้งฉากตรงมุมใน

คอ : แข็งแรงและโค้งอย่างสวยงาม หนังตรงคอหอยจะไม่ย่น

ลำตัว : สั้นและลึก เส้นหลังตรง ความยาวจากอกไปยังกระดูกสันอกยาวเท่ากับความสูงที่วัดถึงจุดสูงสุด อกกว้างเกินไป หรือกระดูกซี่โครงตื้น หลังโค้งขึ้นเป็นข้อบกพร่อง

ส่วนหน้า : มีไหล่ที่แบนและลาดเล็กน้อย ขาหน้าเหยียดตรงและขนานกัน มีข้อเท้าที่แข็งแรง ศอกชิดกัน ข้อศอกหลวมถือว่าเป็นข้อบกพร่อง

ส่วนหลัง : มีโคนขาที่แข็งแรงและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ส่วนท้ายไม่อยู่สูงกว่าไหล่ ข้อบกพร่องคือ ข้อขาหลังบิดเข้าหากัน

เท้า : อุ้งเท้าสีดำ หนา สั้นและมน นิ้วเท้าโค้งและกระชับ

การเคลื่อนไหว : ศอกของขาหน้าจะแนบชิดกับลำตัว ขาหลังจะเหยียดตรงและอยู่ในระนาบเดียวกันกับขาหน้า

หาง : ตั้งอยู่สูงและเหยียดตรง หางจะตัดให้สั้นขนาดที่มองเห็นเหนือเส้นหลัง หางตั้งต่ำเป็นข้อบกพร่อง

ขน : มีสองชั้น ขนชั้นนอกแข็งและหยิก คอและลำตัวต้องมีการถอนทิ้ง เวลาลงประกวดขนต้องยาวพอที่จะมองเห็นลักษณะของขน จะปิดสนิทในส่วนของคอ หูและกะโหลก ข้อบกพร่องคือ ขนนิ่มหรือเรียบเกินไป มองดูลื่น

สี : เทา ดำและน้ำเงิน และดำสนิท ที่นิยมคือสีเทาดำ หากมีเขตของสีน้ำตาลแดงก็ยอมรับได้

น้ำหนัก : - ขนาดเล็ก 17 - 18 ปอนด์
- ขนาดมาตราฐาน 33 - 40 ปอนด์
- ขนาดยักษ์ 60 - 70 ปอนด์
ความสูง : - ขนาดเล็ก 13.5 นิ้ว
- ขนาดมาตราฐาน 16.5 - 17.5 นิ้ว
- ขนาดยักษ์ 25.5 - 27.5 นิ้ว 

ปั๊ก

สุนัขพันธุ์ PUG มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนเป็นสุนัขที่เก่าแก่ที่สุดพันธุ์หนึ่ง มีกำเนิดตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาลในสมัยโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในวัดจีน ต่อมาสุนัขพันธุ์ PUG กระจายไปอยู่ส่วนต่างๆของยุโรป ในประเทศฮอลแลนด์ให้เกียรติสุนัขนี้มาก เนื่องจากมันได้ช่วยชีวิตของเจ้าชายวิลเลียม โดยการเตรียมให้รู้ว่าพวกสเปนได้ยกทัพเข้ามาใกล้แล้ว ส่วนฝรั่งเศส มเหสี นโป-เลียนได้ซ่อนจดหมายไว้ที่ปลอกคอของ PUG ไปให้นโปเลียนเพื่อบอกว่า พระนางถูกจับขังไว้ที่ LESCARMES เหตุการณ์นี้เกิดในปี 1970


มาตราฐานสายพันธุ์ 
อุปนิสัย : สามารถอยู่ในที่เล็กๆได้หรือสามารถอยู่ร่วมกันหลายตัวได้
โครงสร้าง : ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและดูกระชับได้สัดส่วน สุนัขมีลำตัวซูบผอม ขาสั้นหรือยาวเกินไป
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ ลักษณะกลม หนังหัวบริเวณหน้ามีรอยย่นมาก
หู : มีขนาดเล็ก ใบหูค่อนข้างบาง หูพับไปด้านหน้าหรือด้านหลัง แต่หูพับไปด้านหน้าจะได้รับความนิยมมากกว่า
ตา : สีเข้ม ลักษณะกลมโต
ปาก : มีขนาดสั้น รูปร่างคล้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
จมูก : ควรสั้นแลดูหน้าทู่เหมือนสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเวลามองตรงเข้าไปจากกหน้า จมูก
ปาก : ควรมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จมูกควรมีสีดำ ฟันห้ามแลบออกมานอกปาก
ลำตัว : มีขนาดเล็ก ลำตัวล่ำสัน ลำตัวมีกล้ามเนื้อมาก
อก : กว้าง
ขาหน้า : แข็งแรงมาก ตั้งตรง ขาหน้ามีความยาวปานกลาง เท้าไม่กลมเหมือนเท้าแมว หรือนิ้วยาวมากเกินไป เล็บสีดำ
ขาหลัง : มีลักษณะเหมือนขาหน้า
หาง : มีลักษณะม้วนอยู่เหนือสะโพก หางม้วนสองรอบถือว่าดี
ขน-สี : ขนสั้นนุ่ม ตัวสีน้ำตาล บริเวณหน้า หู แก้ม ควรมีเส้นตัวสีดำหรือสีดำทั้งตัว
น้ำหนัก : ประมาณ 14-18 ปอนด์ 

ปอมเมอเรเนียน

ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีขนนุ่มปุกปุย มีหัวเป็นรูปลิ่ม หูตั้งชี้ขึ้น บรรพบุรุษปอมเมอเรนียนย้อนกลับไปถึงยุคก่อนคริสตกาล พบภาพวาดในแผ่นหินและรูปหล่อสัมฤทธิ์ตามโลงศพที่พบในอียิปต์ พบโครงกระดูกสุนัขพันธุ์เล็กคล้ายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ในอุโมงค์ที่บรรจุศพสมัยโบราณของชาวอียิปต์

เชื่อกันว่า ปอมเมอเรเนียนได้รับการพัฒนาให้เป็นปอมเมอเรเนียนในปัจจุบันครั้งแรกที่เมืองปอมเมอเรเนีย ประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในยุโดรเหนือแถบทะเลบอลติก ดินแดนกว้างใหญ่จากตะวันตกของเกาะรูเกนถึงแม่น้ำวิทูลา ที่แห่งนี้มีการเลี้ยงสุนัขอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อให้เป็นสัตว์และเพื่อให้เป็นสุนัขอารักขา ปอมเมอเรเนียนมีต้นกำเนิดจากพันธุ์สปิทซ์ในสมัยโบราณ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมเมอเรเนียนพัฒนาจากสุนัขพันธุ์ซามอยด์ ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศรัสเซียแถบไซบีเรีย บางคนเชื่อว่าพัฒนามาจากสุนัขป่า ซึ่งอาศัยอยู่ตามถ้ำในประเทศเยอรมัน และถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะในทวีปยุโรปตอนกลางและตอนล่าง นำมาพัฒนาในยุโรปเพื่อช่วยในการเลี้ยงแกะ ซึ่งบรรพบุรุษของปอมฯ น่าจะมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมฯ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศกรีซ โดยอ้างหลักฐานจากภาพวาดสมัยโบราณหลายภาพที่มีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล หรือเกือบประมาณ 2500 ปีมาแล้ว มีภาพของสุนัขขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนสุนัขปอมฯ ในปัจจุบัน คือ Stop ที่เด่นชัด ช่วงปากแหลม หูสั้น ลักษณะการเดินและการแสดงออกเหมือนกับที่พบได้ในปัจจุบันทุกประการ ยกเว้นแต่ตำแหน่งของหางที่อยู่ต่ำเกินไปเท่านั้น แสดงว่าสุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็กมากตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ไม่ใช่เพิ่งพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมาตามที่มีคนในประเทศอังกฤษอ้างเสมอ ประมาณปี 1800 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ทรงมีความชื่นชอบในสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนและส่งสุนัขของพระองค์ลงประกวด ทำให้เกิดความนิยมปอมเมอเรเนียนอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ และเพราะความที่พระองค์โปรดปรานสุนัขที่มีขนาดเล็ก ผู้เพาะพันธุ์หลายคนเริ่มที่จะคัดสุนัขที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันปอมฯ ที่เราเห็นอยู่มีขนาดที่เล็กลงจากปอมฯ ที่เป็นต้นตำรับ 4-5 ปอนด์

ความฉลาดและความสามารถของปอมฯ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นพระเอกในคณะละครสัตว์อย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเยอรมัน นิยมเลี้ยงกันเป็นฝูง บางแห่งทำเป็นสุนัขลากเลื่อนก็มี ปอมฯ เข้าสู่อังกฤษช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น มีการตั้งชมรมคือ English Pomeranian Club ในปี 1891 ภายหลังสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียทรงออกงานพร้อมสุนัขพันธุ์นี้บ่อยครั้ง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ส่วนในประเทศอเมริกามีการปรากฎตัวครั้งแรกของปอมเมอเรเนียนที่งานกระกวดสุนัขแห่งหนึ่งประมาณปี 1892 ไม่กี่ปีหลังจากนั้นมีการสั่งนำเข้าอีกเกือบ 200 ตัว มาตรฐานของปอมฯ โดยทั่วไป รูปรางจะเหมือนสุนัขจิ้งจอก มีขนาดกลาง ตาเป็นวงรีสีดำ หูเล็กตั้งตรง ลำตัวสั้นขนาดกระทัดรัด หางเป็นพวงแผ่อยู่บนส่วนหลัง

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะทั่วไป : ปอมฯ เป็นสุนัขขนาดเล็ก ลำตัวสั้นกระทัดรัด น้ำหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง
สัดส่วน : น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง
ศีรษะ : ขนาดของหัวต้องได้สัดส่วนกับลำตัว ช่วงปาก (MUZZLE) สั้นตรง หน้าดูคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก (FOXY EXPRESSION) หัวกะโหลกปิด ช่วงบนของหัวกะโหลกจะกลมเล็กน้อยแต่ไม่โหนกนูน ถ้ามองจากด้านหน้าและด้านข้างแล้วจะต้องเห็นหูที่มีขนาดเล็กอยู่ในตำแหน่งที่สูง (HIGH EARSET) และตั้งตรง รูปร่างปากจะมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม(WEDGE SHAPE) เส้นที่ลากจากจมูกไปถึงจุดหัก (STOP) จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างตาทั้งสองข้างและหูทั้งสองข้าง ตามีสีดำสนิท สดใส ขนาดปานกลาง คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (ALMOND SHAPE) สีของจมูกและขอบตาต้องดำสนิท ยกเว้นปอมฯ สีน้ำตาล BEAVER และ BLUE ฟันต้องกัดสบกันพอดี (SCISSORSBITE)
นิสัยและอารมณ์ : สุนัขปอมฯ เป็นสุนัขที่เปิดเผย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด
คอ เส้นหลังและลำตัว : คอค่อนข้างสั้น ตั้งอยู่บนไหล่ ทำให้ช่วงคอตั้งสูง แลดูสง่างาม ช่วงหลังสั้น มีระดับของเส้นหลัง หางมีตำแหน่งที่สูง (HIGH TAILSET) วางราบตรงอยู่บนหลัง
ลำตัวส่วนหน้า : ไหล่จะต้องมีการเอียงลาดลงเพียงพอ เพื่อให้สามารถชูคอและหัวได้สูงและสง่างาม ความยาวของช่วงไหล่และขาตอนบนต้องเท่ากัน ขาหน้าต้องตรงและขนานกัน ความยาวตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกต้องมีความยาวเท่ากับข้อศอกถึงพื้น ขาต้องตรงและแข็งแรง ไม่เอียงเข้าหรือเอียงออก
ลำตัวส่วนหลัง : ได้สัดส่วนกับลำตัวส่วนหน้า ตำแหน่งของหางจะต้องอยู่เหนือสะโพกค่อนมาทางด้านหน้าต้นขา ต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงปานกลาง และมีส่วนหน้าของขาหลัง (STIFLES) มีมุม (ANGULATION) ที่โค้งงอพอสมควรรับกับส่วนน่อง (HOCK) ต้องตั้งฉากกับพื้น ถ้ามองจากด้านหลังขาทั้ง 2 ข้างต้องตรงและขนานกัน เท้ามีลักษณะโค้งมนกระชับ ไม่เอียง สุนัขต้องยืนอยู่ปลายเท้า (TOES) นิ้วติ่ง (DEWCLAWS) ถ้ามีควรตัดออก
การเคลื่อนไหว : การเดินหรือการเคลื่อนไหวต้องเป็นไปอย่างอิสระราบเรียบ นุ่มนวล แลดูแข็งแรง เวลาเดินขาหน้าต้องเหยียดตรงไม่งอพับขึ้น ข้อศอกไม่กางออก ส่วนขาหลังต้องไม่ถ่างออก ขาหลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าในจังหวะเดียวกันกับขาหน้าที่เคลื่อนที่ไป
ขน : สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง การตัดแต่งเล็มขนให้ดูสวยงามและดูเรียบร้อยไม่ถือเป็นข้อผิด
สี : สีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่
1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR)
2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย
3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง 4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี
4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว

จุดบกพร่อง : 
1. กะโหลกกลม โหนกนูน ฟันล่างยื่น (UNDERSHOT MOUTH) หรือฟันบนยื่นจนเกินไป (OVERSHOT MOUTH)
2. ข้อเท้าราบกับพื้นมากเกินไป
3. ขาหลังที่หัวเข่าชิดกัน ปลายเท้าชี้ออก (COWHOCKS) หรือขาหลังที่บกพร่อง
4. ขนที่นิ่ม เหยียดตรงและแยกออกจนเห็นผิวหนังข้างใน (OPEN COAT) 

ดัลเมเชียน

เป็นสุนัขที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน มีประวัติและตำนานอันยาวนาน รูปร่างของเขาเป็นการผสมผสานระหว่าง สุนัขพันธุ์พ้อยเตอร์และสุนัขพันธุ์ฮาวนด์ที่มีใบหูเล็กและผิวหนังที่ตึงของทวีปยุโรปตะวันออก เนื่องจากมันไม่ได้ถูกใช้เป็นสุนัขดมกลิ่นหรือช่วยในการล่าสัตว์ จึงเป็นการยากที่จะรู้ถึงเทือกเถาเหล่ากอที่แน่ชัด ตามตำนานได้เล่าขานว่า เล่าขานว่ามาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดียเมื่อนานมาแล้ว แล้วถูกนำเข้าทวีปยุโรปตะวัน
ออกโดยชาวยิปซี เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองดัลเมเชียในยุคแรกๆ จึงมีการตั้งชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่าดัลเมเชียน 
ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดอย่างไร เจ้าที่คอยวิ่งตามม้าเทียมรถตั้งแต่ยุคกลาง เพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวจากโจรที่ปล้นคนเดินทาง แต่ในที่สุดมันก็กลายมาเป็นเครื่องประดับของผู้รากมากดี จากภาพที่สุนัขพันธุ์นี้วิ่งไปตามถนนของกรุงลอนดอน เพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปเกะกะเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จึงมีชื่อเล่นว่าสุนัขดับเพลิง ดัลเมเชียนเป็นสัตว์เลี้ยงที่สะอาด สงบเสงี่ยมและมองได้ไกล กลายเป็นสุนัขที่คอยระแวดระวังเกี่ยวกับเพลิงไหม้ เป็นสุนัขที่ไม่ค่อยเห่ายกเว้นจะมีอะไรหลงเข้ามา สุนัขพันธุ์นี้มีความอดทนอย่างเหลือเชื่อ สามารถที่จะวิ่งในความเร็วปานกลางแบบไม่มีกำหนด ความจำเป็นในการออกกำลังกายจึงมีมาก

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะทั่วไป : ดัลเมเชียนเป็นสุนัขที่มีจุดโดดเด่น ตื่นตัว แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระฉับกระเฉง ไม่ขี้อาย เฉลียวฉลาด เป็นสุนัขที่มีความทรหดอดทนผนวกกับการวิ่งที่ค่อนข้างเร็ว
อุปนิสัย : ร่าเริง รักสะอาด ตื่นตัว แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระฉับกระเฉง ไม่ขี้อาย เฉลียวฉลาด เป็นสุนัขที่มีความทรหดอดทนผนวกกับการวิ่งที่ค่อนข้างเร็ว
ศีรษะ : มีความสมดุลกับร่างกาย มีความยาวพอสมควร ผิวหนังไม่หย่อน
ตา : อยู่ห่างกันพอประมาณ ขนาดปานกลางและมีลักษณะกลม ตาสีน้ำตาลหรือสีน้ำเงิน ตายิ่งเข้มยิ่งดี ตามักมีสีเข้มในดัลเมเชียนที่มีจุดสีดำมากกว่าในตัวที่มีจุดสีตับ
หู : ขนาดปานกลาง ฐานหูกว้างแล้วค่อยๆ สอบ ปลายหูมน หูบาง เมื่อตื่นตัวส่วนบนของหูจะอยู่ระดับเดียว กันกับยอดของกะโหลกศีรษะ
จมูก : สีดำในสุนัขที่มีจุดสีดำ และสีน้ำตาลในสุนัขที่มีจุดสีตับ
ริมฝีปาก : ปิดสนิท
คอ : เส้นหลัง ลำตัว คอโค้งได้ที่ ค่อนข้างยาว ไม่มีเหนียง
เส้นหลัง : เรียบ
อก : ลึก กว้างปานกลาง
หลัง : อยู่ในแนวราบและแข็งแรง
ชายกระเบนเหน็บ : สั้น เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อและโค้งเล็กน้อย
หาง : ต่อจากเส้นหลังอย่างธรรมชาติ ไม่มีการตัดหาง หางชูขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ม้วน
เท้า : ทั้งเท้าหน้าและเท้าหลังกลมและกระทัดรัด มีอุ้งเท้าที่หนาและมีสปริง เล็บสีดำหรือขาวในสุนัขที่จุดสีดำ และสีน้ำตาลหรือสีขาวในสุนัขที่มีจุดสีตับ
ขน : ละเอียด หนา สั้น เป็นมัน 


บูลด็อก

ประวัติความเป็นมา

มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก สุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็น

คำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตังหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไปจากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษ

บูลด็อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิม

ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่

แต่แล้วยุคเสื่อมของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สายเลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม

มาตราฐานสายพันธุ์ 

ลักษณะทั่วไป : บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา ริมฝีปากหนาและกว้าง มีกล้ามเนื้อหนาแน่น แขน ขาล่ำสัน แข็งแรง แผ่นหลังโค้งเล็กน้อย และจะยกสูงบริเวณสะโพก ลำตัวส่วนท้องจะคอด กระดูกซี่โครงมีลักษณะห่อกลมคล้ายมะขามป้อม ตะโพกค่อนข้างเล็ก หางสั้นและขดแน่นกับส่วนหลัง ด้านอุปนิสัยมีความทรหดอดทน อารมณ์คงที่มั่นคงอย่าเสมอต้นเสมอปลาย มีความตั้งใจแน่วแน่ กล้าหาญ พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปอย่างสงบและสง่า ท่าทางการเดินมีลักษณะแปลกเฉพาะตัว คล้ายข้อต่อกระดูกไม่แข็งแรง เหมือนการลากไป มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างคล้ายการกลิ้งไป แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ต้องไม่เกร็ง เป็นอิสระและเข้มแข็ง
ศีรษะ : ควรมีขนาดใหญ่ เมื่อวัดรอบศีรษะ โดยวัดจากด้านบนลงล่างผ่านใบหูควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของตัว เมื่อมองจากด้านหน้าศีรษะควรสูงมาก เมื่อมองจากมุมของขากรรไกรล่างไปถึงจุดสูงสุดของกะโหลกกว้างมากเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อมองจากด้านข้างศีรษะอยู่สูงมาก และจากจมูกถึงท้ายทอยสั้นมาก หน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก
จมูก : จมูกควรใหญ่ แลดูกว้างแต่สั้น ปลายจมูกควรจะมีรอยย่นลึก จมูกมีเส้นแบ่งเขตแนวชัดเจน รูจมูกใหญ่และเชิด จมูกควรจะมีสีเข้ม หากเป็นสีดำสนิทได้ยิ่งดี จมูกสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำไม่เป็นที่นิยม จมูกแดงเป็นสีเดียวกับสีผิวถือว่าผิดลักษณะ และถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือว่าเป็นจุดด้อยอย่างมาก นอกจากนี้จมูกต้องไม่แห้งหรือเปียกชุ่มเกินไป
ปาก : ริมฝีปากบนควรหนา กว้างและลึกมากห้อยลงมาปิดกรามล่างได้มิดชิด หากมองจากด้านข้างจะปิดริมฝีปากล่างและฟันมิดชิด แผ่นหลังที่หุ้มปากทั้งสองด้านควรมีขนาดใหญ่และยาวเท่าๆ กัน ขากรรไกรล่างใหญ่กว้าง เป็นสี่เหลี่ยมยื่นเลยขากรรไกรบนและงอนขึ้น
ฟัน : ฟันควรอยู่ครบ 42 ซี่ ฟันล่างจะเกยอยู่ด้านนอก ฟันที่ดีต้องซี่ใหญ่แข็งแรงมั่นคง ฟันที่ยื่นออกมาต้องไม่มีลักษณะโค้งงอ ฟันเขี้ยวอยู่ห่างจากกัน ฟันตัด 6 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าระหว่างฟันเขี้ยวอยู่ในแนวระดับเดียวกัน เวลาอ้าปากจะเห็นฟันซี่เล็กๆ 6 ซี่ทางด้านหน้า เวลาหุบปากไม่ควรจะให้เห็นฟันจึงจะดี และฟันควรขาวสะอาด
ตา : ดวงตาควรมีลักษณะกลม ขนาดปานกลาง ไม่จมลึกหรือยื่นออกมามากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้าจะฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะ อยู่ห่างจากหูมาก และตาทั้ง 2 ข้างไม่ควรอยู่ห่างกันมากนัก สีลูกตาควรเป็นสีเข้ม หนังตาปิดตาขาว
หู : ฐานหูทั้ง 2 ข้างควรจะยกสูงและควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลกัน ใบหูควรเล็กและบาง ปลายหูควรพับลงมาแนบกับศีรษะ ควรอยู่ห่างจากตาพอเหมาะ ลักษณะใบหูที่ดีควรมีลักษณะโคนตั้งปลายตกหรือกับกลีบดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด หูไม่ควรตั้งตรงและไม่ควรตกลงมาทั้งหมด
คอ : เนื่องจากบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีส่วนหัวใหญ่ ลำคอจึงควรใหญ่หนา สั้นและแข็งแรง และเป็นส่วนโค้งทอดไปยังส่วนหลัง หนังใต้ลำคอจะหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้ยาน เพราะถ้ายานและมีหนังหย่อนมามากแสดงว่ากำลังอ้วนเป็นพะโล้ แก้ไขโดยการออกกำลังกายบ่อยๆ
ไหล่ : หัวไหล่ควรมีขนาดใหญ่ กว้างและมีมัดกล้ามเนื้อหนา ก่อให้เกิดความสมดุลและพละกำลังมาก
อก : กว้างมาก ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เห็นกล้ามเนื้อที่อกได้ชัดเจน ซี่โครงโค้งกลมจากหัวไหล่จนไปถึงจุดต่ำสุดของหน้าอก ทำให้สุนัขมองดูมีลักษณะกว้าง เตี้ยและขากว้าง
ลำตัว : แข็งแรงกำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่ควรผอมจนเห็นซี่โครงและไม่ควรอ้วนจนมองไม่เห็นกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อยควรจะขอดเล็กน้อย แนวสันหลังควรสั้นและแข็งแรง บริเวณที่ไหล่กว้างมากและค่อนข้างแคบ บริเวณบั้นท้ายซึ่งเป็นจุดที่ควรสูงกว่าความสูงที่ไหล่และมีความโค้งลาดต่ำอีกครั้งลงไปที่หาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ จึงเรียกว่าหลังแมลงสาบหรือหลังวงล้อ
สะโพก : ควรจะโค้งมนได้รูป ส่วนก้นกลมและไม่มีกระดูกโปนออก
ขาหน้า : ควรสั้น สุนัขพันธุ์นี้มีขาหน้าที่สั้นกว่าขาหลัง ดังนั้นเมื่อสุนัขยืนจะทำให้ช่วงหน้าของลำตัวต่ำกว่าบั้นท้าย ขาที่ดีต้องแข็งแรง กระดูกขาใหญ่ ต้นขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ขาหน้าเวลายืนควรอยู่ห่างกัน ช่วงบนของขาหน้าแลดูเป็นวงโค้ง ข้อศอกควรอยู่ห่างจากลำตัว เท้าและนิ้วเท้าใหญ่พอประมาณแลดูกระทัดรัด เล็บที่ขาควรมีสีเข้มและควรเป็นสีเดียวกันกับขนบนลำตัว
ขาหลัง : แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อและยาวกว่าขาหน้า เวลายืนตะโพกจะเชิดสูงทำให้ดูหลังแอ่น ส่วนขาควรสั้นและแข็งแรง ลักษณะของเท้าที่ดี ข้อเท้าที่ขาหลังควรจะหันออกจากลำตัวเล็กน้อย ขาหลังควรบิดออกเล็กน้อย
เท้า : ควรมีขนาดปานกลาง กระทัดรัดและแข็งแรง ปลายเท้าหน้าอาจตรงหรือเปิดออกเล็กน้อย แต่ขาหลังควรยื่นออกด้านนอก
หาง : อาจตรงหรือเป็นเกลียว แต่ไม่โค้งหรือม้วน หางต้องสั้น ห้อยต่ำ โคนหางใหญ่ ปลายเล็ก ถ้าหางเป็นเกลียว การม้วนหรือขมวดของหางจะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายก้นหอยแต่ต้องไม่หงิกงอ ปลายหางไม่ควรม้วนลงไปถึงโคนหาง
ขน : ขนควรสั้นและเหยียดตรงแบนราบกับลำตัว สีของขนควรสม่ำเสมอ สะอาดสดใสและดูเป็นมันเงา ขนต้องไม่ยาวหรือขึ้นเป็นลอน
ผิวหนัง : อ่อนนุ่มและไม่ตึง โดยเฉพาะที่หัว คอและหัวไหล่ รอยย่นและเหนียงตรงคอ ศีรษะและหน้าควรปกคลุมด้วยรอยย่นขนาดใหญ่ และที่คอจากขากรรไกรจนถึงหน้าอกควรจะมีรอยย่นที่ห้อยออกมาเป็น 2 แนว
สี : สีขนของบูลด็อกมีหลายสี สำหรับสีขนที่ถือเป็น 2 สีในตัวเดียวกัน ในสุนัขที่มี 2 สี แต่ละสีควรเป็นสีเดียวที่บริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นเจือปนให้เป็นสีผสม และควรมีการกระจายสีในลักษณะที่สมดุล บูลด็อกที่มีสีดำทั้งตัวไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับบูลด็อกที่มีสีนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นถือว่าใช้ไม่ได้
การเดินการวิ่ง : ถึงแม้จะดูอืดอาดเชื่องช้าเวลาเดินต้องส่ายสะโพกไปมา ลักษณะการก้าวย่างควรดูอิสระ คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเวลาเดิน ลำตัวต้องไม่แกว่งมาก จนดูเหมือนไม่มีกระดูก
น้ำหนักและส่วนสูง: เพศผู้ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 24-25 กิโลกรัม เพศเมียอยู่ในช่วง 22-23 กิโลกรัม ส่วนความสูงเพศผู้ควรอยู่ระหว่าง 16-18 นิ้ว และเพศเมียควรสูง 12-15 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก 

SIBERIAN HUSKY

สุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY มีถิ่นกำเนิดในไซบีเรียน สุนัขพันธุ์นี้ถูกคัดเลือกพันธุ์ขึ้นโดยชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า CHUKCHI เพื่อให้ทำหน้าที่ล่าสัตว์และเฝ้ายาม แต่ต่อมาถูกพัฒนาให้มีลักษณะของสุนัขลากเลื่อน ประมาณ คศ.1900 มีการแข่งขันสุนัขลากเลื่อน ALASKA โดยมีระยะทางถึง 400 ไมล์ สุนัขที่ชนะในการแข่งขันคือสุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY หลังจากนั้นกีฬาแข่งลูกสุนัขลากเลื่อนก็เป็นที่นิยมมากขึ้น สุนัขพันธุ์นี้ก็มักจะชนะอยู่เสมอ AKC. รับรองสุนัขพันธุ์นี้ในปี คศ.1930













มาตราฐานสายพันธุ์ 
อุปนิสัย : ฉลาดเป็นมิตร สุขุม สามารถทำงานร่วมกันเป็นฝูงได้

ส่วนหัว : มีขนาดปานกลางสมส่วนกับลำตัว หัวกะโหลกค่อนข้างกลม หัวกะโหลกระหว่างหูจะกว้าง และเรียวลงจรดตาทั้งสองข้าง

หู : มีขนาดปานกลางมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายหูมน ใบหูหนา มีขนแน่นหูตั้ง

ตา : มีลักษณะเป็นรูปกลมรี อยู่หางกันพอประมาณ ตามีสีน้ำตาลเข้ม

ดั้งจมูก : มีมุมหักพอประมาณ

ปาก : ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของหัวกะโหลก ปากมีความกว้างพอประมาณ สันปากตรง โคนปากใหญ่ และเรียวลงจรดปลายจมูก ริมฝีปากตึง มีสีเข้ม

จมูก : มีสีดำ น้ำตาลเข้ม หรือชมพู

ฟัน : ขาวสะอาด แข็งแรง ขบแบบกรรไกร

ลำตัว : มีขนาดปานกลาง เส้นหลังตรงขนานกับพื้น ความยาวของลำตัวมากกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย

คอ : มีความยาวปานกลาง มีลักษณะโค้ง ขณะเดิน หรือวิ่ง คอจะยืดไปข้างหน้า
ลำตัวส่วนหน้า : หัวไหล่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ แข็งแรง

อก : มีลักษณะแข็งแรง อกลึกจรดข้อศอก อกมีความกว้างพอประมาณ ไม่กว้างจนเกินไป

ขาหน้า : มองจากด้านหน้าขาหน้าทั้งสองข้างตรง ห่างกันพอเหมาะ มองจากด้านข้างข้อเท้าเอียงเล็กน้อย ท่อนขาตรง ความยาวของขาจากข้อศอกถึงพื้นจะมากกว่าความยาวจากข้อศอกถึงหัวไหล่เล็กน้อย เท้ามีลักษณะกลมรี นิ้วเท้าชิด เท้ามีขนหนาแน่น

ขาหลัง : ท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีกำลังมาก ข้อเท้าหลังแข็งแรง มองจากเท้าหลัง ขาหลังทั้งสองข้างตั้งตรงขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ เท้ามีลักษณะกลมรีนิ้วเท้าชิด เท้ามีขนหนาแน่น

หาง : มีขนเป็นพวง หางมักจะยกสูงโค้งเล็กน้อย หางไม่บิดเอียงไปทางซ้ายหรือขวา

ขน - สี : ขนมีสองชั้น ขนชั้นในนุ่ม ขนชั้นนอกแข็งแนบชิดผิวหนัง ขนมีหลายสี ตั้งแต่สีดำหรือขาวล้วน

ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดปานกลาง

น้ำหนัก : เพศผู้หนักประมาณ 45 - 60 ปอนด์ เพศเมียหนักประมาณ 35 - 50 ปอนด์

ส่วนสูง : เพศผู้สูงประมาณ 21 - 23.5 นิ้ว เพศเมียสูงประมาณ 20 - 22 นิ้ว

การเดิน - วิ่ง : มีความสง่างาม เคลื่อนที่ได้เร็ว ขณะวิ่งเท้าไม่บิด หรือปัด

ข้อบกพร่อง : หูใหญ่ หูตก หางม้วนมาก 

Basset Hound (บาสเซ็ทฮาวด์)

Basset Hound เป็นสุนัขที่มีความสามารถในการตามกลิ่น มีขาที่สั้น กระดูกขาใหญ่มาก และจัดว่าใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่สุขุม แต่ไม่งุ่มง่าม เป็นสุนัขอารมณ์ดี ใจดี ไม่ตกใจกลัวง่าย มีความอดทนสูงในการตามกลิ่นในทุ่งกว้างได้อย่างยาวนาน













มาตราฐานสายพันธุ์ 
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่และได้สัดส่วนที่ดี ความยาวจากด้านหลังของกะโหลก(Occiput)ไปจนถึงบริเวณจมูกและปาก (Muzzle) จะใหญ่กว่าความกว้างของหน้าผาก(Brow) ถ้าเทียบกับขนาดตัวทั้งหมดและหัวของมันจะมีขนาดพอดีๆ กะโหลกหัวจะมีลักษณะเป็นรูปโดม ซึ่งจะแสดงกระดูกหลังกะโหลก(Occiput) ที่ยื่นออกมาได้อย่างชัดเจน สำหรับกะโหลกแบนเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาด(Falt) ความยาวจากจมูกถึงช่วงตรงกลางหน้าผากระหว่างตา(Stop) จะใกล้เคียงความยาวจาก Stop ถึง Occiput ด้านข้างทั้งสองด้านเรียบและห้อยย้อยลงมา มองจากด้านข้างหัวสุนัขจะเห็นแนวเส้นตรงบนดั้งจมูกนั้นจะตรง และขนานกับแนวเส้นตรงของกะโหลกหัว หนังบริเวณหัวทั้งหมด จะย่นเมื่อสุนัขก้มหัวลงรอยย่นจะปรากฎเป็นริ้วบริเวณหน้าผาก สุนัข Basset Hound ตัวใดก็ตามที่หนังหัวไม่ย่นจะถือว่าเป็นข้อผิดพลาด บริเวณด้านข้างระหว่างปากกับจมูก (Muzzle) ควรมีลักษณะใหญ่และห้อย จมูกควรมีสีเข้ม ยิ่งถ้าเป็นสีดำจะยิ่งดี จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกกว้างสำหรับจมูกสีน้ำตาลเข้มถ้าเข้ากับสีของหัวสุนัขก็ถือว่าไม่ผิด แต่ไม่เป็นที่นิยม ฟัน (Teeth) ควรมีลักษณะใหญ่แข็งแรงเป็นระเบียบ ฟันบนจะขบกับฟันล่างเป็นแบบ Scissors ถ้าลักษณะฟันแบบ Overshot หรือ Undershot ถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง (serious Fault)
ริมฝีปาก : มีสีเข้ม มีลักษณะห้อยเอียงจากด้านหน้าไปด้านหลัง หนังบริเวณใต้คอ (Dewlap) จะห้อยมาก คอมีลักษณะแข็งแรงภายใต้ความยาวที่พอดีและมีส่วนโค้งที่ได้สัดส่วน ตา (Eyes) อ่อนโยน เศร้า ลักษณะของลูกตาจะเว้าลงไป ทำให้เห็นเปลือกตาล่างด้านใน ดวงตามีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ดวงตาสีอ่อนไม่ถือเป็นข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม สำหรับลักษณะลูกตาที่โปนออกมาจากเบ้าถือเป็นข้อผิดพลาด หู(Ears) ค่อนข้างยาว ห้อยลงมาต่ำ ใบหูควรจะยาวมาปิดจมูกได้ ลักษณะของพื้นผิวใบหูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ยาวเรียว ปลายหูม้วนเข้าข้างในเล็กน้อย กกหูจะอยู่ต่ำและค่อนไปทางด้านหลังของหัวบริเวณฐานกะโหลก ขณะที่ยืนนิ่งใบหูจะห้อยขนานกับต้นคอ ลักษณะกกหูที่อยู่สูงและใบหูแบบเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาดร้ายแรง
ส่วนหน้าของลำตัว : จะมีอกยื่นออกมาเมื่อมองจากด้านข้าง ประกอบไปด้วยกระดูกอก(Sternum)ที่ยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัดโดยจะอยู่ระหว่างขาหน้า หัวไหล่และข้อศอกจะอยู่ชิดกับอก ช่วงห่างระหว่างอกกับพื้นควรห่างพอที่สุนัขจะเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก แต่ไม่ควรจะห่างเกิน 1 ส่วน 3 ของความสูงสุนัขเมื่อโตเต็มที่โดยวัดจากหัวไหล่ ไหล่ควรจะเอียงไปทางด้านหลังและดูแข็งแรง หัวไหล่ที่ตั้งตรงและการออกรวมทั้งข้อศอกไม่ชิดลำตัวถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง
ขาหน้า : มีขาหน้าสั้น เต็มไปด้วยพละกำลัง กระดูกใหญ่มีรอยย่นรอบๆขา ลักษณะขาหน้าโค้งงอไปด้านหน้า (Knucking Over) ถือว่าขาดคุณสมบัติ (Disqualification) อุ้งเท้าใหญ่แข็งแรง นิ้วเท้าเรียงชิดติดกัน อุ้งเท้ามีลักษณะกลมและเอียงออกเล็กน้อยเท่าๆกันทั้งสองข้างสมดุลย์กับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะข้อต่อระหว่างเท้ากับขาไม่ต่อกันถืเป็นความผิดพลาดอย่างแรง นิ้วเท้าทั้งสองข้างต้องไม่บิดและแบะออก เพราะมันจะทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของส่วนหน้าลำตัว ส่วนนิ้วเท้าเล็กๆข้างเท้าหน้าด้านใน (Dewclaws) สามารถตัดออกได้
ลำตัว : มีลำตัวยาว กระดูกซี่โครงเรียงกันไปจนถึงส่วนหลังของลำตัว กระดูกซี่โครงมีขนาดเหมาะสมที่จะปกป้องคุ้มครองหัวใจและปอด ส่วนกระดูกซี่โครงที่ยุบตัวหรือนูนออกมาไม่เรียบถือเป็นข้อผิดพลาด
กระดูกเส้นหลัง : จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงได้ระดับเสมอกัน เส้นหลังที่มีลักษณะโค้งงอหรือเว้าลงถือเป็นข้อผิดพลาด
ส่วนหลังของลำตัว : จะมีลักษณะกลมและแข็งแรง ความกว้างของส่วนหลังนี้จะเท่ากับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะส่วนหลังจะไม่ปรากฎลักษณะของขาหลังที่หย่อนหรือขาที่ไม่มีแรง เมื่อมองแล้วจะสัมพันธ์กับลำตัวทั้งหมด ส่วนหลังควรจะสัมพันธ์กับส่วนหน้าของลำตัว เพื่อที่สุนัขจะสามารถยืนได้อย่างมั่นคงบนขาหลังของมัน โดยไม่มีลักษณะข้อหัวเข่าขาหลัง (Stifle) โค้งงอออกหรือโค้งงอเข้า เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นว่าขาหลังทั้งสองข้างจะต้องชี้ไปข้างหน้า ถ้าบริเวณด้านล่างของขาหลัง (กระดูก Lower Thigh) ตั้งชันจนไม่เกิดมุมถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง นิ้วเท้าเล็กๆ ที่ขาหลัง (Dewclaws) ก็สามารถตัดออกได้
หาง : หางจะไม่มีลักษณะเป็นข้อต่อ กระดูกของหางจะเรียงตัวต่อกันและโค้งเล็กน้อย หางจะเป็นเครื่องที่แสดงความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับของสุนัขกลุ่ม Hound ขนบริเวณใต้หางจะมีลักษณะหยาบ
ขนาด : ไม่ควรสูงเกิน 14 นิ้ว โดยวัดจากไหล่ Basset Hound สูงเกิน 15 นิ้ว ถือว่าขาดคุณสมบัติ
ลักษณะการเดิน : สุนัข Basset Hound จะเคลื่อนตัวอย่างนุ่มนวล มีกำลังและมีพลังงานในการเคลื่อนตัวเนื่องจาก Basset Hound เป็นสุนัขดมกลิ่นมันจึงมักเดินเอาจมูกดมพื้นอยู่เสมอ ขณะที่มันเดินขาหน้าและขาหลังจะก้าวขนานไป ในขณะที่เท้าหน้าข้างหนึ่งก้าวไปข้างหน้า เท้าหลังข้างนั้นก็จะดันตัวไปข้างหลังเสมอ เท้าหน้าเมื่อเวลาเดินไม่ควรแบะออกไปด้านข้าง หรือก้าวหน้าแล้วแต่ละเท้าทิศทางการก้าวเท้าไปคนละทิศละทางไม่ตรงกัน และข้อศอกควรจะแนบลำตัว ข้อขาหลังทั้งสองข้างควรตั้งตรงในขณะที่เดิน
ขน : ขนของ Basset Hound มีลักษณะแข็ง เรียบ และสั้น มีขนแน่นปกคลุมทั่วร่างกายทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับได้กับทุสภาพอากาศ ผิวหนังมีลักษณะห้อยและยืดหยุ่นได้ดี สุนัข Basset Hound ที่มีขนยาวถือว่าขาดคุณสมบัติ
สีขน : ไม่มีกำหนดว่าควรจะมีสีอะไร เพียงแต่เป็นสีที่ยอมรับได้ในสุนัขกลุ่ม Hound เรื่องสีและลาย (Marking) จึงถือว่าไม่สำคัญ
ข้อบกพร่อง : * สูงเกิน 15 นิ้วเมื่อวัดจากหัวไหล่
* ขาหน้าโก่งงอไปข้างหน้า (Knuckled Over)
* ขนยาว 

แจ็ค รัสเซล

แจ็ค รัสเซลล์ได้มีการเพาะพันธุ์สายพันธุ์ขึ้นมาใหม่เมื่อต้นปี ค.ศ. 1800 ในประเทศอังกฤษโดยศาสนจารย์ Jack Russell ซึ่งภายหลังสุนัขพันธุ์ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า Jack Russell Terrier (JRT) ตามชื่อของท่านศาสนจารย์ นอกจาก Jack Russell Terrier จะมีชื่อตามศาสนจารย์ที่เรียกกันแล้ว ก็ยังมีบางครั้งที่คนมักเรียกก็คือ PARSON JACK RUSSELL



โดยทั่วไปแล้วสุนัขสายพันธุ์กลุ่ม TERRIER จะใช้ในการล่าสัตว์และติดตามเหยื่อไปหลังจากที่เหลือ โดยสุนัขในกลุ่ม HOUND ไล่ต้อนมาก่อนหน้านี้แล้ว

สายพันธุ์ของ Jack Russell Terrier ในอเมริกาและอังกฤษ ขนาดของสุนัขจะอยู่ที่ 10-15 นิ้ว แต่ในออสเตรเลีย Jack Russell Terrier จะถูกแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ Jack Russell จะมีขนาด 10-12 นิ้ว PARSON JACK RUSSELL ขนาด 12-14 นิ้ว ลักษณะขนของ Jack Russell Terrier มีด้วยกัน 3 แบบ คือ ขนสั้น ขนหัก และขนยาว ขนหักและขนยาวจะค่อนข้างหยาบเมื่อเทียบกับขนสั้น แต่ขนสั้นก็ไม่ควรจะอ่อนนุ่มและเป็นมันจนเกินไป เนื่องจากขนเหล่านี้ช่วยปกป้องสุนัขในเวลาที่ออกไปล่าสัตว์

ขน ขนควรจะมีสีขาวตั้งแต่ 51% หรือมากกว่าขึ้นไปในร่างกาย และมี MARKINGS เป็นสีน้ำตาลหรือดำ หรือทั้งน้ำตาลและดำ ซึ่งเรียกว่า TRI COLOURED MARKING ของสุนัขพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะพบที่บนใบหน้า รอบตา หู ที่ก้นถึงหางและเล็กน้อยบนลำตัว

ลักษณะทั่วไป ในการเลือก Jack Russell Terrier คือควรจะมีกะโหลกโต หูต้องเป็นรูปตัว V และตกไปทางด้านหน้า จมูกและริมฝีปากต้องมีสีดำ ตาควรเป็นสีน้ำตาลเข้มรูปถั่วอัลมอนด์ แฝงด้วยแววตาขี้เล่นและขี้สงสัย ขาต้องตรงและมีกล้ามเนื้อที่ต้นขา หางต้องสั้นและชี้ขึ้น

ผู้ที่ต้องการเลี้ยง Jack Russell Terrier ควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. Jack Russell Terrier เป็นสุนัขตื่นตัวตลอดเวลา มันควรได้รับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรอยู่ในความควบคุมดูแลและควรได้รับการฝึกสอนจากเจ้าของหรือฝึก
2. Jack Russell Terrier เป็นสุนัขที่ต้องการการเอาใจใส่ดูแลและเวลาจากเจ้าของอย่างมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่ชอบเข้าสังคมและขี้เล่น
3. ผู้เลี้ยง Jack Russell Terrier ควรจัดระบบการเลี้ยงให้ถูกต้อง เช่นต้องมีรั้วรอบขอบชิด เพราะ สามารถกระโดดได้สูงมาก รวมถึงปีนป่าย แม้กระทั่งขุดรูเพื่อหนีเที่ยวถ้ามันรู้สึกเบื่อหรืออยากหาอะไรสนุกตื่นเต้นทำ
4. เพื่อความปลอดภัยของสุนัข ผู้เลี้ยง Jack Russell Terrier ควรจะใช้สายจูงตลอดเวลาที่พาไปเดินเล่น เนื่องจาก Jack Russell Terrier เป็นสุนัขที่มีความรวดเร็วและคล่องตัวสูงมาก