บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อาฟกันฮาวด์

ด้วยรูปร่างที่สูงโปร่งและลักษณะของขนที่ยาวสลวยจึงทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็น สุนัขที่สง่างาม ดูแล้วเป็นสุนัขที่มีความคลาสสิกในตัวมากเมื่อมองจากด้านหน้าจะดูตรงหัวเชิด ตรง คอยาวโค้ง ได้สัดส่วน ขนยาว ท่วงท่าในการเคลื่อนไหวจะต้องสง่างาม ให้สมกับที่ฝรั่งเขาตั้งให้ว่าเป็น THE KING OF DOG

มาตราฐานสายพันธุ์
อุปนิสัย : เป็นสุนัขที่เรียบร้อย สำอาง แต่ตอน อายุระหว่าง 2-12 เดือน จะซนมาก
ศีรษะ : โหนกยาวได้สัดส่วน บ่งบอกถึงความสมดุลกับลำตัว หน้าผากและใบหน้าเรียบไม่ควรมีสต๊อป สันจมูกเรียบ หรืออาจจะโก่งเล็กน้อย ขนตรงส่วนหัวจะต้องยาวนุ่มสลวย แต่ขนที่ใบหน้าต้องสั้นเกรียน ลูกสุนัขบางตัวจะมีหนวด แต่จะหลุดออกเมื่อโตขึ้น
หู : ยาว ต้องอยู่ในแนวเดียวกับตา เนื้อปลายหูจะต้องยาว เวลาวัดจะต้องยาวถึงจมูก อย่างน้อยที่สุด ปกคลุมด้วยขนยาว
ตา : ยาวคล้ายผลอัลมอนด์ ดวงตาสีดำหรือสีคล้ำใสไม่ฝ้าฟาง
จมูก : โตพอสมควรและต้องเป็นสีดำ
คอ : ยาว แข็งแรง โค้งมนได้สัดส่วน จนถึงหัวไหล่ ซึ่งยาวโค้งและลู่ไปข้างหลัง
ลำตัว : เส้นตรงในระดับหัวไหล่ถึงสะโพกแข็งแรงและมีกระดูกสะโพกโผล่ เล็กน้อย สีข้างเรียบ ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่เท่ากับความยาวจากข้างหน้าถึงข้างหลัง
หาง : ไม่อยู่สูงเกินไปจากเส้นหลัง ต้องขดเป็นวงแหวนหรือตรง ส่วนปลายโค้งเหมือนดาบแขก แต่จะต้องไม่ขดเหมือนก้นหอย หางต้องไม่เบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง เวลาวิ่งหางจะต้องไม่ไปจุกที่ก้น
ขาหน้า : ตรง แข็งแรง และมีช่วงยาวสวยงามระหว่างข้อศอกกับข้อพับเท้าสุนัขที่มีหัวไหล่ตรงเป็นสุนัขที่ผิดแสตนดาร์ด
ขน : ปกคลุมยาวทั้งตัวยกเว้นขนหลัง หน้าและหางมีขนปกคลุมยาวไม่มาก ลักษณะเส้นขนนุ่มเส้นบางไม่หนาหยาบ ในสุนัขที่โตเต็มที่ขนหลังจะต้องสั้นเกรียนสีเข้มกว่าสีขนบนลำตัว
สี : ทุกสี เช่น ขาว ครีม เทา ดำแดง ดำเงิน รวมไปถึงลายเสือ
น้ำหนัก : ตัวผู้ประมาณ 28 กก. ตัวเมียประมาณ 23 กก
ส่วนสูง : ตัวผู้สูง 27 นิ้ว ตัวเมียสูง 25 นิ้ว อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าไม่เกินหนึ่งนิ้ว
ข้อบกพร่อง : ดุหรือขี้กลัว ขนสั้นเกินไป เวลาวิ่งเท้าแกว่ง หลังแอ่น หลังโก่งหรือสุนัขที่มีเส้นหลังไม่เรียบหน้าอกกว้างเกินไป หัวสุนัขที่ไม่โหนกและไม่มีขนปกคลุม

หลังอาน

สุนัข ไทยหลังอาน เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย คือ ในจังหวัดตราดและจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดจันทบุรี และระยองจึงจัดเป็นสุนัขพื้นเมืองในบริเวณดังกล่าว

ลักษณะทั่วไป

เป็น สุนัขขนาดกลางมีรูปร่างใกล้เคียงกับสุนัขพื้นเมืองไทยทั่วไป แต่มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณะประจำพันธุ์ คือ บนหลังมีอานอยู่ด้านบน คล้ายว่ามีอานม้าวางอยู่บนหลัง มีรูปร่างลักษณะสง่างาม หน้าเชิด หูตั้ง หางทอดโค้งเหมือนดาบงอน ลิ้นมีปานสีดำ แต่เดิมใช้ในการล่าสัตว์เพราะมีความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับอานที่เกิดบนหลังที่ดีจะต้องมีขนาดใหญ่ อานของสุนัขเกิดจาก 2 ลักษณะดังนี้

1. ขนที่ชี้ย้อนกลับไปด้านหน้า และไม่ได้เกิดจากขวัญ
2. ขวัญ ขวัญจะวนเป็นรูปก้นหอยจากไหล่ทั้ง 2 ข้างแล้วมาบรรจบกันที่หัวไหล่ เป็นวงกลมใหญ่ และเรียวลงมาตามแนวกระดูกสันหลังจรดโคนหางเหมือนอานม้า

การเกิดขวัญ ในตำแหน่งและจำนวนที่ต่างกัน มีผลทำให้เกิดรูปร่างของอานแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งได้ 8 ชนิด ดังนี้

1. อานเข็ม มีขนาดเล็ก และไม่มีขวัญ
2. อานแบบแผ่น หรือ อานม้า ขนาดใหญ่เต็มแผ่นหลังและไม่มีขวัญ
3. อานแบบเทพพนม ขนบนหลังจะไม่ชี้ย้อนไปด้านหัวแต่จะชี้ชนกันกลางแนวสันหลัง เหมือนใช้นิ้วประสานกันพนมไหว้ และไม่มีขวัญบนหลัง
4. อานแบบหัวลูกศรหรือธนู เกิดจากการมีขวัญ 2 ขวัญบนหัวไหล่
5. อานแบบพิณ เกิดจากขวัญจำนวน 3 – 4 ขวัญ คือ ที่บริเวณหัวไหล่ 1 – 2 ขวัญ และบริเวณกึ่งกลางลำตัว 2 ขวัญอยู่กันคนละฝั่ง
6. อานแบบใบโพธิ์ ขวัญจะกว้างเต็มแผ่นหลังและเรียวยาว แต่ไม่ถึงโคนหาง
7. อานแบบไวโอลีน เกิดจากขวัญตั้งแต่ 3 – 5 ขวัญ คือ คู่แรกอยู่บนหัวไหล่หน้า ส่วนคู่ที่ 2 จะเกิดค่อนไปด้านหาง
8. อานแบบลูกโบว์ลิ่ง เกิดจากขวัญ 4 – 5 ขวัญ คือ บริเวณหัวไหล่อาจมี 1 ขวัญ หรือไม่มีก็ได้ บริเวณกลางลำตัวมี 1 คู่ อยู่ชิดกันเป็นช่องที่แคบ และมีขวัญอีก 1 คู่ที่เหนือโคนขาหลังโดยอยู่ห่างกัน และดูกว้างกว่าคู่แรก

นิสัย

สุนัข ไทยหลังอานเป็นสุนัขขนาดกลาง ได้ชื่อว่ารักเจ้าของมาก ซื่อสัตย์ ไม่ดื้อประจบเก่ง สุภาพ และฉลาด แต่มีความดุร้ายพอสมควรเมื่อเจอคนที่ไม่ใช่เจ้าของ

มาตรฐานพันธุ์

ขนาด เพศผู้ เพศเมีย
ความสูง (เซนติเมตร) 52.5 - 62.5 47.5 - 57.5
น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 22 - 24 20 - 22

ขน

สุนัขไทยหลังอานจะมีขนสั้น แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบกำมะหยี่ ขนจะสั้นเกรียนติดผิวหนังและมีความนุ่ม และแบบสั้นแต่ไม่เกรียนติดหนัง

สี

สีควรเป็นสีเดียวทั้งตัว ส่วนสีที่พบได้ คือ น้ำตาล, น้ำตาลแดง, น้ำตาล อ่อน, น้ำตาลดำ, ขาว, กลีบบัว และสีสวาท

หลักเกณฑ์การให้คะแนนในการประกวดสุนัขไทยหลังอาน

อาน 20 คะแนน
ขนาด และลักษณะทั่วไป 20 คะแนน
ลำตัว 15 คะแนน
หาง 10 คะแนน
ขน 10 คะแนน
หัว - ตา 10 คะแนน
ขา - เท้า 10 คะแนน
หู 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน

สแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรียร์

ความ เหมาะสมในการเลี้ยงสุนัขพันธุ์สแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ คือ ต้องการครอบครัวหรือผู้ที่สามารถอุทิศเวลาให้มันเป็นสุนัขที่ฝึกได้ง่าย มันมีความพึงพอใจที่จะเอาใจผู้เป็นเจ้าของ เป็นสุนัขที่คุ้นเคยกับผู้คนและเฉลียวฉลาดมาก เป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพลังงาน มีความสามารถในเชิงกีฬา ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงร่วมกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ และถ้าเลี้ยงร่วมกับเพศเดียวกันก็จะเกิดการต่อสู้กัน

สุนัขพันธุ์นี้มีสายเลือดของสุนัขพันธุ์บูลด็อกและสุนัขพันธุ์เทอร์เรียร์ เท่าๆ กัน ก็เลยตัวล่ำ สู้ไม่ถอย เคยมีประวัติมวยสุนัขติดอยู่ในประวัติศาสตร์ของอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ ษตวรรษที่ 19 แล้ว

ชื่อนี้เอามาจากพวกชาวเหมืองของเมืองสแตฟฟอร์ดเชียร์ประเทศอังกฤษ ที่ตั้งหน้าตั้งตาเพาะสุนัขบ่อนเอาไว้กัดกันมาช้านาน ก่อนที่จะมีกฎหมายห้ามกัดสุนัข

อเมริกาเพิ่งรู้จักสุนัขพันธุ์นี้เมื่อปี 1870 ซึ่งในตอนแรกเรียกกันว่า แยงกี้เทอร์เรียร์บ้าง หรือไม่ก็อเมริกันบูลล์เทอร์เรียร์บ้าง พวกนักเลงเพาะสุนัขที่อเมริกาเน้นหนักกันที่ขนาดและรูปร่าง สุนัขที่เพาะจากอเริกาก็เลยตัวหนักกว่าเดิม
สุนัขรุ่นสมัยใหม่นี้ทิ้งนิสัยนักเลงไปแล้ว กลายสุนัขที่สุภาพและวางใจได้ ว่ากล่าวก็ง่าย เมื่อนำมาเลี้ยงก็คงไม่สามารถที่จะหาใครที่น่ารักและภักดีเหมือนเจ้า สแตฟฟอร์ดเชียร์ตัวนี้ไม่ได้อีกแล้ว มันจะรักเจ้านายถึงขั้นยอมถวายชีวิตเลยทีเดียว

มาตราฐานสายพันธุ์
ลักษณะโดยทั่วไป : มีขนเรียบ มีพละกำลังมากและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่หยุดนิ่งและคล่องแคล่วว่องไว
ศีรษะ : สั้น ลึก กะโหลกกว้าง กล้ามเนื้อแก้มเด่นชัด มีหน้าแงที่ชัดเจน หน้าผากสั้น จมูกสีดำ หากเป็นสีชมพูเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
ตา : นิยมสีดำ แต่อาจจะมีความสัมพันธ์กับสีขนก็ได้ ตากลมขนาดปานกลาง ตาสีจางหรือขอบตาสีชมพูเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นในกรณีที่ขนรอบขอบตาเป็นสีขาวขอบตาก็อาจเป็นสีชมพูได้ หูไม่ใหญ่ ใบหูตั้งครึ่งเดียว ถ้าใบหูตั้งหรือหลุมถือเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
ปาก : สบกันแน่น ฟันที่อยู่บนหรือล่างยื่นไปข้างใดข้างหนึ่งถือเป็นข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง
คอ : เส้นหลังและลำคอเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ เส้นหลังอยู่ในแนวระดับ ด้านหน้ากว้าง ส่วนนอกที่อยู่ระหว่างขาหน้าลึก กระดูกซี่โครงโค้งได้ที่ ซี่โครงที่อยู่ใกล้ชายกระเบนเหน็บค่อนข้างบอบบาง ไม่ตัดหาง หางที่ยาวหรือโค้งเกินไปเป็นข้อบกพร่อง
ส่วนหน้า : ขาเหยียดตรง มีกระดูกที่แข็งแรง ตั้งอยู่ค่อนข้างห่างจากกัน ไหล่ไม่หย่อนยาน ฝ่าเท้าไม่อ่อนแอ เท้าควรมีอุ้งเท้าที่หนา แข็งแรงและมีขนาดปานกลาง
ส่วนท้าย : ควรจะมีกล้ามเนื้อส้นเท้าที่ต่อกับเข่าควรโค้งได้ที่ นิ้วติ่งที่ขาหลังควรตัดทิ้ง
ขน : เรียบ สั้น แนบติดหลัง ไม่ควรตัดให้สั้น
สี : สีแดง สีลูกวัว สีขาว สีดำหรือสีน้ำเงินหรือสีใดสีหนึ่งที่กล่าวมาร่วมกับสีขาว อาจจะมีเฉดสีของสีลายเสือ หรือเฉดสีลายเสือร่วมกับสีขาว สีดำ สีน้ำตาลแดงและสีตับจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ประกวด
การย่างก้าว : อิสระ เต็มไปด้วยพละกำลัง คล่องแคล่วว่องไว ไม่ต้องออกแรงมาก หากมองจากทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ขาจะเคลื่อนไหวขนานกัน

เวสต์ไฮด์แลนด์ไวท์เทอเรียร์

สุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็ก ชอบความสนุกสนาน ร่างกายมีความสมดุล แข็งแรง มีการนำเสนอและอวดตัวเองได้ค่อนข้างดี ไม่หวงตัวมาก มีโครงสร้างร่างกายที่ดี แข็งแรง มีอกที่ลึกและซี่โครงดีมีหลังตรง และลำตัวด้านหลังเต็มไปด้วบพลังจากกล้ามเนื้อของขาร่วมกับการแสดงออกของ สุนัข ทำให้เพิ่มระดับความแข็งแรงและความคล่องแคล่ว ความยาวของขนประมาณ 2 นิ้ว เป็นขนสีขาวค่อนข้างแข็ง แต่ขนชั้นในนิ่ม ขนที่ยาวกว่าจะอยู่บริเวณด้านหลังและด้านข้าง ควรมีการเล็มขนให้สั้นในบริเวณคอและขนบริเวณไหล่ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือขนบริเวณรอบคอด้านบนต้องปล่อยไว้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวโดยแผ่เป็นรูปวงกลมรอบๆใบหน้า

มาตราฐานสายพันธุ์
ขนาด : ในตัวผู้ขนาดไม่ควรเกิน 11 นิ้ว เมื่อวัดจากตะโหนก ในตัวเมียไม่ควรเกิน 10 นิ้ว ถ้าผิดไปจากนี้เล็กน้อยยอมรับได้ สุนัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขขนาดกะทัดรัด ด้วยสัดส่วนและสมดุลที่ดี ลำตัวต้องระหว่างตะโหนกถึงหางจะสั้นกว่าความสูงเล็กน้อย มีขาที่สั้นแต่กระดูกเจริญดี แข็งแรง
ลักษณะที่ผิด มีความสูงมากกว่าหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ กระดูกใหญ่
ศีรษะ : มีลักษณะกลมเมื่อมองจากด้านหน้า มีสัดส่วนที่พอเหมาะกับร่างกาย แววตาที่อยากรู้อยากเห็น ชอบค้นคว้า ทะเล้น นัยน์ตาตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีขนาดปานกลาง รูปทรงอัลมอนด์ สีน้ำตาลเข้ม ตาค่อนข้างลึก ตาคมและมีแววเฉลียวฉลาด มองจากด้านล่างมีขนคิ้วที่หนา ขอบตาดำ
ลักษณะที่ผิด ขนาดเล็ก ตาโปน หรือสีซีด
หู : ใบหูเล็ก ตั้งตรงเสมอ ตั้งห่างกันอยู่ด้านบนของขอบนอกของกะโหลก ปลายใบหูค่อนข้างแหลม หูต้องไม่ตก ขนที่ใบหูต้องได้รับการตัดและเล็มอยู่เสมอ สุนัขต้องขยับใบหูได้อย่างอิสระ สุนัขผิวสีดำถือว่าปกติเป็นที่นิยม
ลักษณะที่ผิด ใบหูกลม กว้าง ใหญ่ หูตั้งชิดกัน ไม่ตั้งตรง หรือตั้งอยู่ต่ำเกินไป
กะโหลก : มีความกว้างกว่าด้านยาวเล็กน้อย แต่ไม่แบนตรงบริเวณส่วนบนสุด มียอดเล็กน้อยระหว่างใบหู แล้วลาดลงมาบริเวณนัยน์ตา มีจุดสต๊อบที่ชัดเจน มีคิ้วที่หนา
ลักษณะที่ผิด กะโหลกที่แคบหรือกว้างเกินไป
ปาก : ไม่แหลม สั้นกว่าส่วนกะโหลก เต็มไปด้วยพละกำลังแล้วลาดลงมาสู่ปลายจมูก ซึ่งใหญ่และสีดำ ขากรรไกรได้ระดับและแข็งแรง ริมฝีปากต้องเป็นสีดำ
ลักษณะที่ผิด ส่วนปากยาวกว่าส่วนกะโหลก จมูกมีสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำ
การ สบกันของฟัน ฟันต้องใหญ่เหมาะกับขนาดของสุนัข ฟันตัดอย่างน้อย 6 ซี่ ระหว่างฟันเคี้ยว ทั้งฟันบนและฟันล่าง การไม่มีฟันกรามเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ฟันตัดบนอาจอนยู่เหลือครบ เหลือฟันตัดล่างเล็กน้อยยอมรับได้
ลำตัว : คอเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อและลาดลงไปยังไหล่ได้ดี ความยาวของลำคอต้องได้สัดส่วนของสุนัข
ลักษณะที่ผิด ลำคอสั้นหรือยาวเกินไป
ส่วนบนของลำตัว : เรียบและได้ระดับทั้งขณะที่ยืนและวิ่งหรือเดิน
ลักษณะที่ผิด บั้นท้ายสูงเกินไปตัวบิด
ลำตัว : กะทัดรัดได้สัดส่วนดี อกลึกอย่างน้อยลงไปถึงข้อศอกสุนัข
ลักษณะที่ผิด อกตื้น แคบหรือแอ่น ยาวหรือสั้นเกินไป อกที่เป็นถังเบียร์
หาง : ต้องสั้น ได้สัดส่วน ลักษณะคล้ายแครอท ขณะยืนต้องสูงไม่เกินกะโหลก ปกคลุมไปด้วยขนที่แข็ง ต้องตรงมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หางชี้ชันแต่ต้องไม่แตะหลัง ต้องไม่ตัดหาง
ลักษณะที่ผิด ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำ หางยาวมากเกินไป ขนบางมาก หางม้วนขอดอยู่บนหลัง
ขาหลัง : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ทำมุมดี ขาไม่ถ่างมากนัก ขาบิดรงบริเวณข้อขาบนขาสั้นและขนานกัน เมื่อจากด้านท้าย
ลักษณะที่ผิด ขาบิดหรือขาถ่างมาก ไม่มีมุมระหว่างข้อ ข้อเท้ามีลักษณะคล้ายเท้าวัว
อุ้งเท้า : อุ้งเท้าหลังเล็กกว่าเท้าหน้า มีอุ้งเท้าหนา อาจมีการตัดนิ้วติ่
ขน : มีความสำคัญมาก ซึ่งนานๆครั้งจะพบว่าสุนัขมีขนที่สมบูรณ์แบบ ขนต้องเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ศรีษะได้รูปต้องมีการดึงขนทิ้ง เพื่อให้ได้ใบหน้าที่กลม ขนชั้นนอกแข็ง ชี้ตรง สีขาว มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ขณะที่ขนบริเวณและคอจะสั้นกว่า อาจมีการตัดแต่งขนเพื่อให้ได้รูปทรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ จะมีขนที่ยาวบริเวณตำแหน่ง และขา ขนที่ดีคือสีขาว แข็ง ตรง ขนชั้นในนิ่ม
สีขน : ต้องเป็นมีขาว ตามชื่อสุนัข
การก้าวย่าง : เป็นอิสระ เดินตรงและเลี้ยวกลับไปมาง่าย มีอิสระและพลังขับเคลื่อนที่ดี
อารมณ์ : ทะเล้น สดใส ร่าเริง เป็นมิตร กล้าหาญ เชื่อมั่นในตนเอง
ลักษณะที่ผิด ขี้ขลาด ขี้อาย หรือมีนิสัยนักเลง ชอบต่อสู้

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์

นัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นี้มีต้นกำเนิดในรัฐนิวฟาวด์แลนด์ประเทศแคนาดา โดยใช้ช่วยงานชาวประมงในการลากอวนเข้าฝั่ง ปีที่กำเนิดประมาณ ค.ศ. 1800 และต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุนัขต้นสายพันธุ์ลาบราดอร์ได้ถูกนำจากนิวฟาวด์แลนด์มาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสุนัขที่มีสีดำ ขนสั้นทั้งสิ้น แต่ด้วยความที่มีการเก็บค่าภาษีสุนัขที่แพงมาก ประกอบกับกฏระเบียบที่เข้มงวดของอังกฤษทำให้การนำเข้าสุนัขพันธุ์นี้ไปยัง อังกฤษต้องหยุดชะงักลง เมื่อความต้องการลดน้อยลงคนจึงเลิกเพาะ จนมีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่โดยผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขในกลุ่มรีทรี ฟเวอร์ในปี ค.ศ. 1903 จะเห็นได้ว่าเดิมสุนัขพันธุ์นี้มีแต่สีดำ แต่หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ในภายหลังทำให้เกิดสีเหลืองตามมา ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์ หรือแม้จะเป็นสีช็อคก็ได้รับความนิยม

ปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้นอกจาก จะใช้งานในการล่าสัตว์แล้ว ยังใช้ในการตรวจค้นหายาเสพติด ระเบิด และช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาอีกด้วย

มาตราฐานสายพันธุ์
ลักษณะทั่วไป : เป็นสุนัขที่มีโครงสร้างแข็งแรง ฝึกง่าย มีความกระตือรือร้น ขนาดใหญ่ ตัวผู้สูง 22.5-24.5 นิ้ว หนัก 60-75 ปอนด์ ตัวเมียสูง 21.5-23.5 นิ้ว น้ำหนัก 55-70 ปอนด์ (ส่วนสูงถึงหัวไหล่ และน้ำหนักโดยประมาณ 25-34 กิโลกรัม)
ศีรษะ : กะโหลกใหญ่กว้าง สันจมูกมี STOP ขอบบนของเบ้าตาเป็นสันนูนขึ้นเล็กน้อย
ตา : ตามีแววที่เป็นมิตร มีขนาดปานกลางไม่โปนหรือบุ๋มลึกเข้าไป มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ
จมูก : จมูกใหญ่และกว้าง มีสีดำสนิทหรือสีน้ำตาล (ขึ้อยู่กับสีขน)
ฟัน : ฟันต้องสบกันพอดี โดยฟันล่างสัมผัสด้านในของฟันบน
หู : หูจะปรกด้านข้างของหัว มีขนาดพอดี ถ้าดึงปลายหูมาด้านหน้าจะยาวระดับตา
ลำตัว : คอยาวเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเป็นลักษณะของสุนัขที่ใช้ในเกมกีฬา เส้นหลังตรง ลำตัวสั้น ช่วงอกกว้างหนา กระดูกซี่โครงค่อนข้างกลม
หาง : ส่วนโคนหางมีขนาดใหญ่ กลม หนา เรียวไปยังส่วนปลาย ไม่มีพู่หาง หางคล้ายหางของนาก
ขน : ขนสั้น เหยียดตรงและหนา มีขนสองชั้น ขนเรียบ มีสามสี สีดำสนิท สีน้ำตาลเข้ม หรือสีเหลืองหรือครีมจาง
ขา : ขาหน้าเหยียดตรงแข็งแรง อุ้งเท้าหนา นิ้วเท้าโค้งมาก ขาหลังแข็งแรงได้สัดส่วน
ลักษณะนิสัย : เป็นสุนัขที่ฉลาด ใจดี เป็นมิตร สุภาพ ไม่ก้าวร้าวต่อคนและสุนัขด้วยกัน อยู่รวมเป็นฝูงได้ ชอบว่ายน้ำ ตอบสนองรวดเร็ว สามารถฝึกความสามารถพิเศษอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ใช้เป็นสุนัขค้นหาผู้ประสบภัย ค้นหายาเสพติด ฯลฯ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ง่าย
สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ : เป็นสุนัขที่อ้วนได้ง่าย ควรพาไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ และได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

ร็อทไวเลอร์

ด้วยอกที่กว้างใหญ่ และร่างกายที่ปราศจากไขมันและมีแต่กล้ามเนื้อ ให้ความรู้สึกถึงพละกำลัง มันเป็นสุนัขที่อ่อนโยน ล่ำสัน แม้จะแลดูใหญ่โต แต่การย่างก้าวที่รวดเร็วทำให้วิ่งเร็วได้อย่างน่าทึ่ง สุนัขที่ทรหดอดทนจะคุ้นเคยกับการมีชีวิตอยู่นอกบ้าน และสามารถทนต่อทุกสภาพอากาศ

สุนัขพันธุ์ร็อทไวเลอร์เป็นสุนัขอารักขาที่น่าเกรงขาม เมื่อถูกฝึกให้ต่อสู้และโจมตี ก็จะทำอันตรายให้แก่ผู้บุกรุก แม้จะฝึกได้ไม่ยาก แต่ต้องมีเจ้านายที่มีวินัยเพื่อทำให้มันเคารพและเชื่อถือ ด้วยความเชื่อมั่นในพละกำลัง โดยธรรมชาติมันจะไม่ลังเลที่จะเผชิญหน้ากับภยันตรายที่จะเกิดขึ้น จะแสดงออกถึงความโดดเดี่ยวโดยธรรมชาติ แต่จะไม่เป็นดังกล่าวกับเจ้านายหรือผู้คนในครอบครัว

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ร็อทไวเลอร์ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้าประจำการในกองทัพบกของเยอรมัน และในปัจจุบันทำหน้าที่เป็นสุนัขอารักขาให้กับโรงงานและสถานที่ประกอบการ ในประเทศออสเตรเลียมันถูกใช้ในราชการของกรมตำรวจ
สุนัขพันธุ์ร็อทไวเลอร์เป็นสัตว์ที่มีความตื่นตัวและเฉลียวฉลาดอย่างน่าทึ่ง สามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ที่สอน การแสดงออกถึงความสงบเยือกเย็น ทำให้เห็นถึงความกล้าหาญและเสียสละ ด้วยเหตุนี้ทำให้ร็อทไวเลอร์เป็นสัตว์เลี้ยงของครอบครัว

มาตราฐานสายพันธุ์
ลักษณะทั่วไป : ร็อทไวเลอร์ที่อยู่ในอุดมคติควรมีขนาดปานกลาง ล่ำและมีพลัง ความกระทัดรัดและโครงสร้างที่บึกบึนเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความแข็งแรง สุนัขเพศผู้จะมีโครงสร้างที่ใหญ่กว่าสุนัขเพศเมีย โดยที่เพศเมียแม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ไม่ได้อ่อนแอกว่าแม้แต่น้อย
ศีรษะ : ความยาวปานกลาง มองด้านข้าง หน้าผากจะโค้งเล็กน้อย ขากรรไกรบนและล่างแข็งแรง หูขนาดปานกลาง ห้อยลง ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ในขณะที่ตื่นตัวหูจะอยู่ในระดับเดียวกับส่วนบนของกะโหลก จมูกกว้างและมีสีดำ ลำตัวกว้างและลึกลงไปจนถึงข้อศอก หลังเหยียดตรงและแข็งแรง ชายกระเบนเหน็บสั้น ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ หางตัดสั้นเกือบชิดลำตัว
ส่วนหน้า : ระยะจากจุดสูงสุดถึงข้อศอกมีระยะเท่ากับข้อศอกถึงพื้นดิน ขาได้พัฒนาอย่างแข็งแรง ประกอบด้วยกระดูกที่ใหญ่และเหยียดตรง ฝ่าเท้าแข็งแรง มีสปริงและเกือบจะตั้งฉากกับพื้นดิน กลมและกระทัดรัด โค้งกำลังดี ไม่บิดเข้าหรือบิดออก อุ้งเท้าหนาและแข็ง เล็บเท้าสั้น แข็งแรง และมีสีดำ นิ้วติ่งควรจะตัดทิ้ง
ขน : ขนชั้นนอกเหยียดตรง แน่นและหยาบ ยาวปานกลางและเรียบ ขนชั้นในจะอยู่บริเวณคอและตะโพก ส่วนขนจะหนาหรือบางขึ้นอยู่กับสภาพของอากาศ
สี : ต้องมีสีดำโดยเสมอ โดยอาจจะมีมาร์คกิ้งสีสนิมหรือสีมาฮ็อกกานี มาร์คกิ้งที่ว่าอาจจะอยู่เหนือตาแต่ละข้างบริเวณแก้ม เป็นแถบอยู่ด้านข้างของปากเป็นต้น

มินิเจอร์ พินเชอร์

ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเยอรมันนี เมื่อหลายร้อยปีก่อน มีลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์ DOBERMAN แต่มีขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจเรียกว่าโดเบอร์แมนแคระหรือนิยมเรียกสั้นๆว่า MINIPIN MINIPIN เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก มีความสง่างาม ท่วงท่าการเดินเหมือนม้าย่อง MINIPIN ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่จากนิสัยที่กล้าหาญและคล่องแคล่วปราดเปรียวจึงนิยมใช้เป็น สุนัขเฝ้ายามพันธุ์หนึ่ง

มาตราฐานสายพันธุ์
อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ตื่นตัวอยู่เสมอ กล้าหาญ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ชอบเห่า
ศีรษะ : มีขนาดสัมพันธ์กับขนาดของลำตัว หัวกะโหลกแบน หัวกะโหลกระหว่างหูจะเล็กสู่โคนปาก
หู : โคนอยู่ในระดับสูง หูอาจจะตัดและดามให้ตั้งหรือไม่ตัดหูก็ได้
ตา : ค่อนข้างโต เป็นรูปกลมรี ตาสีดำ ขอบตาสีดำ ยกเว้นสีช็อคโกแลต ขอบตาจะมีช็อคโกแลตด้วย
ดั้งจมูก : มีมุมหักเล็กน้อย
ปาก : มีลักษณะแข็งแรงมาก มีขนาดสัมพันธ์กับส่วนหัวสันปากจะขนานกับสันของหัวกะโหลก ริมฝีปากและแก้มมีขนาดเล็ก
จมูก : สีดำ ยกเว้นสุนัขที่มีสีช็อคโกแลต จมูกจะมีสีช็อคโกแลตด้วย
ฟัน : ขบแบบกรรไกร
ลำตัว : ค่อนข้างสั้นเพศผู้ความสูงของลำตัวมีขนาดเท่ากับความยาวของลำตัว ส่วนเพศเมียจะยาวกว่าเล็กน้อยเส้นหลังตรงอาจจะอยู่ในแนวระดับหรือเอียงสู่ บั้นท้ายก็ได้
คอ : มีขนาดสัมพันธ์กับขนาดของหัวและลำตัว คอมีลักษณะกลมประกอบด้วยกล้ามเนื้อ หนังคอตึง คอตั้งเชิดสง่า
ลำตัวส่วนหน้า : หัวไหล่ ลาดเอียง กระดูกหัวไหล่ทำมุมพอเหมาะเพื่อให้การเดินมีลักษณะคล้ายม้าย่อง
อก : ลึกจรดข้อศอก
ขาหน้า : กระดูกขามีขนาดปานกลาง แข็งแรง มองจากด้านหน้าขาหน้าทั้งสองตรงตั้งฉากกับพื้น ขาหน้าทั้งสองห่างกันพอเหมาะข้อเท้าหน้าแข็งแรงตั้งฉากกับพื้น เท้าเล็กคล้ายแมว เท้าหน้ากลม เล็บหนา นิ้วติ่งควรตัดออก
เอว : สั้น แข็งแรง
สะโพก : มีความสูงใกล้เคียงกับระดับเส้นหลัง
ขาหลัง : ท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ข้อเท้าแข็งแรงทำมุมพอประมาณข้อเท้าหลังสั้นทำมุมตั้งฉากกับพื้น เมื่อมองจากด้านหลัง ขาหลังตั้งตรง ขนานห่างกันพอเหมาะ เท้าหลังมีลักษณะเหมือนเท้าหน้า
หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง นิยมตัดหาง
ขน-สี : ขนสั้นแข็ง ขนสีแดงดำทั้งตัว ดำ-แดง,ช็อคโกแลต-แ
ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก
ส่วนสูง : ประมาณ 10-12.5 นิ้ว
การเดิน-วิ่ง : มีลักษณะคล้ายม้าย่อง ยกเท้าสูง มองจากด้านหน้า-หลัง ขาหน้า-หลัง ตรงไม่บิดงอ ขณะเดินคอเชิดหางตั้ง
ข้อบกพร่อง : สีผิดปกติ เตี้ยหรือสูงกว่ามาตรฐาน

มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์

สุนัขสายพันธุ์ มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ สุนัขที่มีเคราเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ผู้ที่กำลังมองหา มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ มาเลี้ยงแต่ยังไม่แน่ใจว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะเหมาะสมกับตัวคุณหรือไม่
เรา มีคำแนะนำดีๆของ คุณเมธี ลีลาบรรจง จาก M.mambo club ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยง มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ มากว่า 10 ปี มาฝากค่ะ


มารู้จัก M.mambo club
M.mambo club เป็นบ้านที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ “มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ” (Miniature Schnauzer) มากว่า 10 ปี เริ่มจากผมเป็นคนรักสัตว์และชอบเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่ยังเด็ก ก็คงเหมือนกับท่านอื่นๆที่มีสุนัขเป็นเพื่อนมาตลอด ในตอนแรกผมก็เลี้ยงสุนัขมาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งสุนัขพันธุ์ผสม สุนัขพันธุ์แท้ จนผมได้พบมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ในภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องหนึ่ง และได้จดจำชื่อของเจ้าตัวที่มีหนวดเอาไว้จากนั้นผมก็เริ่มศึกษาสุนัขสาย พันธุ์นี้อย่างจริงจัง

จนในที่สุด เมื่อสิบสามปีที่ผ่านมาผมก็ได้มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ตัวแรกมาเป็นเพื่อน และตั้งชื่อให้ว่า “mambo” ซึ่งกลายมาเป็นชื่อคอกสุนัขของผมมาจนถึงปัจจุบัน ผมได้เรียนรู้และศึกษาจากมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ที่เลี้ยงอยู่ ทำให้เห็นว่ามิ นิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ นั้นเป็นสุนัขที่มีขนาดกำลังดี สามารถเลี้ยงในสถานที่ไม่กว้างขวางได้ และยังเป็นสุนัขที่โดดเด่นด้วยบุคลิกหน้าตาที่มีเสน่ห์ และมีโครงสร้างที่สง่างามไม่แพ้สุนัขพันธุ์ใหญ่ มีท่วงท่าการเดินที่น่าประทับใจ และเป็นสุนัขที่ฉลาด แข็งแรง กล้าหาญ ซื่อสัตย์ อดทน แถมยังสามารถปรับตัวเข้ากับอากาศในบ้านเราได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ที่สำคัญมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ นั้นเป็นสุนัขที่ไม่มีกลิ่นสาบและไม่ผลัดขน แม้แต่ผู้ที่เป็นโรคภูมิก็สามารถเลี้ยงได้

5 ปีที่เราได้ศึกษาอย่างจริงจังในเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ รวมถึงการแต่งขนทั้งแบบประกวด และไม่ประกวด จนในที่สุด เราจึงตัดสินใจนำสุนัขเข้าประกวดเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.2000 จวบจนปัจจุบันสุนัขของ M.mambo club สามารถเก็บคะแนนจนได้เป็น TH.CH. (ไทยแลนด์แชมป์) แล้วกว่าสิบตัว

ตลอดเวลาที่ผ่านมา M.mambo club ได้มุ่งเน้นพัฒนาเพื่อให้ผู้ที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ได้ทราบว่ามินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ที่สวยงามและถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร รวมไปถึงไม่ทำให้ผู้ที่ให้ไว้วางใจนำสุนัขจากทางเราไปเลี้ยงผิดหวังเพราะ สุนัขเหล่านั้นได้เติบโตเป็นสุนัขที่สวยงามและสุขภาพแข็งแรง


อุปนิสัยและบุคลิกประจำสายพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
มิ นิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขที่ตื่นตัว กล้าหาญ ฉลาด เชื่อฟังคำสั่ง ฝึกง่าย เป็นมิตร ไม่ก้าวร้าว ชอบและมีความสุขที่จะอยู่ใกล้ชิดเจ้าของ ซนเมื่อยังเล็ก แต่เมื่อโตก็จะนิ่งขึ้น


ลักษณะเด่นของมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
มิ นิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขที่จัดอยู่ในกลุ่มเทอร์เรียร์ จึงเป็นสุนัขที่มีความแข็งแกร่งแม้จะไม่ใช่สุนัขพันธุ์ใหญ่ และมีความคล่องแคล่วว่องไวสูง เป็นสุนัขที่ไม่ดุร้าย สามารถเข้ากับสุนัขได้ทุกสายพันธุ์ ถึงแม้ขนาดไม่ใหญ่แต่ก็เป็นสุนัขเฝ้าบ้านได้ ในต่างประเทศสามารถฝึกให้เป็นสุนัขที่ดมหาสิ่งของได้ แม้กระทั่งการดมหาโรคมะเร็ง


การเลี้ยงดูมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
การ เลี้ยงดูไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่ให้อาหารที่มีคุณภาพสูง ก็อาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มวิตามินใดๆ และเนื่องจากมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขอดทนและแข็งแรงจึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก สำหรับการดูแลขน ควรแปรงขนอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง อาบน้ำอาทิตย์ละครั้ง ตัดขนทุกสามถึงสี่เดือน (ในกรณีที่ต้องการประกวดสุนัขต้องดูแลขนด้วยการถอน)
มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ นั้นจัดเป็นสุนัขน่าเลี้ยงมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเป็นสุนัขที่ไม่ผลัดขน ขนไม่ร่วง และเป็นสุนัขที่ไม่มีกลิ่นสาบ ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ก็สามารถเลี้ยงได้


ปัญหาที่พบบ่อยในมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
ถ้า เป็นมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ที่มีสายเลือดที่ถูกต้องและปราศจากโรคทางพันธุกรรมแล้ว ก็มักไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นสุนัขที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่ดี อาจมีปัญหาเรื่องผิวหนัง ปัญหาเกี่ยวกับตา และนิ่ว


สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษสำหรับมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
สุนัข ทุกๆ สายพันธุ์ในบ้านเรานั้นควรระวังเรื่องยุงเป็นพิเศษ ไม่ควรให้สุนัขนอนในบริเวณที่มียุงชุม ควรจะมีมุ้งลวด เพราะยุงจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องหนอนหัวใจ สุนัขไม่ว่าสายพันธุ์อะไรก็จะเจ็บป่วยและมีชีวิตที่ไม่ยืนยาว


กิจกรรมโปรดของมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์
มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขขนาดเล็กที่กระตือรือร้น ตื่นตัวและชอบมีกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรที่เราจัดให้


มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์เหมาะกับผู้เลี้ยงที่มีบุคลิกแบบใด
มิ นิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขขนาดเล็ก เป็นเทอร์เรียร์ที่พร้อมที่จะตื่นตัวในยามที่เรามีกิจกรรม และพร้อมจะนิ่งเฉยในเวลาปกติ (ในสุนัขเต็มวัย) จึงทำให้เหมาะกับทุกคน ทุกวัย และอาจเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับผู้ที่พร้อมจะมีกิจกรรมตลอดเวลา


ความนิยมเลี้ยงมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์เยอะขึ้น แต่มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ที่มีคุณภาพที่ดีสวยงามนั้นยังมีน้อยมาก
สิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนที่จะตัดสินใจเป็นเจ้าของมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์


อยากฝากทุกท่านที่กำลังจะตัดสินใจเป็นเจ้าของสุนัขไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม
อันดับแรก ควรจะเลือกสุนัขที่เข้ากับความเป็นอยู่ และนิสัยของเรามากกว่าที่จะหาสุนัขซึ่งเป็นที่นิยม หรือสุนัขที่หน้าตาถูกใจ
เพราะ สุนัขแต่ละสายพันธุ์มีนิสัยแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านเป็นคนนิ่งๆ ไม่ค่อยชอบทำกิจกรรมอะไร แต่อยากได้ แจ็ก รัสเซลล์ เทอร์เรียร์ มาเลี้ยงเพราะเห็นในโฆษณา หรือภาพยนต์แล้วถูกใจ ก็อาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดก็ได้ เพราะ แจ็ก รัสเซลล์ เทอร์เรียร์ นั้นเป็นสุนัขที่มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา หรือถ้าท่านชอบสุนัขประเภทหน้าสั้น แต่กลับเป็นผู้ที่ต้องการออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมกับสุนัขอยู่ตลอดเวลา ท่านก็อาจกำลังเลือกผิดก็ได้


อันดับสอง เมื่อเราได้สุนัขที่ตรงตามความต้องการของเราและเหมาะกับตัวตนของเราแล้ว เราควรมองเรื่องคุณภาพตามมา คุณภาพของสุนัขนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากถึงมากที่สุด อย่ามองสุนัขเพียงแค่ว่ามีเพ็ดดิกรี เพราะความเข้าใจเรื่องเพ็ดดิกรีในบ้านเรานั้นยังมีน้อยมาก มักเข้าใจว่าสุนัขที่มีเพ็ดดิกรีเป็นสุนัขพันธุ์แท้ และเป็นสุนัขที่ดี แต่ความจริงแล้วเพ็ดดิกรีนั้นจะสำคัญอย่างยิ่งต่อเมื่อเรารู้จักสายเลือดของ สุนัขที่เราต้องการซื้อ เราไม่ควรตัดสินใจสุนัขเพียงราคาหรือสถานที่ใกล้ ไกล

วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกคุณภาพของสุนัขคือ ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหนเราต้องไปดูให้ถึงที่ ทุกที่ เพราะนอกจากจะได้เห็นสุนัขและได้เห็นการเลี้ยงดูของสถานที่นั้นๆ แล้ว ยังได้สอบถามว่าผู้เพาะพันธุ์หรือผู้ขายนั้นมีความรู้และความชำนาญมากน้อย เพียงใด สามารถแก้ปัญหาให้กับสุนัขของเราเมื่อรับไปแล้วหรือไม่ และอย่าตัดสินใจเพียงราคา

จริงอยู่ที่ราคาอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ แต่โปรดอย่าลืมว่าสุนัขหนึ่งตัวนั้นอายุยืนได้สิบถึงสิบห้าปี ถ้าเราได้สุนัขที่ถูกใจอาจเป็นการซื้อครั้งเดียวจบ แต่ถ้าไม่ถูกใจอาจต้องเสียเงินก้อนต่อๆ ไปตามมา และสุนัขที่ดีนั้นต้องเป็นสุนัขที่ปราศจากโรคทางพันธุกรรม หรือมีโรคทางพันธุกรรมที่น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้


ราคาของมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์แบ่งออกเป็นกี่ระดับ
การขายสุนัขนั้นอยู่ที่ความพอใจของผู้ขายและผู้ซื้อมากกว่า สุนัขเป็นสินค้าที่มีชีวิต ดังนั้นถ้าสุนัขเป็นสุนัขที่ดี อาจไม่ได้ตั้งราคาตามตลาดและความนิยมในช่วงเวลานั้นๆ แต่ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพและการเลี้ยงดูมากกว่า อย่างไรก็ดีสุนัขทุกสายพันธุ์ในบ้านเรานั้นมีตั้งแต่ไม่กี่พันบาทจนถึงหลัก แสนบาท



มาตรฐานสายพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์

น้ำหนัก : ประมาณ 14 ปอนด์

ส่วนสูง : 12-14 นิ้ว

ขน : ขนแข็ง มีขน 2 ชั้น

สี : สีดำ, สีดำสลับขาว และสีเกลือพริกไทย

จัดอยู่ในกลุ่ม : Terrier

หัว : ศีรษะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กะโหลกแบนค่อนข้างยาว หนังศีรษะตึงปราศจากรอยย่น

หู : ลักษณะเป็นตัว V นิยมตัดหูและดามให้ตั้ง

ตา : ขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ตาลึก เป็นรูปกลมรี

ปาก : เส้นที่ลากจากสันปากจะขนานกับเส้นที่ลากจากหัวกะโหลก ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของกะโหลก มีเคราหนา

จมูก : มีมุมหักเล็กน้อย

ฟัน : สบกันแบบกรรไกร

ลำตัว : เป็นสี่เหลี่ยม ค่อนข้างสั้นและหนา กำยำล่ำสัน เส้นหลังตรงลาดเอียงจากหัวไหล่จรดโคนหาง ส่วนท้ายของลำตัวจะเตี้ยกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย

คอ : มีลักษณะโค้ง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ หนังคอตึง

อก : กว้าง ลึกจรดศอก

ขา : ขาหน้าตั้งตรง ขาหลังยาวแข็งแกร่ง ห่างกันพอประมาณ กระดูกใหญ่ ข้อเท้าแข็งแรง เท้าหนามีลักษณะคล้ายเท้าแมว นิ้วเท้าชิด

หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง นิยมตัดหางให้สั้น

ขนและสีขน : หยาบแข็งและหนา เช่นเดียวกับหนวดและเครา สีขนที่นิยมมี 3 สีคือ Salt & Pepper (สีเกลือพริกไทย),Black & Silver (ดำเงิน หรือดำสลับขาว) และ Black (สีดำ) ส่วนสีขาวยังไม่เป็นที่ยอมรับในหลายๆประเทศ

ขนาด : ตั้งแต่ 12 นิ้ว และไม่เกิน 14 นิ้ว

การเดินและวิ่ง : คล่องแคล่ว มั่นคงและสง่างาม มองจากด้านหน้าหรือด้านหลังจะเห็นการเคลื่อนที่ของขา เป็นเส้นตรง

ลักษณะที่ถือว่าบกพร่อง : ขนนุ่มสลวยทั้งตัว หัวลีบเล็ก สีขาวทั้งตัว

นิสัย : คล่องแคล่วว่องไว กล้าหาญ อดทนและเป็นนักสู้ ไม่มีลักษณะบ่งบอกว่าเป็นสุนัขขนาดเล็กเลย เชื่อฟังคำสั่ง เป็นมิตร สามารถปรับตัวเข้ากับสัตว์อื่นๆได้ เช่น แมว กระต่าย นก (แต่ต้องผ่านการฝึกฝน)

เหมาะสม : สำหรับเจ้าของที่ขี้เหงา เพราะสุนัขพันธุ์นี้รักเจ้าของ และไม่ค่อยจะยอมให้คนในครอบครัวห่างสายตาด้วยการมานั่งหรือนอนเฝ้าอยู่ข้าง กาย

ไม่เหมาะสม : สำหรับคนที่ลังเลใจ ตัดสินใจไม่เด็ดขาด เพราะสุนัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขที่ปราดเปรียวและชอบทำอะไรรวดเร็ว

ข้อดีของการเลี้ยง : ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ก็สามารถเลี้ยงได้ เพราะไม่ผลัดขน และเป็นสุนัขที่ไม่มีกลิ่นสาบ

ข้อเสียของการเลี้ยง : เป็นสุนัขที่หวงแหนเจ้านาย จนบางครั้งดูเกินเหตุไป

ช่วงชีวิต : ประมาณ 14-16 ปี

หาก คุณมีความสนใจ และต้องการ สุนัขสายพันธุ์ มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ M.mambo club เป็นอีกแห่งหนึ่งที่สามารถให้คำแนะนำกับคุณได้ ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา M.mambo club ไม่ได้ขายแค่สุนัข และจบไปอย่างเดียว ที่นี่ยังมีการวางแผนเรื่องการผสมพันธุ์ในอนาคต (การจับคู่ฟรี) และสอนทำขนฟรีทั้งแบบประกวด และไม่ประกวด รวมทั้งสนับสนุนและแนะนำการวางแผนเรื่องการประกวด และยังเปิดรับแต่งขนสำหรับผู้ที่สนใจด้วย สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมและติดต่อที่ คุณเมธี เบอร์โทรศัพท์ 081-9238766 หรือคลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mmamboclub1.com


ข้อมูลจาก คุณเมธี ลีลาบรรจง M.mambo club

ข้อมูลเพิ่มเติมจากนิตยสาร DOG IN THE BOOK

มอลทีส

สุนัข MALTESE มีถิ่นกำเนิดในประเทศ MALTA (แถบทะเลเมอร์ดิเตอริเนียน) มานานเกือบ 2800 ปีแล้ว นักเขียนหรือนักวาดภาพในสมัยโบราณมักนิยมเขียนเรื่องราวหรือภาพของสุนัข พันธุ์นี้อยู่เนืองๆ และเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้คนสมัยนั้น และจนกษัตริย์อียิปต์โบราณและ QUEEN VICTORIA ด้วย MALTESE เป็นสุนัขที่มีขนมีขาวสะอาดมีสุขภาพดี คล้ายสุนัขใหญ่กลุ่ม SPANIEL ในปี ค.ศ. 1607 มีการซื้อขายพันธุ์ MALTESE ตัวหนึ่งสูงถึง 2000 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 50000 บาท

มาตราฐานสายพันธุ์
อุปนิสัย : เป็นเพื่อนที่ดีของมนุษย์ สุภาพ กล้าหาญ ไม่ขลาดกลัว
ศีรษะ : มีความยาวปานกลาง หัวกะโหลกลักษณะกลม
หู : โคนหูอยู่ในระดับต่ำ หูตก บริเวณหูมีขนหนาและยาว
ตา : สีดำ ลักษณะกลม ขอบตาดำ ทำให้ดูตื่นตัวอยู่เสมอ
ดั้งจมูก : มีมุมหักพอประมาณ
ปาก : มีความยาวปานกลาง ขนาดของโคนปากเรียวสู่ปลายจมูกเล็กน้อย
จมูก : สีดำ
ฟัน : ขาว แข็งแรง ขบแบบเสมอหรือขบแบบกรรไกร
ลำตัว : ค่อนข้างสั้น ความยาวของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความสูงของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น
คอ : มีความยาวพอเหมาะ
อก : ค่อนข้างลึก
ขาหน้า : มีกระดูกใหญ่พอเหมาะ ขาหน้าตั้งตรง ขาหน้ามีขนยาวเท้ามีขนาดเล็กค่อนข้างกลม นิยมตัดขนบริเวณเท้าเพื่อไม่ให้รุ่มร่าม
เอว : แข็งแรง เอวกิ่วเล็กน้อย
ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่พอเหมาะ ข้อเท้าแข็งแรงทำมุมพอประมาณเท้ามีขนาดเล็ก เท้ากลม นิยมตัดบริเวณเท้า
หาง : ค่อนข้างยาวหางมีขนยาว หางพาดอยู่บนหลัง
ขน-สี : มีขนชั้นเดียว ขนยาวเหยียดตรง ขนฟู ขนไม่ตั้ง บริเวณหัวยาวอาจมัดเป็นจุก หรือหวีปัดลงก็ได้มีสีขาวทั้งตัว
ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก
น้ำหนัก : ประมาณ 4-6 ปอนด์
การเดิน-วิ่ง : มีความสง่างาม วิ่งเร็ว ขณะวิ่งขาหลังเป็นเส้นตรง ไม่บิดงอ
ข้อบกพร่อง : ขนหยิกงอ เท้าบิด

ฟเร็นช บลูด็อก

ประมาณปี 1860 มีสุนัข Bulldog มากมายในประเทศอังกฤษและสุนัขชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงเท่าไร สุนัขเหล่านี้บางส่วนถูกส่งเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส และได้ผสมกับสุนัขพันธุ์ต่างๆในฝรั่งเศส จนในที่สุดเกิดเป็นสุนัขพันธุ์ French Bulldog ขึ้นและสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงในประเทศฝรั่งเศสโดยเฉพาะสุภาพสตรี

ปี 1880 ปารีส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของชาวอเมริกาผู้มั่งคั่ง และเมื่อมีข่าวสุนัขพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ต่างก็ต้องการอยากจะไปดูด้วยตาตนเอง สิ่งที่พวกเขาได้พบคือสุนัขพันธุ์ French Bulldog สุนัขพันธุ์นี้มาจากอังกฤษ ความจริงอเมริกามีอิทธิพลในการเลือกเพาะพันธุ์นี้ขึ้นมาให้มีลักษณะอย่าง French Bulldog ในปัจจุบันได้รับการยอมรับที่สามารถให้พัฒนาให้มีหัวอย่างมัสตีฟ ขากรรไกรเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำตัวกะทัดรัดและที่สำคัญคือที่ใบหูเหมือนค้างคาวอย่างที่เราเห็นอยู่ทุก วันนี้

French Bulldog เป็นสุนัขพันธุ์เล็กน้ำหนักไม่เกิน 28 ปอนด์ หน้าเหมือน Bulldog ทั่วไป ริมฝีปากหนา จมูกหักสั้นเข้าไปด้านใน นัยน์ตาสดใส ลักษณะพิเศษคือใบหูเหมือนค้างคาว ซึ่งไม่มีสุนัขพันธุ์ใดในโลกนี้เหมือนเขาจะเห่าและขู่บ้าง แต่มีความเป็นมิตรชอบทำตัวเป็นเจ้าของบ้านมากกว่าเป็นผู้อารักขา พร้อมที่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าเสมอไม่ว่าจะเป็นคนแก่ เด็ก แมว และสัตว์อื่นๆ มีนิสัยขี้เล่น ร่าเริงรักเด็กขนาดใกล้เคียงกับ Pug และ Boston Terrier

มาตราฐานสายพันธุ์
อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ชอบเล่น ตื่นตัวอยู่เสมอ
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่คล้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หัวกะโหลกระหว่างหูค่อนข้างแบน
หน้าผาก : มีลักษณะโค้งเล็กน้อย แก้มมีกล้ามเน้อชัดเจน
หู : มีลักษณะเหมือนหูค้างคาว โคนหูใหญ่ ค่อนข้างยาว ปลายหูกลม โคนหูอยู่ค่อนข้างสูง
ตา : มีสีเข้ม ขนาดปานกลาง ตาค่อนข้างกลม ตาค่อนข้างห่างจากหู ตาไม่ลึกหรือโปน
ดั้งจมูก : มีมุมหักชัดเจนทำให้มีหลุมลึก
ปาก : มีลักษณะกว้างและลึก มุมปากเหนียงและค่อนข้างหนา กรามแข็งแรงขณะหุบปากไม่เห็นฟันยื่นออกมา
จมูก : มีลักษณะสั้น รูจมูกกว้าง จมูกมีสีดำ หรือสีจาง ขึ้นอยู่กับสีของขน
ฟัน : แข็งแรง ขบแบบ UNDERSHOT
ลำตัว : มีลักษณะสั้นกลม เส้นหลังโค้ง บริเวณหัวไหล่ค่อนข้างกว้างบริเวณเอวเล็ก
คอ : มีลักษณะกลมหนา หนังคอบริเวณลูกกระเดือก ค่อนข้างย่น
อก : กว้างและลึก
ขาหน้า : มีกระดูกใหญ่ ขาหน้าค่อนข้าสั้น ขาหน้าประกอบด้วยกล้ามเนื้อขา ขาหน้าตั้งตรงขาหน้าทั้งสองห่างกันพอสมควร เท้าหน้าขนาดพอเหมาะนิ้วเท้าชิด
ขาหลัง : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขาหลังตรง ห่างกันพอประมาณข้อเท้าหลังอยู่ในระดับต่ำ เท้าหลังมีขนาดพอเหมาะนิ้วเท้าชิด เท้าหลังใหญ่กว่าเท้าหน้าเล็กน้อย
หาง : โคนอยู่ในระดับต่ำ หางตรงหรือเป็นเกลียวได้ หางค่อนข้างสั้น
ขน-สี : ขนสั้นนุ่ม ขนมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว น้ำตาลขาว หนังค่อนข้างย่น
น้ำหนัก : ชนิดเล็กมีน้ำหนักน้อยกว่า 22 ปอนด์ ชนิดใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 22-28 ปอนด์
ข้อบกพร่อง : หูไม่เหมือนค้างคาว สีดำ-ขาว สีดำ-น้ำตาล ตามีสีไม่เหมือนกัน น้ำหนักเกิน 22 ปอนด์

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บาเซ็นจิ

สุนัขพันธุ์ BASENJI ได้สมญานามว่า "สุนัขที่ไม่เคยเห่า" เป็นสุนัขเก่าแก่พันธุ์หนึ่ง มีต้นกำเนิดแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แต่เมื่ออาณาจักรอียิปต์ล่มสลายสุนัขพันธุ์นี้ก็พลอยลดจำนวนลงไปด้วย สุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็กดูขายาว มีขนาดใกล้เคียงกับ FOX TERRIER วิ่งเร็วชอบจับหนู รูปร่างค่อนข้างคล้ายกวางตัวเล็กๆ


มาตราฐานสายพันธุ์ 
อุปนิสัย : ฉลาด ปราดเปรียว ไม่ชอบเห่า เป็นเพื่อนที่ดีของคน
ส่วนหัว : ส่วนหัวแบนเป็นรูปคล้ายลิ่ม หัวกะโหลกบริเวณหูจะใหญ่แล้วเรียวลงจรดตา หน้าผากตึงไม่มีรอยย่น
หู : เล็ก ตั้งตรง ใบหูมีขนนุ่ม โคนหูอยู่ในระดับสูง
ตา : สีเข้มเป็นรูปวงรี
ปาก : ค่อนข้างโค้งมน โคนปากใหญ่ แล้วเรียวลงสู่ปลายจมูก
จมูก : สีดำสนิท
ฟัน : ขบแบบกรรไกร
ลำตัว : สั้น เส้นหลังตรงแข็งแรง ขนานกับพื้น ความสูงของลำตัวและความยาวของลำตัว มีขนาดใกล้เคียงกัน
คอ : ค่อนข้างยาว
อก : ลึก มีความกว้างปานกลาง ซี่โครงกางพอเหมาะ อกลึกจรดข้อศอก
ขาหน้า : ตรงแข็งแรง กระดูกข้อเท้าหน้ามีความยาวพอเหมาะ มองจากด้านหน้าเท้าทั้งสองตั้งตรงขนานกัน นิ้วเท้าเล็กชิดกัน
ลำตัวส่วนท้าย ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
ขาหลัง : มองจากด้านหลัง ขาหลังทั้งสองข้างตั้งตรงขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ
หาง : ตั้งม้วนเล็กน้อย จะม้วนด้านซ้ายหรือขวาก็ได้
ขน-สี : ขนนุ่มสั้นมันวาว ขนมีหลายสี เช่น น้ำตาล หรือน้ำตาลแดง หรือดำ อาจจะมีสีขาวที่อก, เท้า, ปลายหางหรือบริเวณลำคอก็ได้
ขนาด : มีขนาดค่อนข้างเล็ก
น้ำหนัก : เพศเมียประมาณ 22 ปอนด์ เพศผู้ประมาณ 24 ปอนด์
ส่วนสูง : เพศเมียสูงประมาณ 16 นิ้ว เพศผู้สูงประมาณ 17 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : หัวกลมเป็นรูปโดม, ตากลม, โคนหูอยู่ในระดับต่ำ, ฟันขบผิดปกติ, อกกว้างเกินไป, กระดูกใหญ่เกินไป, ขนสีครีมหรือสีจางมาก 

ปักกิ่ง

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุนัขส่วนมากเมื่อเขียนถึงพันธุ์ปักกิ่งก็จะเริ่มต้นว่า พันธุ์ปักกิ่งเกิดขึ้นมานานแล้วเป็นเวลาหนึ่งหรือสองพันปีขึ้นไป สุนัขสายพันธุ์ปักกิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นจะคล้ายคลึงกับสุนัขขนาดเล็กของจีนยุตโบราณ

ย้อนเวลากลับไป มีหลักฐานว่าคนจีนเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กมาตั้งแต่ 1500 ปีก่อนแล้ว ในปี ค.ศ. 565 พระเจ้าจักรพรรดิประเทศจีนทรงพระราชทานนามสุนัขของพระองค์ว่า "ชิ ซู" หรือ "เสือแดง" เป็นสุนัขเปอร์เซียน เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงม้า "เสือแดง" จะขึ้นไปนั่งบนตะกร้าที่ผูกไว้ด้านหน้าอานม้า ในปี ค.ศ. 620 มีบันทึกว่าสุนัขตัวผู้ตัวเมียคู่หนึ่ง สูงประมาณ 6 นิ้ว ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายจักรพรรดิเกาสู บันทึกอ้างว่าสุนัขคู่นี้มีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถนำทางม้าในเวลากลางคืน

หลักฐานทำนองนี้สืบเนื่องกันมากจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อราชวงศ์ของกุบไลข่านถูกพิชิตลง บันทึกหลักฐานต่างๆ ก็หมดสิ้นลงไปด้วย เป็นเวลาสืบเนื่อง 33 ปี เรารู้แต่ว่าคนจีนหันมานิยมเลี้ยงแมวแทนสุนัข โดยเฉพาะในสังคมชั้นสูง ธรรมเนียมการเลี้ยงสุนัขขนาดเล็กของจีนมาพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง 1850 ในช่วงเวลานั้นมีสุนัขอยู่หลายพันธุ์ในนครปักกิ่ง พวกขันที 4000 คน ยังมีหน้าที่เฉพาะในการผลิตเพาะสุนัขแบบที่เราเรียกว่า "พันธุ์ปักกิ่ง" ด้วย พระนางซูสีไทเฮาทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงกิจกรรมนี้ พระนางยังทรงกระตุ้นให้สร้างรูปแบบพันธุ์คล้ายกับ "สุนัขสิงห์โต" แบบเก่า กิจกรรมข้อหนึ่งก็คือจัดร่างกฎเกณฑ์แบบเฉพาะของสุนัข ข้อความที่นำมาเสนอแบบย่อๆ มีดังนี้ "จงให้มันสวมคลุมขนแห่งความสง่ารอบๆ คอ ขาคู่หน้าของมันจะต้องโค้ง เพื่อไม่ให้มันเดินออกไปไกลๆ หรือเดินออกนอกเขตพระราชฐาน จงสอนมันให้ละเว้นการเตร็ดเตร่ไปมา ให้มันมีขนเหมือนสิงห์โต เหมาะที่จะอุ้มไว้ในชายแขนเสื้อคลุม …" กฤษฎีกานี้ยังกำหนดต่อไปถึงอาหารของสุนัข เช่น "หูฉลาม" "ตับนก" และ "ส่วนอกนกกระทา" เราอาจจะไม่ถือเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังนัก อย่างไรก็ตามหลักฐานนี้ทำให้เรารู้ว่ามีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งเกิดขึ้นมาแล้วและมักจะพบสุนัขพันธุ์นี้ในพระราชวังเท่านั้น ในสมัยก่อนผู้ใดขโมยสุนัขนี้จะได้รับโทษถึงประหารชีวิต พระราชวังแห่งปักกิ่งถูกชาวต่างชาติบุกเข้ายึดครองเมื่อปี ค.ศ. 1860 ก่อนการสูญเสียมีคำสั่งจากพระราชวงศ์ว่าให้สุนัขตายไปเสียดีกว่าจะให้ตกอยู่ในมือของคนต่างชาติ เจ้าฟ้าหญิงพระองค์หนึ่งไม่ยอมเสด็จหนี ทั้งไม่ยอมให้ทหารดรากูนเข้าจับกุมด้วย ทรงปลงพระชนม์ชีพของพระองค์เอง แต่ไม่ได้ทำลายสุนัขที่เลี้ยงไว้ สุนัขปักกิ่งสี่ตัวถูกทหารยึดได้ ตัวหนึ่งถูกส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระราชินีวิคตอเรีย อีก 3 ตัวที่เหลือยุคแห่งริชมอนด์เลี้ยงดูไว้ ต่อมาก็มีผู้นำตัวอื่นๆ เข้าสู่อังกฤษอีก ตัวหนึ่งได้นำถวายควีนวิคตอเรีย ส่วนอีก 3 ตัวมอบให้ LORD HAY และได้แพร่พันธุ์กระจายไปทั่วไปโลก ซึ่งก็หมายถึงการเลี้ยงดูเพาะสร้างสายพันธุ์ที่ตามมา
เรื่องราวเหล่านี้อ่านแล้วเหมือนนิยาย แต่ก็เป็นเรื่องจริง เรื่องคล้ายนิยายและความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ซึ่งเป็นของสูงนี้ ทำให้พันธุ์ปักกิ่งได้รับความนิยมอย่างใหญ่หลวงตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น LION DOG SUN DOG หรือ STEEVE DOG ปักกิ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กที่น่าสนใจที่สุดและมีบุคลิกลักษณะที่ผิดธรรมดาที่สุด มันมีลักษณะผสมกันประหลาดๆ ของความขบขันและความทรนง เป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ด้วยทั้งยังมีความหัวแข็งดื้อรั้นอย่างน่าทึ่ง บางครั้งก็ไม่ยอมรับคำสั่งโดยเด็ดขาด พวกมันชอบเก้าอี้นวมบุแพรไหม แต่ถ้ามีอารมณ์สนุกแล้วก็อกไปวิ่งไล่จับกระต่ายเลย ลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ทำให้สุนัขพันธุ์นี้พุ่งขึ้นไปสู่ระดับสุดยอด พันธุ์ปักกิ่งไม่เคยหลุดออกจากยี่สิบอันดับแรกสุนัขยอดนิยมของอังกฤษ (Top Twenty) และยังคงติดอันดับสูงมาจนทุกวันนี้ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้นทั้งๆ ที่พันธุ์ปักกิ่งเพิ่งเข้าไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ก็เป็นสุนัขระดับยอดนิยมแล้ว

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่ แข็งแรง กว้างและแบน ในช่วงระหว่างหูทั้งสองข้างจะต้องไม่มีโค้งนูนเป็นโดม มีระยะระหว่างตาทั้งสองข้างกว้า
จมูก : จมูกสีดำ กว้าง สั้นและแบน
ตา : ตาโต สีเข้ม กลมนูนเด่นประกาย
สต๊อป : หรือรอยต่อระหว่างสันจมูกกับหน้าผากจะต้องลึกมาก
หู : มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ไม่อยู่สูงเกินไป ยาวพอสมควร ปลายหูอยู่ระดับต่ำกว่าช่วงปากเล็กน้อย ห้อยตกลงแนบแก้ม ปกคลุมด้วยขนที่ยาวมาก
ช่วงปาก : สั้นมาก กว้าง มีรอยย่น ไม่ยื่นแหลม แข็งแรง ขากรรไกรล่างกว้าง ฟันไม่ยื่นให้เห็นนอกริมฝีปาก
รูปร่างของลำตัว : ลำตัวช่วงหน้าใหญ่หนักแข็งแรง หน้าอกกว้าง ซี่โครงโค้งกว้างค่อยๆ เรียวลงทางด้านหลัง รูปร่างเหมือนสิงโต หลังเรียบขนานกับพื้น ลำตัวสั้นยกเว้นตัวเมียที่อาจยาวกว่าตัวผู้ได้เล็กน้อย
ขา : ขาสั้น ขาหน้ามีกระดูกช่วงบนโค้ง ไหล่แข็งแรง ขาหลังมีกระดูกที่เล็กบางกว่าเล็กน้อย แต่แข็งแรงและได้สัดส่วน
เท้า : เท้าแบน ปลายเท้าเฉียงออก ไม่มีลักษณะกลม จะต้องยืนได้มั่นคงบนเท้าไม่ใช่ยืนบนข้อเท้า
ลักษณะท่าทาง : ไม่กลัวใคร เป็นอิสระ แข็งแรง ลักษณะการเดินจะมีการโยกตัวซ้ายขวาอย่างนุ่มนวล(ROLL)
ขน : ขนยาว มีขนชั้นในที่หนาแน่น ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง เรียบไม่หยิกเป็นคลื่น ค่อนข้างหยาบแต่นุ่ม ขนบริเวณสะโพก ขา หางและหูจะต้องยาวและฟูมาก
ขนแผงคอ : ยาวและฟูมาก กว้างเกินหัวไหล่ ปกคลุมตลอดรอบลำคอ
สี : มีได้ทุกสีคือ แดง ฟอน (สีโทนน้ำตาล) ดำ ดำกับแทน (BLACK AND TAN) เซเบิล (ขนสีดำที่ปกคลุมสีของลำตัวที่อ่อนกว่า) บรินเดิ้ล (ขนสีเข้มและสีอ่อนขึ้นแซมกันทั่วตัว) ขาวและขน 2 สี (PATICOLOR) คือ จะต้องมีสี 2 สีที่แยกจากกันอย่างชัดเจนกระจายอยู่ทั่วตัว ไม่มีสีใดสีหนึ่ง เป็นบริเวณกว้างอยู่สีเดียว จะต้องมีสีขาวปรากฎบริเวณหลัง สำหรับสุนัขที่มีสีเดียว แต่มีเท้ากับหน้าอกยาว ไม่นับเป็นประเภทขนสองสี
หาง : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง วางพาดไปบนหลัง ปลายหางตกลงด้านใดด้านหนึ่ง มีขนยาวตรงแน่นและฟูมาก
ขนาด : เนื่องจากปักกิ่งเป็นสุนัขตุ๊กตา (TOY) จึงนิยมให้มีขนาดเล็ก โดยจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง น้ำหนักจะต้องไม่เกิน 14 ปอนด์
การแสดงออก : จะต้องแสดงออกถึงต้นกำเนิดเดิมในประเทศจีน คือ มีความกล้าหาญ เป็นตัวของตัวเอง เหมือนสิงโตที่มีขนาดเล็ก มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่กลัวใคร พร้อมที่จะต่อสู้ป้องกันตัวแต่ไม่ดุร้าย ไม่ควรมีลักษณะอ่อนหวานหรือบอบบาง
ข้อบกพร่อง : ที่จะถูกหักคะแนน ในการประกวด ลิ้นยื่นให้เห็นนอกปาก ตาเจ็บอักเสบ ขากรรไกรบนยื่นกว่าขากรรไกรล่าง (OVERSHOT) และปากเบี้ยว (WRY MOUTH)
ที่จะถูกตัดสิทธ ิ์ในการประกวด จมูกสีชมพูหรือสีน้ำตาล (DUDLEY NOSE) น้ำหนักเกินกว่า 14 ปอนด์ 

บลูเทอร์เรีย

เป็นนักสู้ที่อ่อนหวานโดยธรรมชาติ เป็นนักสู้ที่ใจถึง เป็นสุนัขอารักขาที่กระฉับกระเฉง รักครอบครัวและอาณาเขตของเขาโดยสัญชาติญาณ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามอพาร์ทเม้นท์ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดจะนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้เพื่อช่วยอารักขา เนื่องจากเป็นสุนัขอารักขาที่ดี แล้วยังเป็นสุนัขที่ประหยัดอีกด้วย บางครั้งอาจจะดื้อรั้นไปบ้าง แต่ก็เป็นสุนัขที่เข้ากับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เขาอยู่ในโอวาทควรมีการฝึกปรือตั้งแต่วันแรกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจะเลี้ยงเขารวมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น โดยธรรมชาติแล้วจะก้าวร้าวกับสุนัขที่ทำตัวเป็นเจ้าถิ่น


บูลเทอร์เรียเป็นสุนัขที่มีลําตัวและโครงสร้างที่แข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีส่วนสัดที่รับกันอย่างพอดี มีลักษณะปราดเปรียว คล่องแคล่วว่องไว จิตใจเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น มีไหวพริบและความฉลาดเป็นเลิศ ทั้งตัวเต็มไปด้วยความรู้สึกอย่างแรงกล้า แต่อีกส่วนก็มีจิตใจที่อ่อนหวาน อ่อนโยน ไม่ดื้อดึงกับระเบียบวินัย

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ศีรษะ : ต้องยาวมีความแข็งแรง ใบหน้าเต็มมองดูคล้ายไข่ ระยะจากปลายจมูกไปยังลูกตาเห็นได้ชัดเจนกว่า ระยะจากตาไปยังส่วนบนของกะโหลก กรามบนควรจะลึกและมองเห็นขอบเขตได้ชัดเจน
หู : ควรจะเล็ก บางและมีตำแหน่งใกล้กัน ตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา
ตา : จมลึกอย่างพอเหมาะ สีเข้ม เป็นประกาย ตาเป็นรูปสามเหลี่ยม ข้อด้อยของสุนัขพันธุ์นี้คือมีตาสีฟ้า
จมูก : ควรเป็นสีดำ โค้งลงไปสู่ปลาย
คอ : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ยาวและเป็นสันโค้ง ผิวเรียบไม่หย่อนยาน
อก : มองจากด้านหน้าอกต้องกว้าง มองจากด้านข้างอกลึก บริเวณอกใกล้พื้นกว่าบริเวณท้อง
ลำตัว : หลังต้องสั้นและแข็งแรง หัวไหล่ต้องกว้างและเรียบ มีความลาดเอียงไปด้านหลังอย่างเด่นชัด
ขา : มีกระดูดใหญ่ ไม่มีจุดที่น่าเกลียด เหยียดตรงได้รูป ข้อศอกทั้งสองข้างกางออก ข้อเท้าสั้นและตั้งตรง
เท้า : กลมและกระชับ มีขอบเขตชัดเจนเหมือนเท้าแมว
หาง : สั้น ห้อยต่ำ เรียว บริเวณโคนหางต้องหนาและเรียวแหลมไปยังปลาย
ขน : สั้น เรียบ เมื่อลูบจะสาก ขนเป็นมัน หนังต้องตึง
สี : ปรกติเป็นสีขาว มีสีอื่นบนใบหน้าเป็นที่ยอมรับได้ แต่ถ้ามีสีอื่นบนลำตัวจะกลายเป็นข้อด้อย
การเดิน : มีอิสระในการก้าวย่าง ขาหน้าและขาหลังเคลื่อนไหวขนานกัน ต้องหนักแน่น กระฉับกระเฉง
ข้อด้อย : ใบหน้าที่โค้งโก่งมาก ตาสีฟ้า มีสีขนสีอื่นมากกว่าสีขาว 

บีเกิล

สุนัขสายพันธุ์ บีเกิล (Beagle) เป็นสุนัขที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความเฉลียวฉลาด ซุกซน คล่องแคล่วว่องไว ซึ่งก็เป็นเพราะพวกเค้าสืบสายเลือดมาจากบรรพบุรุษนักล่ากระต่ายฝีมือฉกาจ
ปัจจุบันนี้แม้จะไม่ได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยนายพรานเหมือนสมัยก่อน แต่เค้าก็ได้รับการยอมรับในฐานะสุนัขสำหรับเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนที่สุดแสนน่ารัก โกรธใครไม่เป็น เหมาะสำหรับสร้างความสุขให้แก่สมาชิกทุกเพศทุกวัยในครอบครัว (แหม...ช่างมีคุณสมบัติรอบตัวซะจริงๆ) จนหากให้จัดอันดับสายพันธุ์สุนัขซึ่งเลี้ยงเป็นเพื่อนได้ดีที่สุด เชื่อแน่ว่าบีเกิลคงถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นแน่...

ว่าแล้วก็อย่ารอช้า...เราไปทำความรู้จักกับน้องหมาน่ารักน่าหยิกสายพันธุ์นี้กันเลยดีกว่า...


ความเป็นมาของบีเกิล
ต้นกำเนิดของสุนัขสายพันธุ์บีเกิลนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าสุนัขกลุ่ม Hound สายพันธุ์นี้น่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอังกฤษตั้งแต่ยุคสมัยก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะเข้ายึดครอง บางรายงานกล่าวว่ามีการพบสุนัขสายพันธุ์นี้ในสมัยฝรั่งเศสและกรีกโบราณ และมีหลักฐานที่แน่ชัดชิ้นหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้สุนัขสายพันธุ์นี้สำหรับล่าสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ตัวเล็กๆ อย่างกระต่าย ตั้งแต่ยุคสงครามครูเสด

สุนัขสายพันธุ์บีเกิลสามารถพบเจอได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศอังกฤษเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ซึ่งชาวอังกฤษนิยมเพาะมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งของพวกเค้าคือมีความคล่องแคล่วปราดเปรียวอย่างสูงในการไล่ล่าและแกะรอยกระต่ายป่า ดังนั้นนายพรานชาวอังกฤษจึงมักพาพวกเค้าออกไปเป็นฝูงแต่เช้ามืดเพื่อดมกลิ่นหาเหยื่อ เมื่อพวกเค้าได้กลิ่นเป้าหมายก็จะเห่าบอกเจ้านายและตามตีวงล้อมอย่างไม่ลดละ บีบให้เหยื่อเหลือทางหนีน้อยที่สุด (และหากเจ้ากระต่ายตัดสินใจหนีออกทางที่เหลืออยู่ก็มักต้องพบนายพรานดักรออยู่นั่นเอง) ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมของนายพรานชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก

ในเวลาต่อมา ได้มีผู้นำสุนัขสายพันธุ์บีเกิลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง หากแต่บีเกิลที่เข้ามาในสหรัฐอเมริกาช่วงแรกๆ นั้นก็ยังไม่มีรูปร่างสวยงามตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์เหมือนอย่างบีเกิลของประเทศอังกฤษ กระทั่งถึงปี ค.ศ.1870 จึงมีนักพัฒนาสายพันธุ์สุนัขชาวสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งเริ่มหันมาสนใจพัฒนาสายพันธุ์ของบีเกิลอย่างจริงจัง จนทำให้ได้บีเกิลซึ่งมีลักษณะดี เป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามมาตรฐานในที่สุด ซึ่ง American Kennel Club ก็ได้ทำการจดทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์บีเกิลตัวแรกเมื่อปี ค.ศ.1885 และต่อมาในปี ค.ศ.1888 จึงได้มีการก่อตั้งชมรมผู้เพาะพันธุ์บีเกิลแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์บีเกิลยังคงเป็นสุนัขซึ่งมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความน่ารัก คล่องแคล่ว และเป็นมิตรกับทุกคน อย่างไรก็ตามบีเกิลอาจไม่เหมาะนักสำหรับการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะความที่เค้าต้องการสังคมสูง ชอบเล่นสนุก ชอบผูกมิตรกับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้นหากปล่อยให้เค้าต้องอยู่ตามลำพังเป็นเวลานานจนเกินไปอาจทำให้เค้าเกิดความเครียดและนำไปสู่พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์หลายๆ ประการ 


มาตรฐานสายพันธุ์ 
นิสัย : ใจกล้า จงรักภักดี กระฉับกระเฉง กล้าตัดสินใจ ตื่นตัว ขี้สงสัย สุภาพอ่อนโยน รักความสะอาด เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย ชอบเข้าสังคม บ้านที่มีเด็กก็สามารถเลี้ยงเค้าไว้เป็นเพื่อนเล่นกับเด็กๆ ได้

ขนาด : สูง 33-40 เซนติเมตร น้ำหนัก 8-14 กิโลกรัม

ศีรษะ : กะโหลกค่อนข้างยาว ท้ายทอยเป็นรูปโดม หน้าผากกว้างและเต็ม จมูกยาวปานกลาง ส่วนปลายจมูกเห็นชัดเจน

ฟัน : ฟันแข็งแรง สีขาว สบกันพอดี

ตา : ดวงตากลมใหญ่ สายตานุ่มนวล แต่แววตาแสดงออกถึงความกระตือรือร้น ดวงตามีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง

หู : หูอยู่ต่ำเล็กน้อย ชิดกับหัว ขอบหน้าของใบหูชิดกับแก้ม หูมีความยาวมากถ้าจับกางออก ใบหูบาง ขนาดค่อนข้างกว้างและกลม หูไม่ตั้ง

คอ : ลำคอยาวปานกลาง แข็งแรง ไม่ควรมีรอยย่นของผิวหนัง (อาจมีบ้างเล็กน้อยในตำแหน่งด้านล่างตรงมุมของกราม ซึ่งลักษณะเช่นนี้ยังยอมรับได้)

ลำตัว : ลำตัวสะอาด เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เส้นโค้งของไหล่จะทำให้การเดินและท่าทางของบีเกิลเต็มไปด้วยความแข็งแรง ดูไม่หนาเทอะทะ

ขาหน้า : ขาตรง เต็มไปด้วยกระดูกซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มสุนัขล่าสัตว์ ข้อเท้าสั้นและแข็งแรง

ขาหลัง : เข่าแข็งแรง ลาดลงพอดี ข้อเท้าสมดุลและแบะออกปานกลาง

เท้า : เท้ากลมได้รูป หุบแน่น อุ้งเท้าแข็งและเต็ม

หาง : หางอยู่ตำแหน่งปานกลาง ปลายหางโค้งขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ไปด้านหน้ามากนัก หางมีขนเป็นพวง ลักษณะที่บกพร่องคือขนหางยาวเกินไป หางยาว โค้งไปทางด้านหน้ามาก หรือหางไม่มีขน

ขน : ขนแน่น สั้น และแข็ง

สีขน : มี 3 สีร่วมกันโดยไม่มีสีใดเด่น


การเลี้ยงดูเจ้าบีเกิล

การให้อาหารบีเกิล 
คำกล่าวที่ว่า "กินอะไร ก็ได้อย่างนั้น" สามารถสะท้อนถึงความสำคัญของการกินอาหารอย่างถูกต้องได้เป็นอย่างดี สำหรับสุนัขสายพันธุ์บีเกิลก็เช่นเดียวกัน หากว่าเราต้องการให้เค้ามีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย เราก็ต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินของเค้าให้มาก ซึ่งวิธีการให้อาหารแก่บีเกิลที่ถูกต้องก็มีดังนี้

+ บีเกิลอายุระหว่าง 2-3 เดือน ควรให้อาหารเม็ดวันละ 4 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย (ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง) โดยอาจใช้ถ้วยกาแฟขนาดเล็กตวง ผสมกับอาหารกระป๋อง 1 ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้ทั่ว

+ บีเกิลอายุระหว่าง 3-4 เดือน ควรให้อาหารเม็ดวันละ 3 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย (ทุกๆ 6-8 ชั่วโมง) ผสมอาหารกระป๋อง 1 ช้อนโต๊ะ

+ บีเกิลอายุระหว่าง 4-12 เดือน
ควรปรับมาให้อาหารเม็ดวันละ 2 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย หรืออาจจะมากน้อยกว่านั้นเล็กน้อย โดยให้สังเกตดูรูปร่าง ถ้าท้องป่องมากเกินไปควรลดจำนวนอาหารแต่ละมื้อลงบ้าง และต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับการออกกำลังกายของเค้าด้วย หากบีเกิลของคุณมีโอกาสออกกำลังกายน้อย ปริมาณอาหารที่ให้ก็ควรปรับลดลง

+ เมื่อบีเกิลอายุครบ 12 เดือนขึ้นไป สามารถลดปริมาณการให้อาหารเหลือวันละ 1 มื้อ มื้อละ 1-1/2 ถ้วย ก็เพียงพอแล้ว

+ นม ไม่จำเป็นต้องให้นมลูกสุนัขอีกหลังจากอายุครบ 2 เดือนขึ้นไป เพราะเมื่ออายุพ้น 2 เดือนแล้วเค้าจะสามารถหาแคลเซียมทดแทนจากการกินอาหารสำเร็จรูปได้

+ อาหารเสริม สำหรับบีเกิลป่วยอาจให้อาหารเสริมบ้าง แต่ไม่มีความจำเป็นต้องให้อาหารเสริมในยามที่เค้ามีสุขภาพปกติ

+ อาหารสด ไม่ควรให้อาหารสด (อาหารคน) กับบีเกิลโดยเด็ดขาด เพราะเค้าอาจติดใจรสชาติ กลิ่นของอาหารคน และไม่อยากกินอาหารเม็ดอีกต่อไป นอกจากนั้นการให้อาหารสดยังอาจทำให้เค้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับมากเกินไปจนทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง โดยเฉพาะเมื่อเค้าอายุมากขึ้น เช่น ปัญหาด้านการเจริญเติบโต ปัญหาสุขภาพขน การให้อาหารสดอาจให้บ้างเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นรางวัลสำหรับการฝึกเท่านั้น (ซึ่งอาจเป็นจำพวกตับ ไส้กรอก แฮม หรือชีส ก็ได้)

+ ห้ามให้สุนัขกิน ช็อกโกแลตและหัวหอม เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้สุนัขเป็นอันตรายถึงตายได้


การดูแลทำความสะอาด
การดูแลทำความสะอาดให้สุนัขขนสั้นอย่างบีเกิลนั้นแสนง่าย แค่อาบน้ำให้เค้าอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ จากนั้นก็เช็ดหรือเป่าตัวของเค้าให้แห้งพร้อมๆ กับแปรงขนไปด้วย หรือถ้าไม่สกปรกมากอาจใช้แค่ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดตัวให้เค้าก็ได้
ส่วนเรื่องการแปรงขนให้บีเกิลสามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากว่าเค้ามีขนสั้นและสีเข้ม ควรแปรงขนให้แก่เค้าทุกๆ 3-4 วัน เพื่อกำจัดเส้นขนที่ตายแล้วออกไปและช่วยเพิ่มความเงางามแข็งแรงแก่เส้นขน


การออกกำลังกาย
แม้ว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็ก แต่ด้วยเหตุที่จุดประสงค์ดั้งเดิมที่เค้าถูกพัฒนาขึ้นมาคือการเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ ทำให้พวกเค้ามีพลังงานในตัวมากและชื่นชอบการออกกำลังกายเป็นอย่างยิ่ง จึงควรพาเค้าไปออกกำลังกายบ้างอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่มีบริเวณกว้างขวางนัก อย่างเช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ คุณก็จะต้องพิจารณาให้ดีว่าคุณพอมีเวลาและมีสวนสาธารณะใกล้เคียงซึ่งคุณสามารถพาเค้าไปเดินเล่นออกกำลังได้หรือไม่


การดูแลทั่วๆ ไป
หู บีเกิลมีใบหูยาวปรกลงมา จึงควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูทั้งภายในและภายนอกรูหูเป็นประจำ
ตา ควรหมั่นตรวจเช็คนัยน์ตาของบีเกิลว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ บ้างหรือไม่ เช่น มีแผลบนกระจกตา มีฝ้าขาว หรือมีขี้ตา เกรอะกรังมากกว่าปกติ หากพบเห็นก็ควรรีบพาเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันที
จมูก จมูกของสุนัขที่มีสุขภาพดีจะเรียบชื้น เป็นมัน หากพบว่าบีเกิลของคุณจมูกแห้งหรือชื้นเกินไป มีน้ำมูกไหล ให้สันนิษฐานว่าเค้าคงไม่สบายเสียแล้ว
ฟัน อาหารที่เหมาะสมสำหรับให้บีเกิลที่สุดควรเป็นอาหารเม็ด เพราะจะช่วยขัดฟันได้และมีสารอาหารครบถ้วน นอกจากนั้นก็ต้องแปรงฟันให้เค้าเป็นประจำ โดยควรฝึกฝนให้เค้าเคยชินกับการแปรงฟันตั้งแต่ยังเล็ก


บีเกิลกับเด็ก
สุนัขสายพันธุ์บีเกิลมีนิสัยขี้เล่น ใจดี ไม่ขี้หงุดหงิด จึงเข้ากันได้อย่างดีกับเด็กๆ แต่ก็ไม่ควรละเลยปล่อยให้เล่นกันตามลำพัง ควรมีผู้ใหญ่เฝ้าดูอยู่ด้วยเสมอ เพราะหากว่าเด็กๆ เล่นกับเค้าแรงเกินไปก็อาจทำให้เค้าบาดเจ็บหรือหงุดหงิดได้


บีเกิลกับผู้สูงอายุ
บีเกิลเป็นเพื่อนที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้สูงอายุซึ่งต้องอยู่บ้านอย่างเหงาๆ หลังเกษียณ เพราะเค้ามีความสุภาพอ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว มีขนาดตัวเล็กพอเหมาะ การให้เค้าคอยเป็นเพื่อนเล่นของผู้สูงอายุจะช่วยให้พวกท่านมีโอกาสออกกำลังกายโดยไม่ต้องออกแรงหักโหมจนเกินไป


5 ข้อดีของบีเกิล
1. มีใบหน้าที่น่ารัก หูตูบ และดวงตากลมโตสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งทำให้คุณหลงรักเค้าได้ง่ายๆ ที่สำคัญคือบีเกิลจะรักเด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์เลี้ยงอื่นๆ และทุกๆ คนในครอบครัว

2. ด้วยจุดประสงค์ดั้งเดิมในการใช้เป็นสุนัขล่าสัตว์ ทำให้บีเกิลถูกพัฒนาให้มีจมูกไว จึงมีทักษะการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายรูปแบบ

3. สุนัขสายพันธุ์บีเกิลมักไม่ค่อยกลัวตัวประหลาด ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าเค้าจะตกใจจนเกินไปเวลาที่คุณถือตุ๊กตาหน้าตาแปลกๆ เข้าบ้าน

4. บีเกิลมีพลังเห่าหอนอันรุนแรงซึ่งอาจทำให้ขโมยแสบแก้วหู และช่วยให้คุณสามารถตื่นขึ้นมาได้ทันการณ์

5. ถึงจะเสียงดีแค่ไหนเค้าก็ไม่ปากเปราะ สุนัขสายพันธุ์บีเกิลจะไม่เห่าพร่ำเพรื่อนอกจากว่ามีคนแปลกหน้าเดินรุกล้ำเข้ามาในบ้าน


เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ Beagle
+ ความสูงมากที่สุดของบีเกิลที่ได้รับการยอมรับในประเทศสหรัฐอเมริกาคือ 15 นิ้ว ขณะที่ในประเทศอังกฤษคือ 16 นิ้ว

+ สุนัขสายพันธุ์บีเกิลจะไม่มีน้ำลายไหลเยิ้ม ไม่ค่อยมีกลิ่นสาบ และผลัดขนน้อยมาก

+ Lyndon B. Johnson ประธานาธิบดีคนที่ 36 แห่งสหรัฐอเมริกา เลี้ยงสุนัขบีเกิลจำนวน 3 ตัว ชื่อว่า Him, Her และ Edgar

+ ตัวการ์ตูนสนูปปี้ (Snoopy) จากการ์ตูนชุด Peanuts ของ Charles M. Schulz ก็มีต้นแบบมาจากสุนัขสายพันธุ์บีเกิล



ขอขอบคุณ : Norbert Beagles Kennel โทร.08-1995-5131 ที่เอื้อเฟื้อสุนัขสำหรับถ่ายภาพประกอบ
Model : MULTI.BIS.INT.TH.GRAND.CH.NORBERT'S FUTURE CLASSIC
ถ่ายภาพโดย คุณรัชต์ ทองเอี่ยม

ดัชชุนด์


สุนัขดัชชุนด์ เป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มฮาวด์มีรูปร่างที่กระทัดรัด ฉลาด ขี้ประจบ ลำตัวยาวดูแปลกตาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม "สุนัขไส้กรอก" ชื่อดัชชุนด์ (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข ) ปรากฎในหนังสือเกี่ยวกับการล่าสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง เป็นสุนัขที่มีความคล้ายคลึงสุนัขฮาวด์ในการแกะรอย และมีรูปร่างและอารมณ์คล้ายสุนัขเทอร์เรียร์ มีความสามารถในการติดตามตัวแบดเจอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใต้ดินและมักจะออกมาหาอาหารตอนกลางคืน จึงมักถูกเรียกว่าสุนัขแบดเจอร์

ด้วยความแข็งแรงและทรหด บวกกับความฉลาดและกล้าหาญ ทั้งบนและใต้พื้นดิน สุนัขดัชชุนด์หลายตัวรวมกันสามารถเข้าต่อกรกับหมีป่าได้อย่างสบาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ในเกมล่าสัตว์แบบอื่นๆ สุนัขดัชชุนด์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 16 - 22 ปอนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับสุนัขจิ้งจอก และในการแกะรอยกวางที่ได้รับบาดเจ็บ สุนัขขนาดนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา สุนัขที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีน้ำหนัก 12 ปอนด์ ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "Stoat" มีขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในยุโรปตอนเหนือ

การนำเข้าสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์มายังประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นมาก่อนการจัดโชว์สุนัขอเมริกาครั้งแรก สุนัขที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้ในการล่าสัตว์น้อยมากเพราะว่าไม่ค่อยมีตัวแบดเจอร์และหมีป่า และไม่มีการล่ากวางด้วยสุนัข รวมทั้งไม่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกด้วยการดมกลิ่น ลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องของสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริม โดยการนำเข้าสายพันธุ์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเยอรมันและเพื่อส่งเสิรมความสามารถในการล่าสัตว์ รวมถึงรูปร่างและอารมณ์ที่ดีเลิศ ความสามารถในภาคสนามตามกฎของ AKC ได้รับการกำหนดขึ้นในปี 1935

ลักษณะพิเศษของสายพันธุ์ มีศีรษะที่ยาว และจมูกที่มีการพัฒนาอย่างดี กระดูกเชิงกรานและกระดูกขาได้มุมอย่างเหมาะสมท่าทางการเดินก่อให้เกิดช่องว่าง ขนาดใหญ่สำหรับปอดและหัวใจ แต่ไม่กว้างจนเกินไป ผิวหนังยืดหยุ่นและอ่อน สำหรับการเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่จำกัดใต้ดิน ขากรรไกรที่ค่อนข้างยาวและมีพละกำลังพร้อมฟันที่แข็งแรง คอยาวและแข็งแรงเสมือนเป็นข้อมือของนักดาบ ขาทรงพลังและเท้าที่แข็งแรงเพื่อการขุดดิน และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดความกล้าหาญอันสูงล้ำ ที่ทำให้ตอบสนองต่อการเข้าโจมตีหรือการป้องกันโดยปราศจากการทะเลาะวิวาท หรือการก้าวร้าวที่ไม่พึงปรารถนา

สุนัขดัชชุนด์ ซึ่งเด่นที่สุดในอเมริกามีขนาดเล็กเพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหรืออพาร์ทเมนต์ แม้กระนั้นก็มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับพาไปเดินตามท้องถนน การที่มีขาสั้น รูปร่างเพรียว ขนสั้นจึงไม่ต้องการการถอนขน การตัดแต่งขน การแปรงขน การหวี การใส่น้ำมัน และไม่ต้องอาบน้ำ เว้นแต่เพื่อชำระล้างความสกปรกที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้นเมื่ออยู่นอกอาคาร ดัชชุนด์มีความทรหดแข็งแรง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่ออยู่ในอาคารเขาจะแสดงความรักความอบอุ่นและตอบสนองต่อความเป็นเพื่อนที่ดี ตื่นตัวในการที่จะบอกให้เราทราบเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาสายพันธุ์มีขน 3 ประเภทให้เลือก มีขนาดมาตรฐานและเล็กจิ๋ว มีสีแดง สีดำ สีแทนและสีอื่นๆ

ลักษณะพิเศษของขนที่แตกต่างกัน 3 ชนิด1. ขนสั้น (หรือขนเรียบ) 2. ขนลวด 3. ขนยาว ซึ่ง ทั้ง 3 ชนิดนี้ควรเป็นไปตามลักษณะมาตรฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว ขนยาวและขนสั้นเป็นชนิดที่มีมานาน เป็นพันธุ์ที่อยู่ตัวดีแล้ว แต่ในชนิดลวด เลือดของพันธุ์อื่น ได้ผสมเข้ามาอย่างมีวัตถุประสงค์ แม้กระนั้นในการผสมพันธุ์สิ่งเน้นที่สำคัญที่สุดต้องอยูที่การให้เป็นไปตามชนิดของดัชชุนด์ทั่วไป ลักษณะดังต่อไปนี้ นำมาใช้แยกชนิดกันตามลำดับ

ประเภทของดัชชุนด์

  1. ดัชชุนด์ขนสั้นและเรียบ ขน สั้น หนา เรียบ และมีประกาย ไม่มีบริเวณที่ขนหลุดล่วงเหลือแต่หนัง ข้อบกพร่องพิเศษ คือขนละเอียด,บาง,หยาบเหลือหนาเกินไปหางค่อยๆ เรียวเล็กลงทีละน้อยไปทางปลายหาง มีขนดีแต่ไม่ถึงกับดกมาก ยาวเรียว ขนหนาหยาบที่ด้านล่างถือว่าเป็นแถบของขนที่กำลังขึ้นงอกงาม มิใช่ข้อบกพร่อง

    สีของขน จมูกและเล็บ ดัชชุนด์สีเดียว กลุ่มนี้รวมถึงสีแดง เหลืองแดง เหลือง และลายเทา อาจจะมีหรือไม่มีขนสีดำกระจายอยู่ สีที่สะอาดเป็นสีที่นิยมมากกว่าสีแดง เป็นที่นิยมมากกว่าสีเหลืองแดงหรือสีเหลือง จุดขาวเล็กเป็นที่ยอมรับได้ แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ จมูกและหางดำ สีน้ำตาลเป็นที่ยอมรับได้แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ ดัชชุนด์ 2 สี จะประกอบด้วยสีดำเข้ม ช็อคโกแลต เทา (น้ำเงิน) และขาว แต่ละแบบจะมีแต้มสีแทนเหนือตาด้านข้างขากรรไกรและใต้ริมฝีปาก ด้านในของหู ด้านหน้าหน้าอก ด้านในและด้านหลังของขาหน้า ที่อุ้งเท้า และรอบก้น และจากตรงนั้นไปถึงประมาณหนึ่งในสาสมถึงหนึ่งในสองของคสามยาวของหางที่อยู่ด้านล่าง ชนิด 2 สีที่แพร่หลายมากที่สุดตามปกติจะเรียกว่าดำและแทน จุดสีขาวขนาดเล็กยอมรับได้ แต่ไม่พึงต้องการ จมูกและเล็บจะมีสีน้ำตาล สำหรับสุนัขสีเทา(น้ำเงิน) หรือขาว สีเทา หรือแม้แต่สีเนื้อ ในกรณีของสุนัขสีขาว จมูกและเล็บสีดำจะเป็นที่นิยมมากกว่า
  2. ดัชชุนด์ขนลวด ลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกับดัชชุนด์ขนสั้นแต่ขาไม่ยาว ยอมให้ลำตัวสูงกว่าพื้น ขนทั้งลำตัวยกเว้นขากรรไกร คิ้ว หู ปกคลุมไปด้วยขนแข็ง หยาบ หนา สั้น เหมือนกันหมดทั้งลำตัว แต่มีขนที่สั้นกว่าและละเอียดกว่ากระจายอยู่ระหว่างขนที่หนา มีเคราอยู่ที่คาง ขนคิ้วเป็นพุ่ม ที่ตรงบริเวณหูขนจะสั้นกว่าที่ลำตัว แต่กรณีใดๆ เป็นไปตามส่วนที่เหลือของขน การจัดเรียงตัวโดยทั่วไปของขน เมื่อจากระยะไกลคงคล้ายขนเรียบ ขนที่มีความนุ่มชนิดใดๆก็ตามเป็นข้อบกพร่อง
  3. ดัชชุนด์ขนยาว ลักษณะที่เด่นชัดที่ทำให้สุนัขชนิดนี้ แตกต่างจากดัชชุนด์ขนสั้นหรือขนเรียบ คือเฉพาะขนแพรไหมที่ค่อนข้างยาว ขนนุ่มเรียบเป็นประกาย ขนที่หยิกเล็กน้อย ควรมีความยาวกว่าที่บริเวณใต้คอ ที่ด้านล่างของลำตัวโดยเฉพาะที่หูและหลังขาเป็นลักษณะขนยาว ขนควรมีความยาวที่ด้านใต้หาง ขนยาวพ้นขอบด้านล่างของหู ขนสั้นที่หูเรียกว่า "หนัง" ไม่เป็นที่นิยม การที่มีขนมากเกินไปทำให้ดัชชุนด์ขนยาวจะดูขนหยาบกระด้างและปิดบังชนิดของพันธุ์

    ดัชชุนด์จิ๋ว ดัชชุนด์ขนาดจิ๋วที่มีการผสมพันธุ์ในขนทั้ง 3 ประเภทภายในขีดจำกัดที่กำหนด มีลักษณะเหมือนดัชชุนด์ทั่วไปแต่ย่อส่วนลง ด้านจิตใจและร่างกายควรเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของดัชชุนด์จิ๋วมิได้มีการแยกออกไปต่างหาก แต่เป็นกลุ่มของสุนัข สำหรับขนาดต่ำกว่า 10 ปอนด์ และ 12 เดือนขึ้นไป


มาตราฐานสายพันธุ์ 
  • ลักษณะทั่วไป : รูปร่างเตี้ย ขาสั้น ตัวยาว แต่มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่แน่นและแข็งแรง ลักษณะการเชิดศีรษะเต็มไปด้วยความกล้าหาญและมั่นใจ สีหน้าแสดงออกซึ่งความฉลาด ทั้งๆ ที่ขาสั้นเมื่อเทียบกับความยาวของลำตัว แต่ดัชชุนด์ไม่เคยแสดงออกถึงลักษณะของความพิการ งุ่มง่ามหรือยืดยาดในการเคลื่อนไหว มีความฉลาด สดใสและกล้าหาญโดยไม่คำนึงถึงอันตราย มุ่งมั่นในการทำงานทั้งบนดินและใต้ดิน ประสาทสัมผัสทั้งหมดพัฒนาอย่างดี มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับเกมการล่าสัตว์ใต้ดิน นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยจิตวิญญาณในการล่าสัตว์ รูปร่างและจมูกที่เหมาะสม ทำให้ได้เปรียบเหนือพันธุ์อื่นทั้งหมดของสุนัขที่ใช้ในกีฬาการสะกดรอย
  • ศีรษะ : เมื่อดูจากด้านบนหรือด้านข้าง ศีรษะจะค่อยๆ เรียวเล็กลงอย่างสม่ำเสมอไปยังปลายของจมูก เห็นเป็นเส้นชัดเจน กะโหลกศีรษะกลมเล็กน้อย และควรลาดเอียงทีละน้อยโดยไม่มีสต๊อป ไปยังแนวสันจมูกกระดูกเหนือตายื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด ปลายจมูกยาวและแคบ ริมฝีปากยึดออกไปคลุมขากรรไกรล่าง แต่ไม่ลึกหรือยื่นออกมา มุมปากไม่มีเครื่องหมายชัดเจน จุดเชื่อมต่อของขากรรไกรบนและล่างอยู่ด้านหลังของตา
  • ฟัน : ฟันเขี้ยวมีพลังมาก ประกบกันได้สนิท และด้านนอกของฟันกัดด้านล่าง ควรสัมผัสกับด้านในของฟันบนอย่างสนิท
  • ตา : ขนาดปานกลาง รูปไข่ ตั้งอยู่ด้านข่าง แสดงออกถึงความฉลาด มีพลัง ร่าเริง ไม่ดุดัน สีน้ำตาลออกแดง จนถึงดำออกน้ำตาล สำหรับขนทุกชนิดและทุกสี ตาซึ่งเป็นสีขาวหรือสีขุ่นในกรณีของสุนัขลายต่าง ไม่เป็นข้อบกพร่องที่รุนแรงมากนัก แต่เป็นลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา
  • หู : ไม่อยู่ใกล้ส่วนบนของศีรษะ ไม่ค่อนไปข้างหน้ามากเกินไป ยาวแต่ไม่ยาวมาก ไม่แคบตั้ง หรือม้วนการเคลื่อนไหวของหูมองดูมีชีวิตชีวา และขอบด้านหน้าแตะกับแก้มพอดี
  • คอ : ค่อนข้างยาว มีมัดกล้ามเนื้อ ไม่มีผิวหนังยาน หย่อนตรงคอหอย ขยายออกอย่างสวยงามไปยังไหล่ แสดงความองอาจแต่ไม่แข็ง
  • หัวไหล่ : ยาว กว้าง ลาดเอียงและตั้งอยู่อย่างมั่นคงบนส่วนอก มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
  • ขาหน้า : ขาหน้าท่อนบน มีความยาวเท่ากับแผ่นไหล่ และทำมุมฉากกัน กระดูกแข็งและเต็มด้วยกล้ามเนื้ออยู่แนบชิดกับซี่โครง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระ ขาหน้าจะสั้นเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ อุ้งเท้าหนา กว้างด้านหน้า และเอียงออกด้านนอกเล็กน้อย อัดแน่นนิ้วเท้างุ้มสวยงาม และอุ้มเท้าควรแนบชิดติดกัน มีเล็บที่แข็งแรงด้านล่างมีอุ้งเล็บที่แข็ง ติ่งเล็บอาจต้องถูกตัดออกไป
  • ลำตัว : โดยทั่วไปต้องยาว และเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานแข็งแรง อยู่ในแนวตรงที่สุดที่เป็นไปได้ ระหว่างจุดสูงสุดของไหล่ หน้าอกเป็นรูปไข่ และยืดขยายไปด้านล่างไปจนถึงจุดกึ่งกลางของขาหน้าโครงสร้างของกระดูกซี่โครง เต็มและเป็นรูปไข่ เมื่อมองจากด้านบนหรือจากด้านข้าง จะเห็นเต็ม เพื่อให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ เป็นตำแหน่งของหัวใจและปอดกระดูกซี่โครงกลมโค้งแล้วค่อยๆ ประสานกลมกลืนเข้ากับเส้นท้อง ถ้าความยาวถูกต้อง ขาหน้าเมื่อมองดูจากด้านข้างควรปิดคลุมจุดที่ต่ำสุดของเส้นอก เส้นท้องสูงขึ้นเล็กน้อย
  • ส่วนท้าย : เมื่อมองดูจากด้านหลัง ควรเท่ากับด้านกว้าง สะโพก ยาว กลม เต็ม กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่อ่อนนิ่มแบบพลาสติก เพียงแต่ค่อยๆ จมหายไปทางหาง กระดูกเชิงกราน ไม่สั้นมาก แข็งแรง กระดูกต้นขา แข็งแรงและมีความยาวพอดี ทำมุมฉากกับกระดูกเชิงกราน ขาหลัง แข็งแรงและมีมัดกล้ามเนื้อ ข้อเข่า กว้างและแข็งแรง กระดูกน่อง เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์อื่น จะมีขนาดสั้น ตั้งฉากกับกระดูกต้นขา และกล้ามเนื้อแข็งแรงอุ้งเท้าหลัง งุ้มอย่างสวยงาม และแนบชิดติดกันทั้ง 4 นิ้ว เท้าทั้งหมดควรวางในลักษณะเท่ากัน
  • หาง : อยู่ในแนวต่อเนื่องกับกระดูกสันหลัง ยืดออกไปโดยไม่มีส่วนโค้งมากนัก และไม่ควรชูหางในลักษณะร่าเริงเกินไป

เซนต์เบอร์นาร์ด

เซนต์เบอร์นาร์ด เป็นสุนัขที่มีขนาดใหญ่ที่สุด น้ำหนักมากที่สุดแต่ใจดีที่สุด ตามสมญานามเรียกขานว่า สุนัขนักบุญ ( SAINT ) มีประวัติความเป็นมาว่า นักบุญเซนต์ เบอร์นาร์ด เดอเมนธอน ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเทือกเขาแอลป์ โดยมีสุนัขคอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ติดอยู่ในหิมะ หรือหลงทางหรือนอนหนาวอยู่ท่ามกลางลานหิมะ

สุนัขพวกนี้จมูกไว ดมรู้ว่ามีคนจมอยู่ใต้หิมะแม้จะลึกหลายๆ ฟุต สุนัขจะออกวิ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 ตัว เป็นการวิ่งลาดตระเวนในระหว่างที่เกิดพายุหิมะถล่ม หรือหลังจากที่เกิดพายุหิมะแล้ว เพื่อค้นหาคนเดินทางที่ประสบอันตรายติดอยู่ในกองหิมะ เมื่อพบกับผู้เคราะห์ร้าย สุนัข 2 ตัวจะนอนลงบนหิมะแนบชิดร่างกายของผู้นั้น เพื่อให้ความอบอุ่น และสุนัขอีกตัวหนึ่งจะเลียตามใบหน้าเพื่อช่วยให้มีสติฟื้นคืนมา

ในขณะเดียวกันสุนัขอีกหนึ่งตัวในกลุ่มจะวิ่งย้อนกลับไปยังสถานที่พัก เพื่อแจ้งเหตุร้ายให้นักบวชทราบ และพามายังสถานที่เกิดเหตุ "ถังไม้เล็กๆ" ที่ผูกติดคอมีไว้เพื่อใส่เหล้าหรือยาไว้ให้ผู้ประสบภัยเปิดกินได้ เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และมีผ้าห่มผูกติดหลังเอาไว้เพื่อให้ผู้ประสบภัยห่มกันหนาว

นอกจากนี้สุนัขเซนต์ฯ ยังได้กลับมาตามคนไปช่วยคนจากหลุมหิมะและพากลับมายังที่พักได้ นอกเหนือจากความสามารถในการค้นหาเส้นทางและประสาทในการดมกลิ่น ซึ่งสามารถทำให้ค้นหาร่างของมนุษย์ซึ่งถูกฝังอยู่ใต้หิมะ สุนัขยังมีชื่อเสียงในการมีสัมผัสที่หกที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งทำให้มันทราบว่าพายุหิมะกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว จะมีการรายงานอย่างทันท่วงที โดยที่สุนัขจะเปลี่ยนจุดยืนอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ภายในเวลาไม่กี่อึดใจที่พายุหิมะจะเกิดและถล่มตรงจุดนั้น ซึ่งจะทำให้ร่างถูกฝังอยู่ใต้หิมะ หรือน้ำแข็งหนักหลายตัน

ในครั้งแรกนักบวชได้เลือกเอาสุนัขจากดินแดนใกล้เคียงไปเลี้ยง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสุนัขพันธุ์โมลอสเชี่ยน ต่อมาก็คือสุนัข "เซนต์เบอร์นาร์ด" นั่นเอง เป็นวีรกรรมที่กล่าวขานกันตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์

ชาวอังกฤษในตอนต้น ค.ศ. 1810 ได้สั่งนำเข้าสุนัขที่ใช้ในสถานที่พักคนเดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อเสริมสายเลือดสุนัขพันธุ์มาสตีฟที่มีอยู่ ซึ่งมีการอ้างอิงถึงสายพันธุ์ เป็นเวลาหลายปีที่ถูกเรียกว่า "สุนัขศักดิ์สิทธิ์" ในประเทศเยอรมันนีราวปี ค.ศ. 1828 มีการเสนอให้เรียกชื่อว่า อัล เพนค็อก ในปี ค.ศ. 1833 นักเขียนคนหนึ่งชื่อ ดาร์เนียล วิลสัน ได้พูดถึงสุนัขเป็นครั้งแรกที่เรียกว่า เซนต์ เบอร์นาร์ด แต่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1865 ชื่อเซนต์ เบอร์นาร์ดจึงปรากฏขึ้นอย่างแน่ชัด และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 จึงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ

สุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ดประสบกับปัญหาอันเนื่องมาจากสายพันธุ์เริ่มอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก เพราะกันอยู่แต่สายพันธุ์เดียว ( Inbreeding) ประกอบกับโรคภัยไข้เจ็บ นักบุญจึงต้องการให้มีการผสมข้ามพันธุ์ เพื่อเพิ่มขนาดและพลังความแข็งแกร่งใหม่ให้สุนัข จึงเลือกสุนัขพันธุ์ นิวฟาวด์แลนด์ ซึ่งในขณะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด ผลของการผสมข้ามพันธุ์นี้ ได้ผลเป็นที่พึงปรารถนาในทุกๆ ด้าน และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำลายรูปแบบและลักษณะนิสัยของเซนต์ เบอร์นาร์ดเลย

อย่างไรก็ตาม จากการผสมข้ามพันธุ์ ทำให้ได้สุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ดขนยาวขึ้นมาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้จนถึงปี ค.ศ. 1830 สุนัขเซนต์ เบอร์นาร์ดทั้งหมดมีขนสั้น ปีต่อๆ มาของการผสมพันธุ์ทำให้มีเซนต์ เบอร์นาร์ดเกิดขึ้นอย่างมากมายในหุบเขาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในประเทศเยอรมันนี ประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะทั่วไป : เป็นสุนัขที่มีพละกำลัง รูปร่างสูงได้สัดส่วน แข็งแร่งและมีมัดกล้ามเนื้อในทุกส่วน ศีรษะแข็งแรง เป็นสุนัขที่มีท่าทางฉลาดเฉลียวมากที่สุด สุนัขที่มีหน้ากากสีดำจะทำให้ดูเข้มขึ้นแต่ไม่ทำให้ลักษณะโดยส่วนรวมเสียไปแต่อย่างใด
อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ช่างประจบประแจง สอนง่าย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาช้านานทั่วทุกมุมโลก
ศีรษะ : มีความแข็งแกร่งมาก มีขนาดใหญ่โตและกว้าง กระดูกแก้มอยู่สูง มีสันกระดูกเหนือตาชัดเจนมาก ผิวหนังที่หน้าผากเหนือตาเป็นรอยย่นจนเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นแนวเส้นเข้าไปรวมที่เส้นกลางศรีษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุนัขกำลังตื่นตัว รอยย่นจะเห็นได้ชัดมากขึ้น การที่มีรอยย่นมากจนเห็นชัดเกินไปไม่เป็นที่นิยม ความลาดเอียงของกะโหลกศีรษะ มายังจมูกจะหักมุมค่อนข้างมาก

จมูก : จมูกจะสั้นไม่เรียวเล็กตรงปลาย และความลึกในแนวดิ่งที่ฐานของจมูกต้องมากกว่าความยาวของจมูก สันของจมูกไม่โค้งแต่จะเป็นแนวตรง ในสุนัขบางตัวจะหักเล็กน้อย ร่องกลางศรีษะตื้นเห็นได้ชัดเจนและค่อนข้างกว้าง

ปาก : ริมฝีปากไม่บางจนเกินไป แต่จะโค้งอย่างสวยงามมายังขอบด้านล่างและเหลื่อมริมฝีปากล่างเล็กน้อย ริมฝีปากล่างต้องไม่ห้อยมากไป ฟันควรมีความแข็งแรงและสบกันพอดี ลักษณะขากรรไกรล่างสั้น แม้จะพบในสุนัขตัวที่มีความพร้อมสวยงามก็เป็นลักษณะที่ไม่นิยม ถ้าขากรรไกรบนสั้นถือว่าเป็นข้อบกพร่อง ปากที่เป็นสีดำเป็นลักษณะที่ได้รับความนิยม

หู : มีขนาดปานกลาง ตั้งอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูงที่บริเวณฐาน ห่างจากศีรษะเล็กน้อย แล้วพับงอลงมาด้านข้างแนบอยู่กับศีรษะ ใบหูนิ่มมีลักษณะสามเหลี่ยมปลายมนยาวออกไปเล็กน้อย ทางด้านปลาย ขอบหูด้านหน้าอยู่แนบชิดกับศีรษะ โดยที่ขอบหูด้านหลังอาจอยู่ห่างจากศีรษะเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุนัขอยู่ในท่าเตรียมพร้อม

ตา : ตั้งอยู่ทางด้านหน้ามากกว่าทางด้านข้าง มีขนาดปานกลาง สีน้ำตาลเข้ม มีแววตาฉลาดและเป็นมิตร มีความลึกปานกลาง เปลือกตาด้านล่างปิดไม่สนิท จึงทำให้เกิดรอยย่นที่มุมตาด้านใน หนังตาที่หย่อนมากเกินไป จนทำให้เห็นต่อมน้ำตาอย่างชัดเจน หรือมีสีแดงมาก เปลือกตาหนาและตามีสีจางเกินไปเป็นลักษณะที่ไม่นิยม

ลำคอ : ชูตั้งสูงและในขณะปฏิบัติหน้าที่ลำคอจะตั้งตรง นอกจากนั้นแล้วจะอยู่ในแนวระนาบ การเชื่อมต่อของศีรษะและคอจะเห็นได้ชัด โดยบริเวณต้นคอมีมัดกล้ามเนื้อมากและด้านข้างมีความกลม ซึ่งทำให้มองเห็นว่าลำคอสั้น จะมีส่วนหนังที่ยื่นลงมาบริเวณใต้คอจนเห็นได้ชัด แต่ถ้าชัดมากเกินไปจะไม่เป็นที่นิยม
หัวไหล่ : กว้างและมีความลาดเอียง มีมัดกล้ามเนื้อมากและมีพละกำลัง ส่วนสูงสุดของไหล่จะมองเห็นได้ชัดเจน

หน้าอก : มีความโค้งมาก ลึกพอประมาณ ไม่ยื่นลงไปต่ำกว่าข้อศอก

หลัง : กว้างมากเป็นแนวเส้นตรงจนถึงสะโพก จากตรงนี้จะค่อยๆ ลาดลงไปจนถึงส่วนท้าย และประสานกลมกลืนกัน จนไม่เน้นร่องรอยเข้าไปยังส่วนโคนหาง ส่วนท้ายของตัวพัฒนาขึ้นมาอย่างดี ขามีมัดกล้ามเนื้อมาก

ท้อง : แยกออกจากส่วนเอวที่มีพละกำลังมากจนเห็นได้ชัด ลอยสูงขึ้นเล็กน้อย

หาง : ใหญ่และยาว มีน้ำหนัก ขณะพักจะห้อยลงม้วนงอเล็กน้อย ในช่วงหนึ่งในสามของหางส่วนปลาย ซึ่งไม่ถือว่าเป็นข้อบกพร่องในสุนัขที่มีลักษณะดีหลายตัว หางจะอยู่ในลักษณะปลายงอนเล็กน้อย เพราะฉะนั้นจึงอยู่ในรูปของอักษร " f " ในขณะเคลื่อนไหวหางจะชูขึ้น แต่ไม่ถึงขนาดชูตั้งตรงหรือม้วนหางอยู่เหนือหลัง การที่ปลายหางม้วนลงเล็กน้อยเป็นลักษณะที่ยอมรับได้

ขน : ดก หนาแน่นมาก โดยมีความยาวพอประมาณ ขนหยิกเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับม้วนงอและไม่ยุ่งเป็นกระเซิง ตามปกติที่หลังโดยเฉพาะจากบริเวณส่วนท้ายจนถึงก้นขนจะหยิกมากกว่า เป็นเงื่อนไขที่กำหนดในสุนัขขนสั้น หางจะมีขนเป็นพุ่ม โดยมีขนดกหนาแน่นยาวปานกลาง ขนหางที่หงิกงอไม่เป็นที่นิยม หางที่ขนด้านใดด้านหนึ่งที่เรียกว่า flag tail เป็นข้อบกพร่อง ที่ใบหน้าและหูจะปกคลุมด้วยขนที่สั้นและอ่อนนุ่ม ขนที่ยาวกว่าที่ฐานของหูเป็นที่ยอมรับได้ ขาหน้ามีขนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต้นขาจะมีขนค่อนข้างมาก

สี : ขาวกับแดงหรือแดงกับขาว สีแดงจะมีหลายเฉดสี แถบสีเทากับมีจุดสีขาว สีแดงและสีเหลืองออกน้ำตาลจะมีคุณค่าเท่ากัน รอยแต้ม ( marking ) ที่จำเป็นคือ หน้าอก เท้าและปลายหาง สีแดงขาวและแต้มสีขาว จะเป็นที่นิยมมากถ้ามีสีเดียวหรือไม่มีสีขาวจะไม่นิยม สีอื่นๆ ทั้งหมดถือว่าเป็นข้อบกพร่อง เว้นแต่เฉดสีที่นิยมกันที่มีอยู่ที่ศีรษะและหู ( หน้ากาก )

ขนาด : ตัวผู้สูงอย่างน้อย 27.5 นิ้ว ตัวเมียสูงอย่างน้อย 25.5 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : สิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผิดไปจากมาตรฐาน เช่นหลังคดและหลังยาวไม่ได้สัดส่วน ข้อเท้าขาหลังโค้งงอมากไป ส่วนท้ายของลำตัวเป็นเส้นตรง มีขนขึ้นบริเวณนิ้วเท้า ข้อเท้าแบบวัว และข้อเท้าขาหน้าอ่อนแอ 

ซิลกี้ เทอร์เรีย

ซิลกี้ เทอร์เรีย มีถิ่นกำเนิดที่เมืองซิดนี่ ประเทศออสเตรเลีย แต่ยอร์คเชีย เทอเรีย จะมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงต้นๆ "ซิลกี้ เทอเรีย" จะมีชื่อเรียกว่าซิดนี่ ซิลกี้ เทอร์เรีย เป็นการเรียกตามแหล่งกำเนิดคือเมืองซิดนี่ต่อมาเรียกชื่อย่อเป็นพันธุ์ "ซิลกี้ เทอร์เรีย" สุนัขพันธุ์นี้ลงประกวดครั้งแรกในประเทศออสเตรเลีย


ในราวปี 1907 และมีมาตรฐานพันธุ์ขึ้นในปี 1909 และต่อมาได้มมีการนำสุนัขซิลกี้ เทอร์เรีย เข้าไปพัฒนาสายพันธุ์ในอเมริกา ราวปี 1950 และได้ขึ้นทะเบียนต่อ A.K.C. ในปี ค.ศ.19595

ซิลกี้ เทอเรีย เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่จัดรวมอยู่ในกลุ่ม "ทอย" เช่นเดียวกับ "ยอร์คเชีย เทอ เรีย"เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของสุนัขพันธุ์ออสเตเรียน เทอร์เรียและยอร์คเชีย

มาตราฐานสายพันธุ์ 
โครงสร้าง : เป็นสุนัขที่มีรูปร่างขนาดเล็ก ลำตัวสั้นแต่ยาวกว่าส่วนสูง ขนยาว ว่องไว สามารถวิ่งไล่จับหนูได้อย่างคล่องแคล่ว
ศีรษะ : มีขนาดเล็กลักษณะแข็งแรง หัวเป็นรูปลิ่ม ส่วนหูค่อนข้างยาว หัวกะโหลกแบน
หู : มีขนาดเล็ก (แต่ใหญ่กว่ายอร์คเชีย เทอร์เรียอย่างเห็นได้ชัด) มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนตั้ง ขนที่ใบหูสั้น (ขนที่หูของยอร์คจะยาวกว่ามาก)
ตา : ค่อนข้างเล็กสีเข้ม แววตาเป็นประกาย ส่อแววฉลาดและร่าเริง
จมูก : มีสีดำ ดั้งจมูกมีมุมหักเล็กน้อย
ปาก : สัดส่วนความยาวของปากต่อกะโหลก ประมาณ 2.5 ต่อ 3.5
ฟัน : แข็งแรงขบแบบกรรไกร
ลำตัว : มีความยาวปานกลาง สมส่วน (ลำตัวจะยาวและใหญ่กว่ายอร์คเชีย เทอร์เรีย)
ส่วนอก : กว้างลึก จรดข้อศอก
ขาหน้า : แข็งแรงตั้งตรง เท้าเล็กคล้ายเท้าแมว นิ้วเท้าหนา เล็บสีเข้ม นิ้วติ่งตัดออก เท้าชี้ตรงไปด้านหน้าไม่บิดซ้ายหรือขวา
ขาหลัง : ข้อเท้าหลัง ท่อนบนแข็งแรงซึ่งจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อข้อเท้าหลังทำมุมพอประมาณข้อเท้าหลังสั้น เท้าหลังคล้ายเท้าแมว เล็บสีดำ เท้าชี้ตรงไปด้านหน้า นิ้วติ่งหลังตัดออก
หาง : โคนหางอยู่ในตำแหน่งสูง หางตั้งตรง นิยมตัดหางสั้น บริเวณหางมีขนเล็กน้อย
ขน : ขนมีลักษณะเหยียดตรงเงางามคล้ายแพรวไหม บริเวณหลังขนหูยาวประมาณ 5-6 นิ้ว บริเวณท้องมีขนยาว (ซิลกี้ เทอร์เรีย จะมีขนที่สั้นและบางกว่า ยอร์คเชีย เทอร์เรีย อย่างเห็นได้ชัด)
สี : สีขนสีเทาเงิน-น้ำตาล ขนบริเวณใบหน้าและหูจะสั้น ส่วนท้ายของหัวจรดปลายหางมักจะเป็นสีเทาเงิน บริเวณปากแก้ม หู ข้อเท้าเป็นสีน้ำตาล
ขนาด : เป็นสุนัขขนาดเล็ก (เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะตัวใหญ่กว่า ยอร์คเชียร์
น้ำหนัก : ประมาณ 8-9 ปอนด์
ส่วนสูง : ประมาณ 9-10 นิ้ว
อุปนิสัย : สุภาพ เป็นมิตร ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ รักเด็กไม่ ขลาดกลัว 

เชา เชา

เชา เชาเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น มีประวัติศาสตร์สายพันธุ์มายาวนาน กว่า 2000 ปี สุนัขเชา เชา เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์มาสตีฟแห่งธิเบตและพันธุ์ชามอยจากตอนเหนือของไซบีเรีย แต่มีข้อโต้แย้งว่าเชา เชาอาจเป็นสุนัขพันธุ์แท้ดั้งเดิม เพราะเป็นเพียงสุนัขพันธุ์เดียวในโลกที่มีลิ้นสีดำปนน้ำเงิน

เชา เชาเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษในปี 1880 โดยพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงให้ความสนพระทัย สมาคมสุนัขพันธุ์เชา เชาได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษในปี 1895 สุนัขพันธุ์เชา เชามีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ มีความเฉลียวฉลาดในกลวิธีการล่าสัตว์

ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เชา เชาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในบ้านเราจัดได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ในเกณฑ์สูงและจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ค่อนข้างมีระดับ เหตุเพราะว่าเป็นสุนัขที่มีราคาค่อนข้างสูง จากการที่เชา เชามีขนหนาแน่นปกคลุมอยู่ทั่วตัว ทำให้ร่างกายอุ้มความร้อน ดั้งนั้นเชา เชาจึงชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ในสภาพอากาศที่ร้อนอย่างบ้านเรา มักจะทำให้เหนื่อยง่ายและเฉื่อยชา แต่อย่างไรก็ตามการที่เชา เชามีการขยายพันธุ์ในหลายๆ รุ่น ทำให้สามารถปรับสภาพกับอากาศในเมืองไทยได้พอสมควร

มาตราฐานสายพันธุ์ 

ลักษณะทั่วไป : เชา เชาเป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพละกำลัง ลำตัวสั้นกระทัดรัด มีความแคล่วคล่องว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีโครงสร้างที่สมดุลมาก ลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม ศีรษะกว้างและแบน สันจมูกกว้างและสั้น มีขนขึ้นหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขาใหญ่ตั้งตรงและแข็งแรง ขนมีความมันเป็นประกาย ลักษณะเด่นของเชา เชาคือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับเป็นราชสีห์ หน้าตาดุดันแข็งขัน สงบและว่างท่าอย่างสุขุมเป็นผู้ดี มีความเป็นอิสระและมีการตัดสินใจที่ดี
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดรูปร่าง มีกะโหลกศีรษะแบนกว้าง มีสต๊อปชัดเจน ลักษณะหน้าตาฉายแววของความทรนงองอาจ สันจมูกสั้นและกว้างเมื่อเทียบกับความยาวของกะโหลกจากตาจนถึงปลายจมูก ริมฝีปากเต็มและยื่น
ฟัน : ฟันขาว แข็งแรง สบกันพอดี
จมูก : จมูกใหญ่ กว้างและมีสีดำ ถ้าจมูกมีลายจุดหรือมีสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนนอกจากสีดำถือว่าขาดคุณสมบัติ ยกเว้นเชา เชาที่มีดำ, น้ำเงิน จมูกอาจมีสีน้ำเงินได้ ลิ้นมีสีดำออกน้ำเงิน เนื้อเยื่อในปากออกสีดำ ถ้าลิ้นมีสีชมพูแดงหรือมีจุดสีแดงจนเห็นได้ชัดเจนถือว่าขาดคุณสมบัติ
ตา : มีสีดำขนาดปานกลาง รูปร่างเรียวคล้ายผลอัลมอนด์ ขอบตาสีดำ
หู : ใบหูเล็ก ตรงปลายหูมีความโค้งมนเล็กน้อย หูแข็งตั้งขึ้น เอียงออกด้านข้างและด้านหน้าเล็กน้อย ถ้าหูตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือว่าขาดคุณสมบัติ
ลำตัว : สั้นกระทัดรัด มีซี่โครงผายออก ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น
คอ : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ คอกลม มีความยาวพอเหมาะ แข็งแรง ทำให้ดูสง่างาม
อก : กว้างและลึกเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ลึกจรดข้อศอก ถ้าอกแฟบถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
ขาหน้า : ขาหน้าตั้งตรง กระดูกมีขนาดใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ข้อเท้าขาหน้าตั้งตรงตั้งฉากกับพื้น เท้าชี้ตรงไปข้างหน้าไม่บิดซ้าย - ขวา เท้ามีลักษณะหนากลม เท้าชิด เล็บตัดสั้น
ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่ ขาหลังท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มองจากด้านหลังขาหลังตรง และขนานห่างกันพอเหมาะ ข้อเท้าหลังตรงตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านข้าง สะโพก หัวเข่าและข้อเท้าจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน เท้าหลังมีลักษณะคล้ายเท้าหน้า
เอว : มีขนาดสั้นและลึก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
ขน-สี : มี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว มีขนที่ดกหนา เส้นขนเหยียดตรง ขนชั้นนอกค่อนข้างหยาบ ขนชั้นในนุ่ม มีสีสดใสและเป็นสีเดียวกันตลอด อาจมีเฉดสีแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงแผงคอ ที่หางและที่ก้น เชา เชามีสีดำ, สีเทา, สีแดง, สีครีม ที่สำคัญคือ เชา เชาต้องมีสีเดียวตลอดทั้งตัว
หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางพาดแนบหลัง
ส่วนสูงและน้ำหนัก : สูงประมาณ 17 - 20 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 24 - 27 กิโลกรัม
การเคลื่อนไหว : มีความมั่นคง สง่างาม ขณะวิ่งขาตึง ยกเท้าไม่สูง คอเชิด